กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยโละใสใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 66-L5312-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านตะโละใส
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 31 กรกฎาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2566
งบประมาณ 86,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายปรีชา หมีนคลาน
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอนันญา เเสะหลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรงเรียนบ้านตะโละใส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลชั้นปีที่ 2 ถึงระดับประถมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนรวมทั้งสิ้นจำนวน 568 คนแยกเป็นระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 114 คน และระดับชั้น ป.1-ป.6 จำนวน 454 คน มีผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งสิ้นจำนวน 32 คน โรงเรียนมีการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองและชุมชนในการจัดการศึกษา โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน และมีเครือข่ายผู้ปกครอง จำนวน 110 คน (ห้องเรียนละ 5 คน จำนวน 22 ห้องเรียน) เป็นตัวแทนหรือผู้นำในการขับเคลื่อนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคนเริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงตาย สุขภาพอนามัยเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิต เพราะการมีสุขภาพที่ดีย่อมก่อให้เกิดความพร้อมในการปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มความสามารถ มีประสิทธิภาพและเกิดคุณภาพ และการมีสุขภาพดีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย ดังนั้นในการพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพ สุขบัญญัติของเด็กจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญอย่างยิ่งของการพัฒนา โรงเรียนบ้านตะโละใสเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเป็นอย่างมาก เพราะเด็กที่มี สุขภาพดีจะส่งผลต่อการเรียนที่ดี มีความพร้อมทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา และบุคคลที่มีความสำคัญในการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมในการดูแลดูแลสุขภาพให้กับเด็กคือผู้ปกครองและครู เด็กควรได้รับการส่งเสริมการดูแลเรื่องสุขบัญญัติ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน การบริโภคอาหารที่ถูกโภชนาการ การออกกำลังกาย การเสริมสร้างสุขภาพ และสุขภาพองค์รวม (Holistic Health System) โดยมองว่าสุขภาพมิใช่เป็นเพียงการตั้งรับเพื่อซ่อมสุขภาพเท่านั้น แต่ควรส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการดูแลสุขภาพโดยให้สามารถสร้างเสริมสุขภาพที่ดีด้วยตนเอง
สุขภาพช่องปากเป็นสิ่งสำคัญและปัญหาสุขภาพช่องปากก็ยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่คุกคามสุขภาพ ก่อให้เกิดความเจ็บปวด ทรมาน แม้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม แม้ว่าการป้องกันควบคุมโรคในช่องปากยังคงดำเนินการต่อเนื่องตลอดมา แต่มีแนวโน้มการเกิดโรคในช่องปากยังลดลงไม่มากนัก โดยเฉพาะโรคฟันผุในเด็กเป็นปัญหาที่เด่นชัด ซึ่งเมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย การสบฟัน ตลอดการใช้ชีวิตประจำวัน พบว่าแม้ส่วนใหญ่จะมีการแปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป แต่การแปรงฟันส่วนใหญ่ไม่มีความละเอียดอ่อนและยังไม่สะอาด อาจจะส่งผลให้ปัญหาฟันผุได้ตามมาเช่นกัน
ภาวะโภชนาการที่ดี เป็นรากฐานสำคัญของการมีสุขภาพดีตลอดชีวิต เนื่องจากการเจริญเติบโตมีทั้งด้านสมองและร่างกาย หากขาดอาหารสิ่งที่พบคือเด็กตัวเล็ก ผอม เตี้ย ซึ่งเป็นการแสดงออกทางด้านร่างกาย แต่ผลที่เกิดขึ้นมิใช่แค่เพียงร่างกายเท่านั้น ยังมีผลต่อการพัฒนาสมองด้วย ทำให้สติปัญญาต่ำ เรียนรู้ช้า เมื่อเป็นผู้ใหญ่จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสติปัญญาและสุขภาพของเด็ก รวมทั้งพัฒนาการของเด็ก เด็กที่กินอาหารครบ 5 หมู่ และมีความหลากหลาย ในปริมาณที่พอเหมาะ จะมีการเจริญเติบโตดี การพัฒนาของสมองดี เด็กจะฉลาด เรียนรู้เร็ว ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการของเด็กเหมาะสมตามวัย และในทางตรงข้าม เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่พียงพอ ย่อมมีผลทำให้การพัฒนาของสมองไม่ดี เป็นผลให้มีพัฒนาการไม่เหมาะสมตามวัย และจากข้อมูลการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของเด็กระดับปฐมวัย (4-6 ขวบ) โรงเรียนบ้านตะโละใส ในปีการศึกษา 2563-2565 พบว่าเด็กมีภาวะทุพโภชนาการอยู่หลายประเด็น เช่น เด็กบางคนน้ำหนักเท่าเกณฑ์ แต่ส่วนสูงไม่ได้ตามเกณฑ์ เด็กบางคนน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์แต่ส่วนสูงตามเกณฑ์ เด็กบางคนน้ำหนักมากเกินเกณฑ์แต่ส่วนสูงเท่าเกณฑ์ เด็กบางคนทั้งน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือมากเกินเกณฑ์ ซึ่งเด็กเหล่านี้เป็นเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการที่ต้องให้การดูแลจากทั้งทางโรงเรียนและจากผู้ปกครองนักเรียน การประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก จะทำให้ทราบว่าเด็กได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ ทั้งนี้การเจริญเติบโตของเด็ก เปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการเจริญเติบโตทุก 3 เดือน เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ทำให้สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาโภชนาการด้านขาดและเกิน และหากมีปัญหาโภชนาการแล้ว จะได้จัดการแก้ไขได้ทันท่วงที สื่อและของเล่น จัดเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก สื่อและของเล่นแต่ละประเภทมีส่วนในการพัฒนาเด็กแตกต่างกันไป การเลือกใช้และผลิต จึงเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง รวมทั้งครู จะมีบทบาทในการพิจารณาให้เหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของเด็ก และตรงตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะการนำสื่อและของเล่นมาใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น การใช้สื่อ ผลิตสื่อและของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย จึงควรคำนึงถึงหลักการผลิต การเลือกใช้ที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้สามารถส่งเสริมพัฒนาการเด็กด้านต่างๆ ได้อย่างครบถ้วน โรงเรียนบ้านตะโละใส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสตูล และกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ ในฐานะสถาบันที่พัฒนาเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน ได้เล็งเห็นความสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน เนื่องจากเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ต้องส่งเสริมพัฒนาการ กระบวนการเรียนรู้และประสบการณ์ ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์ในกลุ่มเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียน เด็กวัยเรียนและเยาวชน สถานศึกษา ชุมชน และครู บุคลากร ผู้ปกครอง มีบทบาทสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคการปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งด้านการดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลความสะอาดของสิ่งแวดล้อม อันจะส่งผลให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ เพื่อให้สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น จึงได้ดำเนินการโครงการหนูน้อยโละใสใส่ใจสุขภาพ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำ เพื่อดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถพัฒนาและยกระดับคุณภาพของโรงเรียนด้านการจัดการสุขภาพนำมาซึ่งการผ่านการประเมินและรับรองการเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในโอกาสต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดี ฟันที่แข็งแรง มีภาวะโภชนาการดี มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลบุตรหลาน
  1. เด็กระดับปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีฟันที่แข็งแรง และมีภาวะโภชนาการดีขึ้น
  2. ผู้ปกครองเด็กระดับปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลบุตรหลานในเรื่องช่องปาก ฟัน และโภชนาการที่ดีได้
0.00
2 2. ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้
  1. ผู้ปกครองเด็กระดับปฐมวัยมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สื่อ ผลิตสื่อง่ายๆ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กและนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 86,400.00 0 0.00
1 มิ.ย. 65 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมน้องหนูโละใสฟันดียิ้มสวยและมีโภชนาการดี 0 44,480.00 -
1 มิ.ย. 66 - 31 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสื่อมหัศจรรย์พัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย 0 41,920.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กระดับปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง
  2. เด็กระดับปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียนมีการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนระดับปฐมวัยที่มีความเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการ มีสุขภาพแข็งแรง
  3. เด็กระดับปฐมวัยและเด็กก่อนวัยเรียนมีพัฒนาการที่เหมาะสมตามช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2566 00:00 น.