กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เยาวชนจิตอาสารักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม บางปลาหมอ ปี 66
รหัสโครงการ 66-L3065-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักกีฬา ม.8 บ้านบางปลาหมอ
วันที่อนุมัติ 29 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ฮิลมี สะแม
พี่เลี้ยงโครงการ แวอูเซ็ง แวสาและ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 8 บ้านบางปลาหมอ
ละติจูด-ลองจิจูด 6.860583,101.196108place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การปลูกจิตสำนึกด้านจิตสาธารณะ คือการปลูกฝังจิตใจให้แก่บุคคลมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เป็นการสร้างคุณธรรม จริยธรรมภายในให้บุคคลรู้จักการเสียสละ ร่วมแรงร่วมใจ ร่วมมือในการจัดกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์เพื่อส่วนรวม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างประโยชน์สุขของคนในสังคม ในสิทธิหน้าที่และการบำรุงรักษาร่วมกัน เกื้อกูลช่วยเหลือทุกข์ยากหรือผู้ที่ร้องขอความช่วยเหลือโดยไม่ขัดต่อกฎหมายหรือกฎระเบียบสังคม ลักษณะประการหนึ่งของกิจกรรมสาธารณะก็คือเป็นกิจกรรรมตามความสมัครใจ เยาวชนต้องลงมือทำด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ โดยคำนึงถึงผู้ที่จะได้รับจากการกระทำนั้นจึงทำให้เยาวชนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมสามารถที่จะพัฒนาคุณลักษณะพึงประสงค์โดยมุ่งเน้นปลูกฝังให้เยาวชนมีจิตสาธารณะที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคม จะต้องเริ่มให้เยาวชนเริ่มมีจิตสำนึกอาสาเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นผู้นำสังคมอย่างมีจิตสำนึกต่อไป ชมรมคนรักกีฬา ม.8 บ้านบางปลาหมอ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชน ที่มีความใกล้ชิดกับวัยรุ่นในพื้นที่ ได้มีกิจกรรมหลายๆกิจกรรมปฏิสัมพันธ์กับวัยรุ่น มาตลอดหลายปีที่ผ่านมา กิจกรรมที่ผ่านมาประกอบด้วยการจัดกิจกรรมเพื่อให้เยาวชนได้มีกิจกรรมจิตอาสา กิจกรรมการเคลื่อนไหวขยับกายหรือการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ การจัดกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือชุมชนในด้านต่างๆ เป็นต้น จากการสังเกตและรวบรวมข้อมูลของชมรมพบว่าเยาวชนในพื้นที่เกาะเป็นกลุ่มกัน ไม่มั่วสุมกับยาเสพติด มีกิจกรรมการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเยาวชนได้มีการรวมตัวกัน มีความเข้าใจในรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เหมือนกันก่อให้เกิดความสามัคคีกัน ภัยคุกคามต่างๆจากภายนอก ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเยาวชนและประชาชนในพื้นที่ จากการประเมินพบว่าการจัดกิจกรรมที่หลากหลายในกลุ่มวัยรุ่นจะทำให้วัยรุ่นมีความสนใจ และไม่ก่อให้เกิดกาเบื่อหน่าย ทางชมรมมองเห็นว่าการส่งเสริมในเรื่องของการปลูกผักปลอดสารพิษ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพในด้านการโภชนาการและเป็นกิจกรรมที่สมาชิกในชมรมมีความต้องการร่วมกัน โดยการทำโครงการที่บูรณาการร่วมกับกิจกรรมอื่นๆ จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนจิตอาสารักสุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม บางปลาหมอ ปี 66 เพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตุยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่จะร่วมแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของสมาชิกชมรมต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพ

120.00 96.00
2 เพื่อให้เยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้าง

ร้อยละ 90 ของเยาวชนในพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่เป็น ประโยชน์ต่อหมู่บ้าน

120.00 108.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 3 15,000.00
1 ก.พ. 66 - 31 ส.ค. 66 พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย 0 5,000.00 5,000.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย 0 5,000.00 5,000.00
1 เม.ย. 66 - 31 ส.ค. 66 ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ 0 5,000.00 5,000.00

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) 1. จัดทำโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ 2. พัฒนาศักยภาพองค์ความรู้ของกลุ่มเป้าหมาย         - ประชุมเครือข่ายสร้างสุขภาพ กลุ่มวัยรุ่นในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ การดำเนินงาน ในกิจกรรมต่างๆ     3. ส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกาย การขยับกาย อย่างต่อเนื่อง เช่น         - กิจกรรมเคลื่อนขยับยามเย็น การเล่นกีฬาวอลเลย์บอล การเล่นกีฬาฟุตบอล การเล่นกีฬาพื้นบ้าน
    4. ส่งเสริมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่         - จิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม เช่น การรณรงค์คัดแยกขยะ จิตอาสาทำถังขยะเปียก เก็บขยะ 2 ข้างทาง การปลูกต้นไม้ในบริเวณต่างๆในหมู่บ้าน กิจกรรมพัฒนาพื้นที่สถานที่สาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นต้น   - กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อสุขภาพคนปลาหมอ   5. สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนได้ตระหนักให้ความสำคัญต่อสุขภาพของตนเอง และคนรอบข้าง
  2. เยาวชนมีพฤติกรรมไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด สามารถปฏิบัติตนในแนวทางที่ถูกต้อง เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่น ในสถานศึกษา และชุมชุน
  3. เยาวชนตระหนักในกิจกรรมจิตอาสา
  4. เยาวชนเป็นกำลังหลักของหมู่บ้านในทุกเรื่อง
  5. เยาวชนมีความรู้สึกสำคัญมีคุณค่าในตนเอง และชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2566 16:50 น.