กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการลดภาวะความเครียดหรือวิตกกังวลแก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ
รหัสโครงการ 66-L8008-03-21
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนพิการเทศบาลเมืองสตูล
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 27,044.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกฤษณ์ ชุมดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 27,044.00
รวมงบประมาณ 27,044.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 131 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนพิการและผู้ดูแลความพิการมีความเครียดและวิตกกังวล
100.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์ในปัจจุบันทำให้เกิดผู้ป่วยทั่วไปและเรื้อรังจากภาวะวิกฤตมากขึ้น โรงพยาบาลต้องเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเตียง เพื่อลดจำนวนวันของการอยู่รักษาในโรงพยาบาล และลดค่าใช้จ่ายของการรักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังต้องถูกจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นทั้ง ๆ ที่อาการยังไม่คงที่ บางรายมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ติดตัวมาที่บ้านเป็นเหตุให้ต้องมีการส่งต่อให้ศูนย์บริการสาธารณสุขทำการดูแลอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ป่วยและครอบครัวหลังการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งผู้ป่วยจำนวนหนึ่งสามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ แต่มีผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ กลายเป็นการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มีความยุ่งยากซับซ้อนของการควบคุมอาการของโรคให้สงบได้ ซึ่งต้องการการดูแลเพื่อการรักษาอย่างต่อเนื่อง และต้องให้ญาติมีส่วนร่วมในการดูแล เพื่อช่วยควบคุมอาการของโรคได้ จึงต้องมีการดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องการการมีส่วนร่วมจากครอบครัวในการดูแล แต่การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้ยังไม่ดีเท่าที่ควร อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจของครอบครัว และจากปัจจัยอื่น ๆ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเครียด ท้อแท้ และหมดกำลังใจ ชมรมคนพิการเทศบาลเมืองสตูล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสภาพจิตใจของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ จึงได้จัดโครงการดังกล่าวขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 คนพิการ และผู้ดูแลคนพิการที่เป็นสมาชิกชมรมคนพิการ ได้รับการประเมินตามแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด

ร้อยละ 100 ของคนพิการ และผู้ดูแลคนพิการที่เป็นสมาชิกชมรมคนพิการ ได้รับการประเมินตามแบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด

0.00 100.00
2 คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีแนวทางในการลดภาวะความเครียดและความวิตกกังวล

ร้อยละ100 ของคนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีแนวทางในการลดภาวะความเครียดและความวิตกกังวล

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,044.00 0 0.00
1 - 15 พ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1 0 800.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 สำรวจสภาพปัญหาสุขภาพจิตของคนพิการ 0 6,594.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 2 0 800.00 -
3 - 31 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้การจัดการกับความเครียดแก่คนพิการและผู้ดูแลคนพิการ 0 14,850.00 -
1 - 31 ส.ค. 66 การลงพื้นที่ติดตามประเมินผลความเครียดและประชุมสรุปผลกิจกรรม 0 4,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.คนพิการและผู้ดูแลคนพิการมีภาวะความเครียดที่ลดลง รู้จักวิธีการผ่อนคลายความเครียดให้กับตนเองและผู้อื่น
2.คนพิการสามารถเข้าร่วมชมรมผู้พิการเพิ่มขึ้น 3.คนพิการและผู้ดูแลมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2566 14:31 น.