กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือิดออก ปี2566
รหัสโครงการ 66-L5222-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว
วันที่อนุมัติ 20 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 82,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพิชยา แสงแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4487 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ไข้เลือดออกจากระบบการเฝ้าระวังโรค ในปี พ.ศ.2565 ในพื้นที่ภาคใต้และจังหวัดสงขลามีฝนตกเป็นระยะๆ ทำให้มีแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายมากขึ้นและยุงลายมีการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้น นอกจากโรคโควิด19 ที่ประชาชนต้องระวังแล้วยังควรระวังโรคไข้เลือดออก จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลา ข้อมูล ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม - 10 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 32 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.27 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต กลุ่มที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 10-14 ปี คิดเป็นอัตราป่วย 5.99 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาอายุ 15-24 ปี (อัตราป่วย 4.67) และกลุ่มอายุ 0-4 ปี (อัตราป่วย 3.07) ตามลำดับ อำเภอกระแสสินธุ์ อัตราป่วยเท่ากับ 4.41 ต่อประชากรแสนคน รองลงมาสะเดา และคลองหอยโข่ง ตามลำดับ และอำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ อำเภอสะเดา (7) หาดใหญ่ (7) เมือง (3) สะบ้าย้อย (3) สิงหนคร (3) ตามลับดับ สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกในตำบลบ้านขาว ปี พ.ศ.2565 ไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ จากช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า เมื่อทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว ได้ดำเนินการการจัดทำโครงการฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย สถิติที่เกินบขึ้นในพื้นที่มีจำนวนผู้ป่วยลดลง การระบาดลดลง ถือได้ว่าเป็นมาตรการการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลืิอดออกที่ดี ทั้งนี้ อาศัยการมีส่วนร่วมของประชานทุกครัวเรือนร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้นำชุมชนช่วยกันการป้องกันโรคดังกล่าวรูปแบบการทำกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ เช่น การรณค์การร่วมมือกับโรงเรียน วัด ชุมชน สถานที่ราชการต่างๆ การจัดหาสารจัดลูกน้ำ การพ่นหมอกควันและสารเคมี การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย การใช้วิธีทางธรรมชาติในหารกำจัดลูกน้ำ และที่สำคัญที่สุดคือการรู้จักป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัน องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว มีอำนาจหน้าที่ตมพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตบ พ.ศ.2537 แก้ไข้เพิ่มเติมฉบับที่ 6 พ.ศ.2552 มาตรา 67 (3) กล่าวว่าองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ป้องกันและระงับโรคติดต่อ และมาตรา16(19) ในพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 กล่าวว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและอำนาจหน้าที่ในด้านสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านขาว จึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการกำจัดยุงลายและดำเนินงานเพื่อป้องกันการเกินและแพร่ระบาดของโรคอย่างจริงจัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นี้ โดยได้ดำเนินการจัดทำโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ 0 3,000.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย 0 57,000.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 แจกทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำ 0 22,000.00 -
รวม 0 82,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนเกิดความตื่นตัว มีความรู้ความเข้าใจ รู้จักวิธีควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. ประชาชนตระหนักถึงการใช้วัตถุสิ่งของ ตลอดจนภาชนะที่มีน้ำขังและเป็นที่วางไข่ของยุงและที่อยู่อาศัยของลูกน้ำซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ุยุงลาย๔ุกเก็บ คว่ำ ทำลาย ส่งผลให้ยุงลายตัวเต็มวัยในครัวเรือน วัด โรงเรียน และชุมชนลดลง
  3. ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม และมีบทบาทในการช่วยกันเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกภายในชุมชนมากขึ้น
  4. การแพร่ระบาดของโรค อัตราป่วย และการสูญเสียชีวิตของประชาชนเนื่องจากโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2566 00:00 น.