กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ป้องกันภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 66-L2492-1-8
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขเเละสิ่งเเวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลโคกเคียน
วันที่อนุมัติ 3 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 30 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 50,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภินันท์ เปาะอีเเต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.482,101.763place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกัน และควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไช้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ พบผู้ป่วยสะสม ๕๕.๑๔๕ ราย อัตราปวย ๖๖ ๘๗ คนต่อแสนประซากร มีรายงาน ผู้ป่วยมากกว่าปีที่ผ่านมา ๔.๕ เท่า โดยมีแนวโน้มผู้ป่วยเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา (รายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา (๕๐๖) กองระบาดวิทยา ณ วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๖)ตำบลโคกเคียน เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง มีรายงานอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปีที่ผ่านมาสูงถึง ๔๒๔.๐๙ คนต่อแสนประชากร ( ข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรคที่ต้องเฝ้าระวังงานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณ์สุขจังหวัดนราธิวาส ) ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่ เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องร่วมมือกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ ใน การควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้อง และสามารถรณรงค์ในชุมชนได้อย่างเหมาะสม

แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ ในการ ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกต้องและสามารถรณรงค์ใน ชุมชนได้อย่างเหมาะสม

90.00
2 เพื่อให้ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

ประชาชนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

90.00
3 เพื่อลดประชากรของลูกน้ำยุงลาย

ประชากรของลูกน้ำยุงลายลดลง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. บูรณาการระหว่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบสโคกเคียน ด้านอาหาร สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลโคกเคียน ร่วมถึงเชิญอาสาสมัคร จากชุมชนในตำบลโคกเคียน เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ ๑๒.๔ นราธิวาส ด้านการเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการควบคุมโรค ไข้เลือดออกและสาธิตการใช้เครื่องพ่นยุง - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเคียนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบื่อราเปีะ ด้านการ สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ ๒. อบรมตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครจากชุมชนให้เป็นแกนนำด้านสุขภาพ ให้มี ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก รวมถึงทักษะในการสื่อสารเพื่อการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๓. สาธิตวิธีการใช้เครื่องพ่นยุงของแต่ละประเภทอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ ได้แก่ เครื่องพ่นยุง แบบหมอกควัน เครื่องพ่นยุงแบบละอองฝอย เป็นต้น ๔.รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และขอความร่วมมือให้ประชาชนกำจัดแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องโดยแกนนำด้านสุขภาพที่ได้รับการอบรมฯ ๕.กำจัดยุงลายโดยการใช้เครื่องพ่นยุงตามครัวเรือนที่รายงานพบผู้ป่วยและครัวเรือนในรัศมี ๑๐๐ เมตร

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.แกนนำสุขภาพมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้อย่างถูก ๒.ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างถูกวิธี ๓.ประชาชนให้ความร่วมมือและมีการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2566 13:31 น.