กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรู้เท่าป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก HPV DNA Test ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L3011-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 13,540.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสีเตาะ นิมาปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วหลายชีวิต ปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมากและต่อเนื่องในอนาคต ในปัจจุบันพบว่ามีอัตราเกิดโรคสูงขึ้น โดยสถิติล่าสุดที่พบมีผู้ป่วยรายใหม่ 139,206 คนต่อปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คนต่อปี โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากในเพศหญิงที่พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวถึงวัยชรา และพบมากเป็น อันดับ 2 ของมะเร็งในสตรีไทย รองจาก มะเร็งเต้านม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่า มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้ถึงร้อยละ 80 หากได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอแต่พบว่ามีผู้หญิงจำนวนมากมีความกังวลในการเข้ารับการตรวจคัดกรองหาเชื้อเอชพีวี ซึ่งเป็นสาเหตุหลักมะเร็งปากมดลูกด้วยเหตุผล คืออาย กลัวการขึ้นขาหยั่ง กลัวเจ็บ เป็นต้น ทำให้ไม่เข้ารับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงไม่เข้ารับการตรวจเลย จนไปพบสูตินรีแพทย์เมื่อมีอาการแล้วซึ่งอาจจะทำให้รักษาไม่ทันการณ์ ปัจจุบันมีนวัตกรรมในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเบื้องต้นด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA Test) จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่า การคัดกรอง โดยวิธีการตรวจ HPV DNA Test คือ การตรวจในระดับโมเลกุลเป็นการตรวจด้วยวิธีเจาะลึกระดับดีเอ็นเอโดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา เพื่อตรวจหาเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ 16, 18 และ เอชพีวี อีก 12 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักสูงถึง 99% ของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง และเชื้อเอชพีวี สายพันธุ์ 16 และ 18 เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 70% การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA Test)สตรีสามารถเลือกเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง
จากการดำเนินงานการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มหญิงวัยเจริญพันธ์ อายุ 30-60 ปี ด้วยวิธี(HPV DNA Test)ทั้งหมด 1,826 คน ที่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แล้ว 123 คน คิดเป็นร้อยละ 6.74 จากผลงานสะสม ปี 2565 – 2569 ซึ่งยังไม่ผ่านร้อยละ 20ที่ผ่านมาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตะลุโบะ พบปัญหาในการดำเนินงานคือประชาชน ยังไม่ตระหนักถึงความอันตรายของโรคและมีความอายในการ มาตรวจ กลัวการขึ้นขาหยั่ง กลัวเจ็บ เป็นต้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี เอชพีวี ดีเอ็นเอ (HPV DNA Test)สตรีสามารถเลือกเก็บตัวอย่างได้ด้วยตนเอง ทาง รพ.สต.จึงได้จัดทำโครงการขึ้น เพื่อให้สตรีหญิงวัยเจริญพันธ์สามารถตรวจได้ด้วยตัวเอง ลดความอาย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทางเลือกในการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็ง ปากมดลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงมีทักษะการตรวจเต้านมเบื้องต้น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลาม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการเข้าถึงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเสี่ยง

กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ ๓๐ - ๖๐ ปี ได้รับการตรวจมะเร็ง ปากมดลูกด้วยวิธี  HPV DNA Test ร้อยละ 40 ( เปรียบเทียบกับจำนวนสตรีอายุ 30-60 ปี ที่ยังไม่เคยตรวจมะเร็งปากมดลูกใน 5 ปีที่ผ่านมา ความครอบคลุม สะสม 5 ปี )

0.00 40.00
2 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มีทักษะและ สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยตัวเองด้วยวิธี HPV DNA Test ได้ถูกต้อง

กลุ่มเป้าหมายสตรีอายุ 30-60 ปี มีทักษะตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ด้วยตัวเองด้วยวิธี  HPV DNA Test
ร้อยละ 80

0.00 80.00
3 เพื่อให้สตรีกลุ่มอายุ 30 – 70 ปี มีทักษะและสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองได้ถูกต้อง

สตรีอายุ 30-70 ปี มีทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ร้อยละ 80

0.00 80.00
4 เพื่อให้สตรี อายุ ๓0 ปีขึ้นไป มีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมได้ถูกต้อง

สตรีอายุ ๓0 ปีขึ้นไปมีความรู้ ความเข้าใจโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มากกว่า ร้อยละ 80

0.00 80.00
5 เพื่อส่งต่อสตรีที่ตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูก มะเร็งเต้านมที่ผิดปกติเข้ารับการรักษา

สตรีที่ตรวจพบผลเซลล์ปากมดลูก มะเร็งเต้านม ที่ผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาร้อยละ 100

0.00 100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,540.00 1 13,540.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 13,540.00 13,540.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในกลุ่มเป้าหมายโดยวิธี HPV DNA Test 0 0.00 -
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 ฝึกปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจมะเร็งปากมดลูกและสามารถตรวจเต้านมด้วยตัวเองได้เบื้องต้น ถ้าพบภาวะผิดปกติทุกชนิด ได้รับการส่งต่อและรักษาโดยแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคน
2. สตรีกลุ่มเป้าหมายสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยตัวเองด้วยวิธี HPV DNA Test 3. อัตราป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมลดน้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2566 15:25 น.