กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลสุไหงปาดี(กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม)
วันที่อนุมัติ 20 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 22,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุรียา สะมะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการปลูกยางพาราเป็นลำดับต้นๆ ของ โลก มีพื้นที่ในการกรีดยางพารา จำนวน 19.22 ล้านไร่ ภาคใต้มีพื้นที่ในการกรีดยางพารามากเป็นลำดับที่หนึ่ง ซึ่งอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ กรีดยางเป็นลำดับต้นๆ ของจังหวัดนราธิวาส จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในงาน วิจัยที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงสูงด้านการยศาสตร์ส่วนใหญ่จากท่าทางการกรีดยาง การทำยางแผ่น และการเก็บน้ำยาง (กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และคณะ, 2562) ซึ่งยังพบผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรที่เกิดจากลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม การทำงานที่มีการทำงานซ้ำๆ ภาระงานที่หนัก และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะความผิดปกติ ทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการรายงานพบว่า ตำแหน่งที่มีความถี่ของอาการปวดมากสุด 3 ลำดับต้น คือ มือและข้อมือ เข่า และหลังส่วนล่าง(กวิสทรารินทร์คะณะพันธ์ และคณะ, 2562) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยในผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพาราจังหวัดตรัง ที่พบอาการเหล่านี้ รุนแรงในช่วงงานหนัก (ณรงค์เบญสอาด และคณะ, 2547) จากการศึกษาการ เจ็บป่วยในแต่ละกลุ่มโรค ใน เกษตรกรปลูกพืชไร่ที่ขึ้นทะเบียนพบอุบัติการณ์ของการเจ็บ ป่วยสูงสุดในกลุ่มโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยส่วน ใหญ่แล้วเกษตรกรจะป่วยด้วยโรคปวดหลังส่วนล่าง ปวดคอ ปวดแขนปวดขา กล้ามเนื้ออักเสบ (สุนิสา ชายเกลี้ยง และ คณะ, 2562) เนื่องจากการป่วยที่เกิดขึ้นกับระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพียงเล็กน้อยที่ทำให้เกิดการ เจ็บป่วยในระยะยาวได้ ปัญหาสุขภาพที่พบส่วนใหญ่ของเกษตรกรมีปัญหาที่หลังส่วนล่าง รองลง มา คือมีอาการปวดเมื่อยบริเวณเข่า มีอาการปวดจนไม่สามารถทำงานได้(รัชนี จูมจี และคณะ,2560) ดังนั้น งานอาขีวอนามัย กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ปี2566 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคกระดูกและกล้ามเนื้อในเกษตรกรต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

ร้อยละ60ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

30.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้

ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้

30.00 20.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ 0 22,720.00 -
รวม 0 22,720.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2566 00:00 น.