กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการพูด โดยใช้นิทานประกอบหุ่นมือ สำหรับเด็กอายุ 2 ปี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ
รหัสโครงการ 66-L1504-3-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 เมษายน 2566 - 22 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 32,924.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรรณา โคแหละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งกระบือ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.404,99.626place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มวัยทำงาน 36 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ จัดบริการสาธารณะด้านการศึกษา สำหรับเด็ก อายุ 2 – 4 ปี  จัดประสบการณ์การเรียนรู้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 และมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี จัดทำขึ้นสำหรับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอบรมเลี้ยงดูและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก โดยจุดมุ่งหมายของหลักสูตรกำหนดว่า ให้เด็กมีร่างกายเจริญเติบโตตามวัย แข็งแรงและมีสุขภาพดี  สุขภาพจิตดีและมีความสุข มีทักษะชีวิตและสร้างปฎิสัมพันธ์กับบุคคลรอบตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีทักษะการใช้ภาษาสื่อสารและสนใจเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ หนึ่งในแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กต่ำกว่า 3 ปี คือ ให้พ่อแม่ ครอบครัวมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กภายใต้บรรยากาศของความรัก ความอบอุ่น ความไว้วาง ใจและความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับเด็ก พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๓ (๑) ให้บิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ในการสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการ อบรมเลี้ยงดูและการให้การศึกษาแก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล     การอ่าน เป็นปัจจัยสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน เยียวยา พัฒนาจิตใจและพัฒนาทักษะสู่การเป็นพลเมืองที่มีความรอบรู้อย่างรอบด้าน องค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้การรู้หนังสือเป็นสิทธิมนุษยชน เป็นพลังแห่งศักดิ์ศรี เป็นพื้นฐานความเข้มแข็งของสังคม เป็นรากฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนอันจะก่อให้เกิดความรุดหน้าในทุกด้าน ทั้งด้านการดูแลรักษาสุขภาพ ความปลอดภัยด้านโภชนาการ การวางรากฐานการอ่านที่เข้มแข็ง จะเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 และเป็นปัจจัยสำคัญของการแสวงหาความรู้ได้ตลอดชีวิต การส่งเสริมให้เด็กมีประสบการณ์ร่วมกับหนังสือตั้งแต่ปฐมวัย (0-6 ปี) เป็นช่วงวัยที่สมองพัฒนาสูงสุด กว่าร้อยละ 80 ของชีวิตมนุษย์ หากผู้ใหญ่ได้ช่วยเลือกสรรและสนับสนุน ส่งเสริมการอ่านหนังสือ เลือกหนังสือที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม สติปัญญา ทักษะการใช้ภาษา ลดภาวะถดถอยพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก (Learning Loss)  จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้เด็กเล็กเข้าถึงสื่อจอ สื่อออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลกระทบที่สำคัญ เช่น ปัญหาพัฒนาการด้านภาษา ทำให้เด็กพูดช้า เข้าใจความหมายแต่สื่อสารโดยใช้คำพูดไม่ได้ ปัญหาพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว อารมณ์รุนแรง ผลสืบเนื่องนอกจากมาตรการปิดสถานพัฒนาเด็กเล็กแล้ว ยังเกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองต่อการใช้สื่อจอ และการขาดสื่อและกระบวนการที่เหมาะสมในการพัฒนาศักยภาพ พัฒนาการและสมองของเด็กให้เติบโตสมวัย  ผลการสำรวจสถานการณ์ไอคิวและอีคิวของเด็ก ป.1 ทั่วประเทศโดยกรมสุขภาพจิต พบเด็กที่มีระดับสติปัญญาอยู่ในเกณฑ์บกพร่องหรือต่ำกว่าร้อยละ70 คิดเป็นร้อยละ 5.8 และพัฒนาการด้านภาษามีปัญหามากกว่าด้านอื่น ๆ สอดคล้องกับข้อมูล โครงการหนังสือเล่มแรก book start ที่ได้ดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2557 และโครงการพัฒนาศักยภาพประชากรไทย โดยคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่พบว่า การอ่านหนังสือให้ลูกฟังตั้งแต่อายุ 6 เดือน จนถึง 6 ปี มีผลต่อพฤติกรรมและพัฒนาการที่ดีของเด็กในทุก ๆ ด้าน วิธีการหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะด้านภาษาและพัฒนาการด้านอื่น ๆ ให้ดีขั้นได้ คือ การอ่านหนังสือกับลูก จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้านการพูด การสื่อสาร ทักษะด้านอื่น ๆ ของเด็กเล็ก ตลอดจนเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับผู้ปกครอง

    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กก่อนวัยเรียน ประกอบกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด ดำเนินการสานพลังขับเคลื่อนให้เกิด “สวัสดิการหนังสือเพื่อเด็กปฐมวัย” จึงจัดทำ “โครงการพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการพูด โดยใช้นิทานประกอบหุ่นมือ สำหรับเด็กอายุ 2 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลทุ่งกระบือ” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะการพูดของเด็ก ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ตลอดจนเสริมสร้างความรัก ความอบอุ่น ความผูกพันในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาด้านการพูดของเด็ก อายุ 2 ปี

 

2 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสารของเด็ก อายุ 2 ปี

 

3 เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยรักการอ่านหนังสือให้กับเด็กอายุ 2 ปี

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กอายุ 2 ปี มีพัฒนาการด้านการพูดเพิ่มขึ้น
      2. เด็กอายุ 2 ปี มีพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร   3. เด็กอายุ 2 ปี มีนิสัยรักการอ่านหนังสือ ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษาและการสื่อสาร
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2566 10:43 น.