กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเด็กพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู
รหัสโครงการ 66-L5313-03-001
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู
วันที่อนุมัติ 6 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 106,360.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัจนันท์ ทิ้งน้ำรอบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.842,99.826place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานคนพิการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 ม.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 106,360.00
รวมงบประมาณ 106,360.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 106 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มแก่เด็กพิการตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการ ให้บริการครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดสตูล ได้แก่ หน่วยบริการบริการท่าแพ
หน่วยบริการละงู หน่วยบริการทุ่งหว้า หน่วยบริการมะนัง หน่วยบริการควนกาหลง หน่วยบริการควนโดน และหน่วยบริการเมืองฉลุง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเด็กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐานชีวิตให้พัฒนาเด็กไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย และในปัจจุบัน สังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ ประชาชน ทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง มีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงานต่าง ๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิเศษมากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงเราคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ยังมีจำนวนเด็กพิเศษอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้ เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้ สู่สังคมภายนอก อันเนื่องจากครอบครัวเด็กพิเศษขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิเศษเหล่านั้นออกสู่สังคมภายนอก ที่นอกเหนือจากบ้านพักและชุมชนในครอบครัวตัวเอง อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่  ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับเด็กพิเศษเท่าที่ควร  ซึ่งส่งผลให้เด็กพิเศษเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูในด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสมกับช่วงวัยของแต่ละบุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิต จากประสบการณ์จริงในการเสริมสร้างประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ
เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคม “ครอบครัวเด็กพิเศษ” เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการของเด็กพิเศษ หากครอบครัวเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้กระบวนการพัฒนาเด็กพิเศษจากโลกภายนอก และจากประสบการณ์เรียนรู้ จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีความรู้ความเข้าใจ และมีทัศนคติที่ดี ต่อเด็กพิเศษมากขึ้น และหากเด็กพิเศษเองได้มีกระบวนการเรียนรู้ทักษะต่างๆ อย่างถูกต้องและเหมาะสมย่อมส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนาและเรียนรู้อย่างรอบด้านเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า มีกลุ่มครอบครัวเด็กพิเศษที่ยังขาดโอกาสในการมีส่วนเข้าร่วมกิจกรรมและขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งความรู้และการเรียนรู้ประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ ตลอดจนได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริม  การเรียนรู้ของเด็กพิการและครอบครัวได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู จึงเล็งเห็นความสำคัญของเด็กพิเศษทั้ง 9 ประเภทความพิการ ซึ่งเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าทุกด้านและมีปัญหาทางด้านสุขภาพ ดังนั้นจึงควรเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของครอบครัวเด็กพิเศษอย่างถูกต้องและเหมาะสม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล
หน่วยบริการละงู จึงขอเสนอ“โครงการส่งเสริมสุขภาพในเด็กศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการละงู” เพื่อให้เด็กพิเศษและครอบครัวเด็กพิเศษได้เกิดกระบวนการเรียนรู้อย่างรอบด้านและเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิเศษต่อไป โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสังคม ร่วมกันพัฒนาเด็กพิการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม

ร้อยละ 100 ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ  สามารถนำไปฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพเด็กพิการได้อย่างเหมาะสม

100.00
2 เด็กพิการ ได้รับสื่อ/นวัตกรรม ที่สอดคล้องตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล

ร้อยละ 100 เด็กพิการ ได้รับสื่อ/นวัตกรรม ที่สอดคล้องตามความต้องการจำเป็นพิเศษของแต่ละบุคคล มีพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจที่สมวัย

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 129 106,360.00 2 106,360.00
9 - 10 มี.ค. 66 กิจกรรมจัดอบรมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ 66 52,010.00 52,010.00
27 พ.ค. 66 กิจกรรมอบรมผลิตสื่อ นวัตกรรม ส่งเสริมพัฒนาการ ตามความต้องการจำเป็นพิเศษที่สมวัย 63 54,350.00 54,350.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเป้าหมาย คนพิการ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กพิการ ได้รับการดูแลส่งเสริมเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ ทำให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจอย่างรอบด้าน
  2. เด็กพิการ ได้รับการตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี
  3. เด็กพิการ ได้รับสื่อ นวัตกรรม ที่เหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษอย่างสมวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2566 09:26 น.