กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการตรวจคัดกรองโรคตาและช่วยเหลือความผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ในตำบลจะกว๊ะ ประจำปี 2566

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองโรคตาและช่วยเหลือความผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ในตำบลจะกว๊ะ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L0302
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ผู้พิการ ตำบลจะกว๊ะ
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 8 กุมภาพันธ์ 2566 - 31 มีนาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 1 พฤษภาคม 2566
งบประมาณ 279,625.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลการิม กอระ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.498,101.536place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 567 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 133 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ดวงตาประกอบด้วยส่วนที่มองเห็นจากภายนอก และส่วนที่อยู่ภายใน เช่นคิ้ว ขนตา เปลือกตา ต่อมน้ำตา และท่อระบายน้ำตา เบ้าตา เยื่อบุตา กระจกตา ตาขาว ม่านตา แก้วตา จอตา และประสาทตา กล้ามเนื้อกลอกตาและสารน้ำในดวงตามีตัวรับความรู้สึกชนิดต่าง ๆ ที่ไวต่อแสง ระบบประสาทจะนำสัญญาณความรู้สึกที่ได้รับเข้าสู่สมองและสมองทำหน้าที่แปลความหมายของภาพที่มองเห็น ความลึก หรือความสามารถในการบอกมิติและความสามารถในการป้องกันตนเอง ดวงตายังมีขบวนการป้องกันอันตรายหรือการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของระบบการมองเห็น (รีเฟล็กซ์) หากสุขภาพดวงตาเสียไป จะทำให้ไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ต้องพึ่งพาผู้อื่นและเป็นภาวะในการดูแลของครอบครัวและสังคม ดังนั้น จึงต้องมีวิธีการดูแลสุขภาพดวงตา ก่อนอื่นต้องสังเกตว่าตนเองมีอาการเหล่านี้ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคตาหรือไม่ ได้แก่ ตามัวตลอดเวลาหรือชั่วคราว ตาสู้แสงไม่ได้ มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำๆ ลอยไปมา ตาบอดกลางคืน มองเห็นแสงวาบ มองเห็นภาพซ้อน เห็นแสงสีรุ้งรอบดวงไฟ ปวดตา คันตา และตาแดง หากพบอาการดังกล่าวต้องรีบไปพบ จักษุแพทย์ทันที ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการมองเห็นและเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ทุกคน เนื่องจากทำให้ การปฏิบัติทุกอย่างเกิดความสะดวก ถูกต้อง และเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจน สิ่งที่ทำให้มนุษย์มองเห็นก็คือ ดวงตา และประสาทตา ดังนั้นการดูแลรักษาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมากสำหรับมนุษย์ทุกคน ซึ่งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบสายตามีหลายชนิด ได้แก่ สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง เหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการสวมใส่แว่นสายตาที่เหมาะสม
จากความสำคัญดังกล่าว ศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการตำบลจะกว๊ะได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องสายตาของผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองโรคตาและช่วยเหลือความผิดปกติทางการมองเห็นในผู้สูงอายุ และประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ในตำบลจะกว๊ะ ประจำปี 2566 โดยการตรวจวินิจฉัยโรคทางตาและตรวจวัดสายตาสำหรับใช้แว่นตาที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านสุขภาพอนามัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อประเมินสุขภาพสายตาแก่ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี และตรวจคัดกรองโรคทางสายตา 2. เพื่อให้แก้ปัญหาผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ที่มีความผิดปกติทางสายตา สามารถมองเห็นได้ตามปกติ 3. เพื่อแก้ปัญหาผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ที่มีภาวะโรคทางตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที 4. เพื่อให้ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ที่ได้รับความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตา และสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข
  1. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองโรคทางสายตาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    1. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ที่มีปัญหาทางสายตา ได้รับแว่นสายตาที่เหมาะสม
    2. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ที่มีภาวะโรคทางตาได้รับการรักษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    3. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100 ที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้รับความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาความผิดปกติทางสายตา และสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข
80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.พ. 66มี.ค. 66
1 คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย(8 ก.พ. 2566-24 ก.พ. 2566) 0.00    
2 ตรวจคัดกรองความบกพร่องทางการมองเห็นและอบรมให้ความรู้(27 ก.พ. 2566-1 มี.ค. 2566) 0.00    
3 จัดซื้อ/ประกอบแว่นตา พร้อมกับมอบแว่นตาตามผลการตรวจของแต่ละบุคคล(20 มี.ค. 2566-31 มี.ค. 2566) 0.00    
รวม 0.00
1 คัดกรองกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 ตรวจคัดกรองความบกพร่องทางการมองเห็นและอบรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
3 จัดซื้อ/ประกอบแว่นตา พร้อมกับมอบแว่นตาตามผลการตรวจของแต่ละบุคคล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ตรวจพบโรคทางตาได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและลดการสูญเสียดวงตาในผู้ที่ตรวจพบโรคทางตา
๒. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ได้รับแว่นสายตา เพื่อแก้ปัญหาด้านการมองเห็นสามารถประกอบอาชีพและใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข
๓. ผู้สูงอายุและประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุระหว่าง 50-59 ปี ได้รับมอบแว่นสายตาและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 11:05 น.