กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เครือข่ายร่วมใจ ยามูปลอดภัย ใช้ยาสมเหตุผล ชุมชนนอกค่าย ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8284-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะกรรมการชุมชนนอกค่าย
วันที่อนุมัติ 22 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 22 พฤษภาคม 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชุมชนนอกค่าย ตำบลยามู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.867282,101.367337place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง
50.00
2 ร้อยละผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาไม่ถูกต้อง
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุผลในชุมชน เป็นปัญหาที่สลับซับซ้อน เรื้อรังต่อเนื่องกันมาอย่างยาวนาน เป็นปัญหาที่ต้องทำความเข้าใจอย่างรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังกินยาไม่ต่อเนื่องจากความเข้าใจเกี่ยวกับยาไม่ถูกต้อง กินยาเยอะๆกลัวเป็นไต , กินยาสมุนไพรปลอดภัยกว่ายาโรงพยาบาล กินยาทุกวันก็ไม่ดีขึ้น ทำให้กินบ้าง ไม่กินบ้าง ด้วยพฤติกรรมเช่นนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลานานสิ่งที่น่ากังวลใจในผู้ป่วยโรคเรื้อรังรวมถึงครอบครัว คือ การเชื่อคำบอกเล่าจากเพื่อนบ้าน โฆษณาในโทรทัศน์บ้าง ทำให้ผู้ป่วยไม่กลัวที่จะใช้อาหารเสริมโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง ราคาแพง กินแล้วอาจมีผลต่อโรคที่เป็น เช่น ผู้ป่วยเบาหวานกินอาหารเสริมแล้วทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุใช้ยาชุดแก้ปวดเมื่อย ยาสมุนไพรแผนโบราณไม่มีเลขทะเบียน รักษาสารพัดโรค มีคนมาขายถึงบ้าน เป็นปัญหาที่มักพบบ่อยจากการเยี่ยมบ้าน เครือข่ายในชุมชน มีส่วนสำคัญต่อการจัดการปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะเครือข่าย อสม.ถือเป็นเครือข่ายทางสาธารสุขหลักที่ใกล้ชิดชุมชน สามารถค้นหาปัญหาด้านยาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชน เพื่อการวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกับภาคีเครือข่ายอื่นในชุมชน นำไปสู่การพัฒนาการส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชนได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เครือข่ายอสม.มีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

39.00 39.00
2 เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล

27.00 27.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง

50.00 75.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาอย่างถูกต้อง

ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาอย่างถูกต้อง

27.00 27.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 240 30,000.00 0 0.00
23 มิ.ย. 66 อบรมเติมองค์ความรู้การใช้ยาสมเหตุผล แก่อสม.และคณะกรรมการชุมชน 30 19,400.00 -
26 มิ.ย. 66 - 14 ก.ค. 66 สำรวจสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาในชุมชน 70 1,100.00 -
26 ก.ค. 66 สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ RDU แก่คนในชุมชน 70 9,500.00 -
23 ส.ค. 66 กำกับ ติดตามการดำเนินงาน 70 0.00 -
25 ส.ค. 66 ถอดบทเรียนการดำเนินงานการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครือข่ายชุมชน ประชาชน และผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 2.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังเกิดความตระหนักในการใช้ยาอย่างสมเหตุผล 3.ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรับประทานยาได้ถูกวิธี กินยาอย่างต่อเนื่อง สามารถลดขนาดยาและมีสุขภาพดีขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2566 10:33 น.