กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์ุ(15-44 ปี) รพ.สต.บ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า ประจำปีงบประมาณ 2566 (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า
วันที่อนุมัติ 13 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวีรวัฒน์ ล่าโยค
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 240 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นประชากรกลุ่มหนึ่ง ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง เนื่องจากมีการสูญเสียธาตุเหล็กไปกับประจำเดือน ประมาณ 12.5 - 15 มิลลิกรัมต่อเดือน หรือเฉลี่ยวันละ 0.4 - 0.5 มิลลิกรัม ซึ่งปกติร่างกายจะสูญเสียธาตุเหล็กจากการขับถ่ายวันละ 0.5-1.0 มิลลิกรัม และยังมีการสูญเสียธาตุเหล็กออกไปทางปัสสาวะ ผิวหนัง บาดแผล และการบริจาคโลหิต นอกจากนี้พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ทำให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เพื่อให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ได้รับการคัดกรองภาวะโลหิตจางก่อนตั้งครรภ์ มีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลหิตจาง และสามารถป้องกันเพื่อลดภาวะโลหิตจางเมื่อตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้กำหนดการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วย การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ รวมถึงให้เป็นไปตามมติสมัชชาอนามัยโลก ปี ค.ศ. 2012 กำหนดให้ประเทศสมาชิกลดภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 50 ภายในปี พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)       จากผลการดำเนินงานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า พบว่า ภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธ์ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในคลินิกฝากครรภ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า ย้อนหลัง 3 ปี (2553–2565) มีภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรก ผลงานน้อยกว่าร้อยละ10 คิดเป็นร้อยละ 5.13 , 0.00 และ 0.00 ตามลำดับ (ข้อมูล HDC) หากหญิงวัยเจริญพันธุ์ขาดธาตุเหล็กในระยะก่อนตั้งครรภ์ จะส่งผลเมื่อตั้งครรภ์ต่อการเจริญเติบโตทั้งทางร่างกาย และสมองของทารกในครรภ์ มีพัฒนาการด้านร่างกายล่าช้า ดังนั้น เพื่อลดภาวะโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ควรมีการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการขาดธาตุเหล็กในวงกว้างให้ครอบคลุมกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธุ์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีโอกาสตั้งครรภ์       ในการนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกะทูน-พิปูนล้นเกล้า ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และแก้ไขภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ขึ้น และเพื่อตอบสนองนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ที่ได้กำหนดการพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2569) ว่าด้วย การส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีความพร้อมจะมีบุตร หรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้อย่างถูกต้อง ข้อที่ 2. เพื่อรณรงค์หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความพร้อมจะมีบุตรหรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ให้ได้รับการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ ข้อที่ 3. เพื่อเกิดมาอย่างมีคุณภาพ (มารดาและทารก) และลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก
  • หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความพร้อมจะมีบุตร หรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80(ทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม)
  • เด็กทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 7 (ทารกแรกเกิดมีชีพที่ได้รับการชั่งน้ำหนักภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด)
  • อัตราการเสียชีวิตและพิการสูง น้อยกว่า 25 : 1,000 การเกิดมีชีพ (มารดา/ทารก)
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

มาตรการที่ 1 : ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่อุดมด้วยธาตุ     เหล็กและโฟเลท ข้อที่ 1. เพื่อหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความพร้อมจะมีบุตรหรือ
  กลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร มีความรู้ในการเตรียม
  ความพร้อมก่อนตั้งครรภ์ ได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรม : อบรมส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความ
    พร้อมจะมีบุตรหรือ กลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร
    ได้รับภาวะโภชนาการป้องกันภาวะโลหิตจาง กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 240 คน
      - หมู่ 5 จำนวน 80 คน
      - หมู่ 6 จำนวน 80 คน
      - หมู่ 9 จำนวน 80 คน จำนวน 3รุ่นๆละ 80คน รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่ายไวนิลโครงการ ขนาด 1X2เมตร จำนวน 1ผืน
ผืนละ 300บาท            = 300บาท -ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน80คน X50บาทX1มื้อX3วัน =12,000บาท
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม
จำนวน80คนX25บาทX2มื้อX3วัน =12,000บาท
-ค่าวิทยากร
จำนวน6ชั่วโมงX300บาทX3วัน  = 5,400บาท
              รวมเป็นเงิน 29,700 บาท มาตรการที่ 2 : ค้นหาตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจาง
ข้อที่ 2 เพื่อรณรงค์หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีความพร้อมที่จะมี
    บุตรหรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ให้ได้รับการ
    ส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ
กิจกรรม : การคัดกรองภาวะโลหิตจางในหญิงวัยเจริญพันธุ์
กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 240 คน
          - หมู่ 5 จำนวน 80 คน
          - หมู่ 6 จำนวน 80 คน
          - หมู่ 9 จำนวน 80 คน
จัดซื้อวัสดุทางการแพทย์ รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
-เข็มเจาะเลือด (Uno safe T Pro blood lancet)
จำนวน2กล่อง(200/box)กล่องละ750บาท
                      = 1,500บาท
-ถาดดินน้ำมันทางการแพทย์ (Critoseal) จำนวน1 กล่อง (10/PK)กล่องละ1,500บาท  = 1,500บาท
-หลอดเก็บเลือด (Hematocrit tube) จำนวน
3กล่อง (100/PK)กล่องละ 200บาท  = 600บาท               รวมเป็นเงิน 3,600บาท
มาตรการที่ 3 : เสริมยาธาตุเหล็กเชิงป้องกันภาวะโลหิต           จางจากการขาดธาตุเหล็กสำหรับหญิงวัย           เจริญพันธุ์ขณะตั้งครรภ์ ข้อที่ 3 เพื่อเกิดมาอย่างมีคุณภาพ (มารดาและทารก) และ
    ลดภาวะพิการแต่กำเนิดของทารก กิจกรรม : อบรมส่งเสริมให้หญิงวัยเจริญพันธุ์ขณะตั้งครรภ์       ได้รับภาวะโภชนาการป้องกันภาวะโลหิตจาง กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 25 คน จำนวน 1รุ่นๆละ 25คน รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้ -ค่าอาหารกลางวัน
จำนวน25คน X50บาทX1มื้อX1วัน =1,250บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน25คนX25บาทX2มื้อX1วัน =1,250บาท -ค่าวิทยากร จำนวน6ชั่วโมงX300บาทX1วัน  = 1,800บาท               รวมเป็นเงิน 4,300 บาท กิจกรรมหลังดำเนินการ กิจกรรม : สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่พร้อมจะมีบุตร หรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร มีความรู้ในการเตรียมความพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้อง
  2. หญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่พร้อมจะมีบุตร หรือกลุ่มที่ยังไม่พร้อมที่จะมีบุตร ได้รับการส่งเสริมการมีบุตรอย่างมีคุณภาพ
  3. หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่พร้อมจะมีบุตร สามารถคลอดบุตรอย่างมีคุณภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2566 13:59 น.