กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการวัณโรค รู้ทัน ป้องกันได้ ปี2566

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะลุโบะ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ

พื้นที่ตำบลตะลุโบะ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย องค์กรอนามัยโลกจัดลำดับให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 14 ประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูงที่มีการติดเชื้อเอชไอวี (TB/HIV) และวัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB)โดย ปี พ.ศ.2559 องค์การอนามัยโลกกำหนดยุทธศาสตร์ยุติวัณโรคมีเป้าหมายลดอุบัติการณ์วัณโรคให้ต่ำกว่า 10 ต่อแสนประชากร ภายในปี พ.ศ. 2578 โดยประเทศไทยได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติ ด้านการต่อต้านวัณโรค เพื่อลดอุบัติการณ์วัณโรค การเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคให้ครอบคลุม โดยให้ กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรอง และได้รับการวินิจฉัยด้วยวิธีการตรวจที่รวดเร็ว
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ ตระหนักถึงปัญหาและเล็งเห็นความสำคัญและสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองที่ถูกต้องรวมทั้ง การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องวัณโรคแก่ชุมชน และดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อวัณโรครายใหม่ ได้แก่ ผู้สัมผัสโรคที่อยู่ร่วมบ้าน ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และบุคลากรสาธารณสุข ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะลุโบะ โดยเน้นให้มีการตรวจเอ็กเรย์ปอด และหากพบมีความผิดปกติต้องได้รับการส่งต่อเพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็ว เพื่อลดการแพร่เชื้อของโรควัณโรคในชุมชน อีกทั้งติดตามผู้ป่วยวัณโรคให้มารับตามนัดและกินยาถูกต้องครบถ้วนเพื่อลดการเกิดการดื้อยาและรักษาไม่สำเร็จ โดยมุ่งเน้น “ค้นให้พบ จบด้วยหาย”

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพี่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้เกี่ยวกับวัณโรค ชี้แจงแบบคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ในชุมชนได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

สามารถค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชนได้อย่างรวดเร็วทันเวลา ร้อยละ 90

0.00 90.00
2 เพื่อคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่มได้อย่างครอบคลุม

กลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่มได้รับการคัดกรองอย่างครอบครัว ร้อยละ 90

0.00 90.00
3 เพื่อพัฒนาระบบติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ

ระบบติดตามควบคุมวัณโรคโดยการเยี่ยมบ้านผู้ป่วย และสามารถส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 90

0.00 90.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 8
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 92
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2023

กำหนดเสร็จ 30/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าแบบฟอร์มประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม ชุดละ 2 บาท จำนวน 200 ชุด เป็นเงิน 400 บาท รวมเป็นเงิน 400บาท
- ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1*3 เมตร จำนวน 1 ป้าย ราคาเมตรละ 300 บาท
เป็นเงิน 900 บาท
-ค่าอาหารกลางวันสำหรับ ผู้เข้าอบรม (พร้อมผู้จัดอบรม) 100 คน คนละ 50บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม 100 คน คนละ 35 บาท2 มื้อ เป็นเงิน 7,000 บาท
- คู่มือการอบรม 100 ชุด ชุดละ 50 บาทรวม 5,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับวัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

กิจกรรมที่ 2 ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่ม

ชื่อกิจกรรม
ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงทั้ง 7 กลุ่ม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองวัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ฝึกปฏิบัติการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ฝึกปฏิบัติการคัดกรองและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 30 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยรายใหม่ได้รับการคัดกรองวัณโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 18,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ป่วยวัณโรคได้รับการดูแลตามแนวทางการดำเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (NTP)
2. แกนนำ มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานป้องกันวัณโรคและเยี่ยมบ้านติดตามผู้ป่วย และการส่งต่อผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การค้นหาและคัดกรองผู้ป่วยวัณโรคเชิงรุกมีศักยภาพเพิ่มขึ้น


>