กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2566
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลตรัง
วันที่อนุมัติ 19 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 50,112.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกรองแก้ว ทองเรืองสุกใส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการวิเคราะห์สถานะสุขภาพและปัญหาสาธารณสุข จังหวัดตรัง พบว่า โรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ เป็นปัญหาสุขภาพ 10 อันดับแรกของประชาชน ในเขตเทศบาลนครตรัง จากสถิติ การเจ็บป่วยของผู้รับบริการในเขตเทศบาลนครตรัง 5 อันดับโรค ณ ปี 2565 มีดังต่อไปนี้ 1. โรคความดันโลหิตสูง 5,655 คน 2. โรคเบาหวาน 2,811 คน 3. โรคหัวใจ 1,021 คน 4. โรคหลอดเลือดสมอง 542 คน และ 5. โรคมะเร็ง 507 คน ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ สามารถแยกเป็นกลุ่มประเภทที่สามารถควบคุมโรคได้ดี ยังไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นโรค มีความเข้าใจและปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพ และ ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมโรคเรื้อรังได้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ทั้งนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เช่น พฤติกรรมการดูแลตัวเอง การควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การรับรู้อุปสรรคและผลประโยชน์ในการดูแลตัวเอง เป็นต้น และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ติดบ้าน ติดเตียงไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ขาดยา รักษาไม่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ก่อให้เกิดทุพพลภาพ และนับเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ก่อให้เกิดภาระทางสังคมอย่างแท้จริง กลุ่มงานเวชกรรมสังคม กลุ่มภารกิจด้านบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลตรัง จึงเห็นความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขตเทศบาลนครตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง ปี 2566” ขึ้น โดยบริการคลินิกเติมยาในชุมชน เพื่อลดการแออัดในการเข้ารับบริการที่สถานพยาบาล และกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ เช่น กลุ่มติดบ้าน ติดเตียง เป็นต้น เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้รับการวิเคราะห์ปัญหาทางสุขภาพอย่างละเอียดและเปลี่ยนสถานะทางสุขภาพเป็นผู้ป่วยที่สามารถควบคุมโรคได้ โดยทีมสหวิชาชีพ ได้แก่แพทย์ พยาบาลได้ทำงานร่วมกับชุมชน เครือข่าย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เป็นต้น สอดคล้องกับนโยบาย สามหมอ สามมอบ ได้รับยาอย่างต่อเนื่องใกล้บ้าน ใกล้ชุมชน สามารถดูแลตนเองได้ มีความเข้าใจในโรคและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีและไม่ขาดยา กินยาต่อเนื่อง โดยจัดให้มีทีมสหวิชาชีพให้บริการในคลินิกชุมชนแบบ One stop service ให้การดูแลต่อเนื่องที่บ้านเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอันพึงประสงค์แก่ผู้ป่วยและครอบครัว และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการทำกิจกรรมด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง (ความดัน / เบาหวาน) ตามเกณฑ์มาตรฐานต่อเนื่องและเป็นองค์รวม

ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในเขตเทศบาลนครตรัง  เข้าร่วมโครงการและได้รับ การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 70

2 เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนอันเกิดจากโรคเรื้อรัง
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อน
    ร้อยละ 95
    • ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 10
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแบบองค์รวม(25 ม.ค. 2566-25 ม.ค. 2566) 5,472.00                  
2 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวม และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและแจ้งผลการรักษาโดยแพทย์ ใน 27 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 2 ครั้ง/ปี(25 ม.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 44,640.00                  
รวม 50,112.00
1 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนแบบองค์รวม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,472.00 2 4,582.00
25 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดทำเอกสารแฟ้มผู้ป่วย โรคเรื้อรัง ในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 300 คน แทนแฟ้มเดิมที่ชำรุดและในรายใหม่ 0 3,660.00 2,820.00
25 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 จัดทำแบบฟอร์มเอกสารข้อมูลผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพื่อใช้สำหรับการบันทึกประวัติ และผลการตรวจรักษาที่คลินิกในชุมชน ในเขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 561 คน 0 1,812.00 1,762.00
2 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวม และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและแจ้งผลการรักษาโดยแพทย์ ใน 27 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 2 ครั้ง/ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 44,640.00 1 2,070.00
25 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมการดูแลส่งเสริมสุขภาพและให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเรื้อรังแบบองค์รวม และการเจาะเลือดตรวจคัดกรองภาวะแทรกซ้อนและแจ้งผลการรักษาโดยแพทย์ ใน 27 ชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง จำนวน 2 ครั้ง/ปี 0 44,640.00 2,070.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชน เขตเทศบาลนครตรัง เข้าร่วมโครงการและได้รับ การดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นองค์รวมและได้มาตรฐาน
  2. ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2566 14:09 น.