กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพเทศบาลเมืองปัตตานีอาสามสมัครประจำครอบครัว (อสค.)ต้นแบบ และการเชือมต่อเครือข่าย อสม. เทศบาลเมืองปัตตานี

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพเทศบาลเมืองปัตตานีอาสามสมัครประจำครอบครัว (อสค.)ต้นแบบ และการเชือมต่อเครือข่าย อสม. เทศบาลเมืองปัตตานี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองปัตตานี

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ข้อมูลและข่าวสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาสุขภาพของประชาชนได้ แต่สิ่งสำคัญกว่าข้อมูลข่าวสารในทศวรรษนี้ คือ การมีและสร้างเครือข่าย หากสามารถพัฒนาระบบเครือข่ายทะลุทะวง ต่อยอดจากชุมชนไปถึงทุกครัวเรือนได้ ก็จะเป็นพลังอันมหาศาล ที่ทำให้ครอบครัวได้รับการดูแลสุขภาพและถ่ายทอดความรู้สม่ำเสมอ อันเป็นการเพิ่มการรู้เท่าทันในด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนมากขึ้น ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสให้ประชาชนสุขภาพดี พึ่งตนเองได้ มีศักดิ์ศรีและความภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่พลเมืองไทย ในการมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน เจ้าหน้าที่มีความสุขในการทำงาน สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพทั้งในส่วนของภาคประชาชนและภาครัฐในระบบสุขภาพของประเทศ โรคที่เป็นปัญหาอันเกิดจากพฤติกรรมของประชาชน มีโอกาสลดลงและเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบสุขภาพของประเทศมีความยั่งยืน
กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายเน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค โดยการสร้างโครงข่ายความรู้ด้านสุขภาพถึงครัวเรือน มุ่งเน้นให้คนไทยระดับบุคคล ครอบครัว สามารถวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงภัยสุขภาพ ตลอดจนดูแลสุขภาพด้วยตนเองแบบพึ่งตนเองได้ ด้วยการมีอาสาสมัครประจำครอบครัว(อสค.) ต่อยอดการดูแลสุขภาพจาก อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ขยายผลไปถึงครอบครัว ๑ ครอบครัวจะมีอย่างน้อย ๑ คน ที่สามารถดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกที่มีในครอบครัวได้ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาของชุมชน
เป้าหมายอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เขตเทศบาลเมืองปัตตานี พบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๕๖๘ ราย แยกเป็นตำบลสะบารัง จำนวน ๑๐๘๗ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๒๗๗ ราย
ตำบลอาเนาะรู จำนวน ๘๔๔ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๒๐ ราย และตำบลจะบังติกอ จำนวน ๖๓๙ ราย ขึ้นทะเบียนในระบบข้อมูลอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ๑๗ ราย ซึ่งถือว่ามีการขึ้นทะเบียนที่ไม่ถึงครึ่งของจำนวนทั้งหมด จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ควรจัดโครงการ เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับชาวบ้านและการกระตุ้นให้เกิดการดำเนินงานด้านอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) เห็นผลชัดเจนมากขึ้น
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนเทศบาลเมืองปัตตานี จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) ต้นแบบ และการเชื่อมเครือข่าย อสม.เทศบาลเมืองปัตตานี

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

1. เพื่อให้อสม.ได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ
2. เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
3. เพื่อให้อสม.มีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง
4. เพื่อให้อสม.ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
5.เพื่อให้อสม.ได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 25
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 20
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2018

กำหนดเสร็จ 30/09/2018

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑.จัดประชุม ทีม งาน

ชื่อกิจกรรม
๑.จัดประชุม ทีม งาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

     กิจกรรมที่ ๑ ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๒ ครั้ง จำนวน ๒๐ คน         - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม                       จำนวน ๒๐ คนๆ ละ ๒๕.-บาท/มื้อ ๒ ครั้ง                     เป็นเงิน     ๑,๐๐๐.-บาท
                                                     รวมกิจกรรมที่ ๑ เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท                                                                        ( เงินหนึ่งพันบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารคู่มือ สำหรับ อสค. ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จำนวน ๕๐ เล่ม

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารคู่มือ สำหรับ อสค. ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) จำนวน ๕๐ เล่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๓ จัดเตรียมข้อมูลและจัดทำเอกสารคู่มือ สำหรับ อสค. ในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคไตเรื้อรัง (CKD) ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง (LTC) และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD)  จำนวน ๕๐ เล่ม

  • ค่าวัสดุอุปกรณ์สำนักงานในการจัดทำคู่มือประเมิน อสค.      เป็นเงิน ๓,๒๐๐  บาท
  • ค่ากระดาษเอ ๔  รีมละ ๑๑๐ บาท ๕ รีม
    • ค่ากระดาษอาร์ตมันเลเซอร์ รีมละ ๑๒๐ บาท ๓ รีม
    • ค่ากรรไกร ราคา ๖๕ บาท จำนวน ๓ อัน
    • ค่าแมกซ์ขนาดใหญ่ ๒ อัน ๑๘๐ บาท
    • เทปกาวสี ๓ อัน ราคา ๕๐ บาท
    • ค่าถ่ายเอกสาร ๑ ชุด ( ๑ ชุดมี ๑๐ แผ่น ปริ้นสี ๕ แผ่นๆละ ๕ บาท = ๒๕ บาทและปริ้นธรรมดาแผ่นละ ๑ บาท จำนวน ๕ แผ่น = ๕ บาท ) ๑ ชุด ราคา ๓๐ บาท จำนวน ๕๐ ชุด      
  • ค่าถ่ายเอกสารชุดคู่มือ อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)            เป็นเงิน ๑,๐๐๐    บาท กลุ่มโรคไตวายเรื้อรัง(CKD) ๑๕ เล่ม, โรคเรื้อรัง (NCDs) ๒๐ เล่ม และผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียง(LTC) ๑๕ เล่ม เล่มละ ๒๐ บาท                                                                รวมกิจกรรมที่ ๓     เป็นเงิน   ๔,๒๐๐ บาท
                                                                                                ( เงินสี่พันสองร้อยบาทถ้วน )
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4200.00

กิจกรรมที่ 3 รียนร่วมญาติของ อสค.ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะของ อสค. พร้อมเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้และฟื้นฟูต่อเนื่อง ในการพัฒนาศักยภาพ อสค. ในช่วง 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน จำนวน ๕๒ คน

ชื่อกิจกรรม
รียนร่วมญาติของ อสค.ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะของ อสค. พร้อมเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้และฟื้นฟูต่อเนื่อง ในการพัฒนาศักยภาพ อสค. ในช่วง 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน จำนวน ๕๒ คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมที่ ๔ เรียนร่วมญาติของ อสค.ร่วมกับ อสม. และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบชุมชนและทีมสหวิชาชีพ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจและทักษะของ อสค. พร้อมเสริมทักษะ เพิ่มพูนความรู้และฟื้นฟูต่อเนื่อง ในการพัฒนาศักยภาพ อสค. ในช่วง 1 เดือน 3 เดือนและ 6 เดือน จำนวน ๕๒ คน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมฯ จำนวน ๕๕ คน ( ๓ กลุ่ม )
คนละ ๒๕.-บาท/มื้อ ๒ มื้อ เป็นเงิน๒,๗๕๐. บาท - ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมเรียนรู้ จำนวน๕๕ คน
คนละ ๗๐.-บาท/มื้อเป็นเงิน๓,๘๕๐ บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรภาคเช้า จำนวน ๔ คน ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๓ ชั่วโมง จำนวน ๒ ครั้ง เป็นเงิน๑๔,๔๐๐ บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบ่าย จำนวน๔ คน ชั่วโมงละ ๖๐๐ บาท จำนวน ๓ ชั่วโมง จำนวน ๒ ครั้งเป็นเงิน ๑๔,๔๐๐ บาท
รวมกิจกรรมที่ ๔ เป็นเงิน ๓๕,๔๐๐บาท
( เงินสามหมื่นห้าพันสี่ร้อยบาทถ้วน )

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 4,200.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคและสามารถดูแลตนเองได้ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในระดับครอบครัว และระดับชุมชนได้
๒. ทุกครอบครัวเป้าหมายได้รับการดูแลจากอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.)
๓. อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีความสัมพันธ์และเชื่อมโยงกับ อสม. โดย
- อสม. เป็นเสมือนแม่ข่ายในการทำงานและถ่ายทอดความรู้สู่อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) และรับความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสู่ประชาชนได้อย่างครอบคลุม มากยิ่งขึ้น
- อสม. และอาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) จะเป็นเสมือนใยแมงมุมที่สานต่อเป็นร่างแหเดียวกัน ไม่ซ้ำซ้อนกัน และ
- อสค. ได้รับการถ่ายทอดความรู้ คำแนะนำและคำปรึกษาจาก อสม. เพื่อให้อาสาสมัครประจำครอบครัว (อสค.) มีศักยภาพสูงขึ้น มีความมั่นใจต่อการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างและการถ่ายทอดความรู้สู่ประชาชน


>