กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ปี 2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปะลุรู

โรงพยาบาลสุไหงปาดี(กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม)

กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม

ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานแรงงานนอกระบบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ประเทศไทยมีการปลูกยางพาราเป็นลำดับต้นๆ ของ โลก มีพื้นที่ในการกรีดยางพารา จำนวน 19.22 ล้านไร่ ภาคใต้มีพื้นที่ในการกรีดยางพารามากเป็นลำดับที่หนึ่ง ซึ่งอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ กรีดยางเป็นลำดับต้นๆ ของจังหวัดนราธิวาส จากการประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในงาน วิจัยที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรมีความเสี่ยงสูงด้านการยศาสตร์ส่วนใหญ่จากท่าทางการกรีดยาง การทำยางแผ่น และการเก็บน้ำยาง (กวิสทรารินทร์ คะณะพันธ์ และคณะ, 2562) ซึ่งยังพบผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรที่เกิดจากลักษณะท่าทางที่ไม่เหมาะสม การทำงานที่มีการทำงานซ้ำๆ ภาระงานที่หนัก และสภาพแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อภาวะความผิดปกติ ทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ จากการรายงานพบว่า ตำแหน่งที่มีความถี่ของอาการปวดมากสุด 3 ลำดับต้น คือ มือและข้อมือ เข่า และหลังส่วนล่าง(กวิสทรารินทร์คะณะพันธ์ และคณะ, 2562) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาวิจัยในผู้ประกอบอาชีพกรีดยางพาราจังหวัดตรัง ที่พบอาการเหล่านี้ รุนแรงในช่วงงานหนัก (ณรงค์เบญสอาด และคณะ, 2547) จากการศึกษาการ เจ็บป่วยในแต่ละกลุ่มโรค ใน เกษตรกรปลูกพืชไร่ที่ขึ้นทะเบียนพบอุบัติการณ์ของการเจ็บ ป่วยสูงสุดในกลุ่มโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ โดยส่วน ใหญ่แล้วเกษตรกรจะป่วยด้วยโรคปวดหลังส่วนล่าง ปวดคอ ปวดแขนปวดขา กล้ามเนื้ออักเสบ (สุนิสา ชายเกลี้ยง และ คณะ, 2562) เนื่องจากการป่วยที่เกิดขึ้นกับระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ นั้นส่งผลกระทบต่อสุขภาพเพียงเล็กน้อยที่ทำให้เกิดการ เจ็บป่วยในระยะยาวได้ ปัญหาสุขภาพที่พบส่วนใหญ่ของเกษตรกรมีปัญหาที่หลังส่วนล่าง รองลง มา คือมีอาการปวดเมื่อยบริเวณเข่า มีอาการปวดจนไม่สามารถทำงานได้(รัชนี จูมจี และคณะ,2560) ดังนั้น งานอาขีวอนามัย กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสุไหงปาดี จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพเกษตรกร ปี2566 ตำบลปะลุรู อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคกระดูกและกล้ามเนื้อในเกษตรกรต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

ร้อยละ60ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น

30.00 20.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้

ร้อยละ 60 ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้

30.00 20.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 80
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/05/2023

กำหนดเสร็จ 31/08/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกและกล้ามเนื้อ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ค่าตอบแทนวิทยากร ( ชั่วโมงละ 600 x 5 ชั่วโมง ) เป็นเงิน 3,000 บาท
- ค่าป้ายไวนิลชื่อโครงการ ( ขนาด 1.20 เมตร x 2.40 เมตร ) เป็นเงิน 720 บาท - ค่าไวนิลให้ความรู้พร้อมขาตั้งลูมิเนียน 3000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน ( มื้อละ 60 บาท x 80 คน ) เป็นเงิน4,800 บาท
- ค่าอาหารว่าง ( มื้อละ 30 บาท x 2 มื้อx80 คน ) เป็นเงิน4,800 บาท
- ค่าอุปกรณ์เครื่องเขียน ( ชุดละ 15x80 คน ) เป็นเงิน1,200 บาท
- ค่ากระเป๋าถุงผ้า ( ชุดละ 65x80 คน ) เป็นเงิน5,200 บาท รวมค่าใช้จ่ายเป็นเงินทั้งสิ้น22,720บาท (-สองหมื่นสองพันเจ็ดร้อยยี่สิบบาทถ้วน-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60
  2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้ ร้อยละ 60
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
22720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เกี้ยวโรคกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารท่าออกกำลังกายลดการปวดในโรคกระดูกและกล้ามเนื้อได้


>