กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ลดเค็ม ลดความดัน 7 วัน ความดันลด ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L2537-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ
วันที่อนุมัติ 18 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 22,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิฟัยรุส สมานกุลวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2566 31 ก.ค. 2566 22,700.00
รวมงบประมาณ 22,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไตวายเรื้อรัง หัวใจล้มเหลว และสมองเสื่อม นอกจากนี้ ระดับความดันโลหิตที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดสมองแตก เลือดออกในสมอง (Hemorrhagic stroke) หลอดเลือด หัวใจตีบตันเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหรือหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเสียชีวิตด้วย จากข้อมูลการสำรวจพบว่าความชุกของโรคความดันโลหิตสูงในประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 21.4 ในปี 2552 เป็นร้อยละ 24.7 ในปี 2557 พฤติกรรมเสี่ยงสำคัญที่สนับสนุนให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น คือ การกินเค็ม (เกลือ/โซเดียม) ซึ่งพบว่า คนไทยบริโภคเกลือเฉลี่ย 10.8 กรัมต่อวัน (โซเดียม 5,000 มิลลิกรัม) ซึ่งสูงกว่าความต้องการที่ร่างกายควรได้รับถึง 1 เท่า คือ ควรบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน (โซเดียม 2,400 มิลลิกรัม) การศึกษาในพื้นที่อำเภอบางพลี สมุทรปราการ โดยภาควิชาอายุรศาสตร์ร่วมกับภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่าการให้ความรู้อย่างเข้มข้นโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ร่วมกับการซักถามการบริโภคอาหารย้อนหลังและแนะนำการลดบริโภคอาหารเค็ม (โซเดียม) อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงนั้น ส่งผลให้ความดันโลหิตตัวบนลดลงได้ 10 มิลลิเมตรปรอท และตัวล่างลดลงถึง 5 มิลลิเมตรปรอท
อีกทั้งการศึกษาในผู้สูงอายุไทยที่เป็นความดันฯสูงควบคุมไม่ได้ พบว่า การวัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้านช่วยให้อัตราการควบคุมความดันฯได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50 และผู้ป่วยความดันฯสูงที่วัดความดันฯด้วยตนเองที่บ้าน ช่วยลดระดับความดันฯได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4 – 8 มม.ปรอทในเวลา 1 ปี เมื่อเทียบกับการวัดความดันฯที่โรงพยาบาล ดังนั้นการวัดความดันโลหิตที่บ้าน (Home Blood Pressure Monitoring: HBPM) หรือ การวัดความดันโลหิตด้วยตนเอง (Self Monitoring Blood Pressure: SMBP) จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ควบคุมความดันฯไม่ได้ตามเกณฑ์ ในพื้นที่ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ ปัจจุบันปี 2565 มีผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง ทั้งที่รับบริการจากโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก และที่รพ.สต. ทั้งสิ้น จำนวน 726 คน แต่ควบคุมความดันโลหิตได้เพียง 325 คน คิดเป็นร้อยละ 44.77 เท่านั้นดังนั้น รพ.สต มูโนะจึงจัดทำโครงการลดเค็ม ลดความดัน 7 วัน ความดันลด 2566 เพื่อสนับสนุนการปรับพฤติกรรมการกินโดยคาดหวังว่าจะช่วยลดความดันโลหิตในผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง จนควบคุมความดันโลหิตได้หรือเป็นปกติได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มป่วยความดันโลหิตสูงอย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

0.00 50.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 ก.พ. 66 - 31 ก.ค. 66 จัดอบรมให้ความรู้ 0 22,700.00 -
รวม 0 22,700.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความดันโลหิตและควบคุมความดันโลหิตได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2566 00:00 น.