กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
จัดอบรมให้ความรู้ 1 ก.พ. 2566 18 ก.ค. 2566

 

  1. ประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเข้าร่วมโครงการลดเค็ม ลดความดัน 7 วัน ความดันลด ก่อนเริ่มโครงการต้องดำเนินการวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอวและซักประวัติ ตามขั้นตอน
  2. จัดอบรมให้ความรู้ผู้ป่วย เพื่อให้ความรู้แบบเข้มข้นเพื่อลดการบริโภคโซเดียม มีเนื้อหาดังนี้ • โซเดียมและความเค็มคืออะไร • โซเดียมส่งผลต่อร่างกายอย่างไร • คนไทยได้รับโซเดียมจากทางใดได้บ้างและมากน้อยเพียงใด • อาหารประเภทใดที่ควรและไม่ควรบริโภค • วิธีสังเกตปริมาณโซเดียมในอาหาร • การปฏิบัติตัวเพื่อลดการบริโภคโซเดียม หลังเสร็จสิ้นการอบรม จะเปิดโอกาสให้ซักถาม และประเมินความรู้ที่ได้รับ โดยการพูดคุยถึงอาหารที่กลุ่มเป้าหมายรับประทานจริงในชีวิตประจำวัน ว่ามีปริมาณโซเดียมมากน้อยเพียงใด จากนั้นจึงให้คำแนะนำในการลดบริโภคโซเดียม เป็นข้อ ๆ ดังนี้ • ควรสังเกตฉลากโภชนาการอาหารก่อนบริโภค • ลดการใช้เครื่องปรุงรส ให้ชิมก่อนปรุง • ใช้เครื่องปรุงรสอื่นๆ ได้แก่ พืชสมุนไพร (ขิง ข่า ตะไคร้) แทน • ลดการบริโภคอาหารแปรรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปและขนมขบเคี้ยว • อาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบ เช่น น้ำแกง ควรบริโภคส่วนที่เป็นน้ำแต่น้อย • การชั่งน้ำหนัก และวัดความดันฯ รายวัน เพื่อประเมินผลการลดโซเดียมในอาหารและ เครื่องดื่มอย่างน้อย 7 วันติดต่อกัน • ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการวัดความดันโลหิต การอ่านค่า การบันทึกด้วยตนเอง
  3. ติดตามผลความดันโลหิต โดยให้กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน ยืมเครื่องวัดความดันคนละ 1 เครื่อง และให้บันทึกค่าความดันโลหิตที่วัดในตอนเช้า เวลา 08.00 น. และก่อนนอนเวลา 20.00น. ทุกวันเพื่อทราบข้อมูลและดำเนินการแก้ไขต่อไป
  4. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการพร้อมแบบรายงานหรือบัญชีรายชื่อผู้ที่เข้าร่วมโครงการ และผลการลดเค็ม

 

ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดความดันโลหิตและควบคุมความดันโลหิตได้