กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมที่2 ติดตามชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิตสูง ในกลุ่มเสี่ยงหลังจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เสริมทักษะชีวิต ในเรื่อง 3ส 3อ.1น ไป 1 เดือน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขพร้อมจัดซื้ออุปกรณ์การตรวจติดตามสุขภาพ23 พฤษภาคม 2566
23
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ยะหา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ส่งผลต่อการเกิดโรคเหล่านี้ได้ การสร้างเสริมสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
สถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ตำบลยะหา อำเภอยะหาจังหวัดยะลาพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3ส 3อ.1น เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
จากข้อมูลการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอปี 2565 พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคเบาหวาน จำนวน 182 ราย และ 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.73 และ 2.44ผู้ป่วยรายใหม่12 ราย พบกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 166 ราย และ 75 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.64 และ 6.16ตามลำดับ ผู้ป่วยรายใหม่32ราย มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกๆปี ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของ ประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค 3อ 2ส ตามวิถีชุมชน เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือการสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3ส 3อ.1น และสามารถ
นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคร่วมกัน 3. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลง จากปีก่อน

กิจกรรมที่ 1 . จัดกิจกรรมแบ่งโซนจัดทำฐานการเรียนรู้ และฟื้นฟูกลุ่มเพื่อนเตือนเพื่อน พันธะสัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ  จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อหนุนเสริมทักษะชีวิต ความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดโรค 3ส 3อ.1น ใน16 พฤษภาคม 2566
16
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ยะหา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หลักการและเหตุผล ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือโรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอด ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง ส่งผลต่อการเกิดโรคเหล่านี้ได้ การสร้างเสริมสุขภาพช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นสุขนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ
สถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลากอ ตำบลยะหา อำเภอยะหาจังหวัดยะลาพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับประชาชนทุกกลุ่ม จะช่วยทำให้กลุ่มป่วยสามารถดูแลตนเองได้เป็นอย่างดี กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3ส 3อ.1น เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ตามหลัก 3ส 3อ.1น และสามารถ
นำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง อย่างน้อยร้อยละ 80 2.ชุมชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคร่วมกัน 3. จำนวนผู้ป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงลดลง จากปีก่อน