กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชน
รหัสโครงการ 2566-L6896-01-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครตรัง
วันที่อนุมัติ 27 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 166,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาธร อุคคติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.559,99.616place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานปัญหาสุขภาพอุบัติใหม่ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อสูง ซึ่งเทศบาลนครตรังมีประชากรค่อนข้างหนาแน่นเมื่อเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด ซึ่งโรคเล็ปโตสไปโรซิส (Leptospirosis) หรือ โรคฉี่หนู ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ แบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปร่า (Leptospira) เข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือไชเข้าผิวหนัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลนครตรัง พบมากในพื้นที่ที่มีบ้านเรือนประชากรหนาแน่นที่ขาดความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งเหมาะเป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของพาหะหลักของโรคอย่างหนู  อาการของโรคคือมีไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเจ็บกล้ามเนื้อที่โคนขาและน่อง อย่างมาก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน ตาแดง บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลือง ตาเหลือเนื่องจากเยื้อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ ซึ่งนับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เทศบาลนครตรังได้รับรายงานผู้ป่วยโรคฉี่หนู จำนวนทั้งสิ้น 7 รายคิดเป็นอัตราป่วย 12.4 ต่อแสนประชากร เข้ารับการรักษาในห้องICU 2ราย
ด้วยเหตุดังกล่าวงานป้องกันและควบคุมโรค กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครตรังจึงมีความห่วงใยสุขภาพ ประชาชนและตระหนักถึงโรคภัยที่อาจจะเกิดขึ้นกับประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชนขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้และการป้องกันตัวจากโรคฉี่หนูแก่ประชาชนในพื้นที่

ร้อยละ 80 ของประชาชนในพื้นที่มีความรู้เรื่องโรคฉี่หนู

2 เพื่อลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูของประชาชนในพื้นที่

อัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูของประชาชนในพื้นที่ลดลง

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชน(1 มี.ค. 2566-30 ก.ย. 2566) 166,300.00              
รวม 166,300.00
1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 166,300.00 2 136,300.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และป้องกันการแพร่ระบาดโรคฉี่หนูในชุมชน แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน แกนนำชาวบ้านและประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุข 1,2,3 และ 11 ชุมชน โรงพยาบาลตรัง 0 63,300.00 63,300.00
1 มี.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมรณรงค์การป้องกันโรคฉี่หนูและการปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในชุมชน - พื้นที่รับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุข 1 - พื้นที่รับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุข 2 - พื้นที่รับผิดชอบศูนย์บริการสาธารณสุข 3 - พื้นที่รับผิดชอบ 11 ชุมชน โรงพยาบาลตรัง 0 103,000.00 73,000.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคฉี่หนูและสามารถป้องกัน และกำจัดพาหะนำโรคได้ด้วยตัวเอง
  2. สามารถลดอัตราการป่วยและเสียชีวิตจากโรคฉี่หนูในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2566 11:05 น.