กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัณโรค รู้ทัน ป้องกันได้ ปี2566
รหัสโครงการ 66-L3011-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 29 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมาสีเตาะ นิมาปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 8 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 92 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์กรอนามัยโลกจัดลำดับให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงที่มีการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB)โดย ปี พ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลกกำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากร ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรค การเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุม โดยให้ กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง และได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองที่ถูกต้องรวมทั้ง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ ได้แก่ ผู้สัมผัสโรคที่อยู่ร่วมบ้าน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ โดยเน้นให้มีการตรวจเอ็กเรย์ปอด และหากพบมีความผิดปกติต้องได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อของโรควัณโรคในชุมชน อีกทั้งติดตามผู้ป่วยวัณโรคให้มารับตามนัดและกินยาถูกต้องครบถ้วนเพื่อลดการเกิดการดื้อยาและรักษาไม่สำเร็จ โดยมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย”

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพี่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรค ชี้แจงแบบคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในชุมชนได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

สามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่มได้อย่างครอบคลุม

กลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่มได้รับการคัดกรองอย่างครอบครัว ร้อยละ 90

0.00 90.00
3 เพื่อพัฒนาระบบติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และสามารถส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90

0.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 18,300.00 3 18,300.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 18,300.00 18,300.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่ม 0 0.00 0.00
1 ก.พ. 66 - 30 ก.ย. 66 ฝึกปฏิบัติการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (NTP)
  2. แกนนำ มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคและเยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2566 11:17 น.