กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนบ้านสวนร่วมใจขจัดภัยโรคไข้เลือดออก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
รหัสโครงการ 66-L5281-2-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เครือข่ายชุมชนส่งเสริมป้องกันโรคบ้านสวน
วันที่อนุมัติ 27 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 22,650.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1. นางเกศินี ผลโสดา 2. นางหวันเย๊าะ ผลโสดา 3. นางสาวจิตต์ สมทอง 4. นางสุจินต์ นวลพรม 5. นางสาวธมลวรรณ หนูอักษร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.871,100.144place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาของคนในชุมชนมาโดยตลอดเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมไม่ถูกต้องของคน ในชุมชนทำให้เอื้ออำนวยต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกระบาด กลุ่มเครือข่ายชุมชนป้องกันโรคบ้านสวนมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยการให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาร่วมกันรับผิดชอบปัญหา ที่เกิดขึ้นในชุมชนเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นกิจกรรมที่ต้องช่วยกันกระตุ้นและชักนำประชาชนตลอดจนเครือค่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เจตคติ ทักษะและความสามารถในการปฏิบัติตนเองด้านสุขภาพอนามัยที่ถูกต้อง

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

2 . เพื่อพัฒนาทักษะในการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออก

ผู้เข้าร่วมโครงการมีทักษะในการดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณภายในและรอบบ้านของตนเอง

3 เพื่อให้มีความสามารถในการดูแลสุขภาพขณะป่วย

ผู้ป่วยได้รับการดูแลจากบุคคลในครอบครัวอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 22,650.00 0 0.00
27 ธ.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การควบคุมป้องกันโรคประชาชนหรือ กสค.บ้านสวน หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งนุ้ย 120 22,650.00 -
  1. ขั้นตอนการวางแผน     - ประชุมคณะทำงานกลุ่มร่วมกันกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
        - วางแผนกำหนดวันดำเนินการ
      2. ขั้นตอนการดำเนินงาน
        - คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายติดต่อประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าอบรม จำนวน 120 คน แบ่งเป็น 2 รุ่นๆละ 60 คน     - รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้มีการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุง เช่น เก็บคัดแยกขยะ ทุบทำลาย     กะลา เป็นต้น
        - สนับสนุนให้ชุมชนปลูกพืชไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ     - ใช้สารเคมีใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน
      3. ขั้นตอนการประเมินผล     - ประเมินผลการดำเนินโครงการเปรียบเทียบกับผลที่คาดว่าจะได้รับ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคและเกิดพฤติกรรม ในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและลดอัตราความชุกชุมของลูกน้ำยุงลาย
  3. ประชาชนในหมู่บ้านไม่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกหรือลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 10:31 น.