กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพเทศบาลเมืองปัตตานีอาสามสมัครประจำครอบครัว (อสค.)ต้นแบบ และการเชือมต่อเครือข่าย อสม. เทศบาลเมืองปัตตานี
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 28 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 58,670.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวันอารีณาสะเหรม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลและข่าวสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนได้ แต่สิ่งสำคัญกว่าข้อมูลข่าวสารในทศวรรษนี้ คือ การมีและสร้างเครือข่าย หากสามารถพัฒนาระบบเครือข่ายทะลุทะวง ต่อยอดจากชุมชนไปถึงทุกครัวเรือนได้ ก็จะเป็นพลังอันมหาศาล ที่ทำให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ อันเป็นการเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนสุขภาพดี พึ่งตนเองได้ มีศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่พลเมืองไทย ในการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน เจ้าหน้าที่มีความสุขในการทำงาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทั้งในส่วนของภาคประชาชนและภาครัฐในระบบสุขภาพของประเทศ โรคที่เป็นปัญหาอันเกิดจากพฤติกรรมของประชาชน มีโอกาสลดลงและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบสุขภาพของประเทศมีความยั่งยืน กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยการสร้างโครงข่ายความรู้ด้านสุขภาพถึงครัวเรือน มุ่งเน้นให้คนไทยระดับบุคคล ครอบครัว สามารถวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงภัยสุขภาพ ตลอดจนดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบพึ่งตนเองได้ ด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) ต่อยอดการดูแลสุขภาพจาก อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขยายผลไปถึงครอบครัว ๑ ครอบครัวจะมีอย่างน้อย ๑ คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกที่มีในครอบครัวได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาของชุมชน เป้าหมายอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เขตเทศบาลเมืองปัตตานี พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๕๖๘ ราย แยกเป็นตำบลสะบารัง จำนวน ๑๐๘๗ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๒๗๗ ราย ตำบลอาเนาะรู จำนวน ๘๔๔ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๒๐ ราย และตำบลจะบังติกอ จำนวน ๖๓๙ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๑๗ ราย ซึ่งถือว่ามีการขึ้นทะเบียนที่ไม่ถึงครึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ควรจัดโครงการ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านและการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานด้านอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เห็นผลชัดเจนมากขึ้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเทศบาลเมืองปัตตานี จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ต้นแบบ และการเชื่อมเครือข่าย อสม.เทศบาลเมืองปัตตานี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,070.00 0 0.00
??/??/???? ๑.จัดประชุม ทีม งาน 0 0.00 -
??/??/???? จัดเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารคู่มือ สำหรับ อสค. ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จำนวน ๕๐ เล่ม 0 4,200.00 -
??/??/???? รียนร่วมญาติของ อสค.ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะของ อสค. พร้อมเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้และฟื้นฟูต่อเนื่อง ในการพัฒนาศักยภาพ อสค. ในช่วง 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน จำนวน ๕๒ คน 0 0.00 -
30 เม.ย. 61 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสค.และ อสม.เพื่อการต่อยอดในการพัฒนาศักยภาพ อสค.ชุมชนอื่นๆในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ( อสม., อสค. และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง 0 22,870.00 -

๑. ประชุมทีมงาน ประกอบด้วย อสม. เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและผู้เกี่ยวข้อง ๒. คัดเลือกชุมชนนำร่อง ตำบลละ 1 ชุมชน จำนวน 3 ตำบล ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ที่มีผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)เพื่อคัดเลือก อสค. 1 คนต่อครอบครัวได้แก่ ตำบลสะบารัง คัดเลือกชุมชนสะบารัง ตำบลอาเนาะรู คัดเลือกชุมชนหัวตลาดและตำบลจาบังติกอ คัดเลือดชุมชนวังเก่า ตำบลละ 10 คน


๓. จัดเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารคู่มือ สำหรับ อสค. ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)
๔. เรียนร่วมญาติของ อสค.ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะของ อสค. หลังการเรียนรู้ 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน
พร้อมเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้และฟื้นฟูต่อเนื่อง ในการพัฒนาศักยภาพ อสค. ที่สามารถแนะนำได้ช่วงลงเยี่ยม จะมีการแนะนำสอนสาธิตให้เรียนรู้ร่วมกันในวันเยี่ยม หัวข้อในการเสริมข้อมูล ดังเช่น
-ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง (CKD) ได้รับความรู้ ๖ เรื่อง ๑. เรื่องไต ๒. การคุมเบาหวาน/ความดัน โลหิต ๓. การคุมอาหารอย่างเป็นรูปธรรม ๔. การออกกำลังกาย ๕. การใช้ยาและการไปพบแพทย์ตามนัด ๖. เรื่องสุขภาพจิต การดูแลบำรุงจิตใจ
-ผู้ดูแลผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) ได้รับความรู้ 3 เรื่อง ๑. การบริบาลดูแลเบื้องต้น ๒. การส่งเสริมสุขภาพ ๓. การใช้ยา
-ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) ได้รับความรู้ ๓ เรื่อง ๑. ความรู้เรื่องโรคที่เป็น ๒. การควบคุมโรคด้วย 3 อ 2 ส การใช้ยา ๓. ภาวะแทรกซ้อนและการป้องกัน ๔. ประเมินศักยภาพครอบครัวในการดูแลตนเองตามเกณฑ์ที่กำหนดของ อสค.) ๕. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียน เพื่อพัฒนาศักยภาพของ อสค.และ อสม.ในการต่อยอด อสค.ชุมชนอื่นๆในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ใช้รูปแบบ
- การถอดบทเรียนในรูปแบบการจัดการความรู้ (KM) - ร่วมวางแผนการดำเนินงานในรูปแบบเดียวกัน เพื่อนำไปต่อยอดกับพื้นที่ในชุมชนอื่นๆที่เหลือให้ครบ - คิดค้นนวัตกรรม เพื่อต่อยอดการแก้ปัญหาที่คิดค้นและมีส่วนร่วมจากสมาชิกในชุมชน - มอบประกาศนียบัตรพร้อมบัตรประจำตัว อสค. - สรุปผลการจัด KM ขั้นสรุปผล ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันสรุปการดำเนินการกิจกรรม
๒. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
๓. เสนอรายงานผลการดำเนินตามกิจกรรม เสนอกองทุน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและสามารถดูแลตนเองได้ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว และระดับชุมชนได้
๒. ทุกครอบครัวเป้าหมายได้รับการดูแลจากอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๓. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ อสม. โดย - อสม. เป็นเสมือนแม่ข่ายในการทำงานและถ่ายทอดความรู้สู่อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) และรับความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสู่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม มากยิ่งขึ้น - อสม. และอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) จะเป็นเสมือนใยแมงมุมที่สานต่อเป็นร่างแหเดียวกัน ไม่ซ้ำซ้อนกัน และ - อสค. ได้รับการถ่ายทอดความรู้ คำแนะนำและคำปรึกษาจาก อสม. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีศักยภาพสูงขึ้น มีความมั่นใจต่อการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 พ.ย. 2560 09:56 น.