กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข(กลุ่มพิชิตโรค)
วันที่อนุมัติ 13 พฤศจิกายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 131,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิเชียรสุขดี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลถ้ำทะลุ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.238,101.147place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (131,400.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียภาพรวมในตำบลถ้ำทะลุ ปี ๒๕๖๐ มีแนวโน้มของการระบาดของโรคไข้เลือดออกไม่พบอัตราป่วยตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงกรกฎาคม ๒๕๖๐ ซึ่งได้มีการควบคุมอย่างต่อเนื่อง จนทำให้อัตราป่วยลดลง และโรคมาลาเรียมีอัตราป่วย ๒,๓๔๐.๒๖ ต่อแสนประชากรซึ่งเกินอัตราป่วยที่กระทรวงกำหนดไม่เกิน๓๐๐ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์ในการจัดการปัญหาไข้เลือดออกและมาลาเรีย คือแก้ไขในจุดที่เป็นปัญหาก่อนที่จะมีการแพร่กระจายเชื้อ พร้อมด้วยมาตรการป้องกันควบคุมโรคล่วงหน้าเพื่อควบคุมเฝ้าระวังการระบาดอย่างต่อเนื่อง โดยให้ทุกหน่วยงานช่วยกันสร้างเสริมสภาพแวดล้อมในชุมชน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการระบาดของไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียให้ประชาชนตระหนักและมีส่วนร่วมในการป้องกันโรค โดยส่วนกลางสนับสนุนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเทคโนโลยีการปองกันควบคุมโรค เป้าหมายหลักในการดำเนินการ อยู่ที่อาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล และองค์กรค์ปกครองท้องถิ่น ช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์สูงสุดในการลดโรค คือช่วงเดือนพฤษภาคม ก่อนการระบาดและขยายผลต่อเนื่องถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งการระบาดของไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรีย จะอยู่ในช่วงขาลงตามวงรอบธรรมชาติ ตำบลถ้ำละลุได้ดำเนินงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคมาลาเรียแบบยั่งยืน โดยได้สนับสนุนให้ชุมชนให้ชุมชนเฝ้าระวังและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียไดดด้วยตนเอง เพื่อให้ชุมชนมีการพัฒนาศักยภาพ มีความเข้มแข็ง สามารถวิเคราะปัญหา วางแผน ดำเนินการแก้ไขและประเมินผลการดำเนินการได้ด้วยตนเอง ซึ่งสามารถดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้ระดับหนึ่ง แต่ในพื้นที่ทีไข้เลือดออกจำเป็นต้องมีมาตรการดำเนินการที่เข้มแข็ง เพื่อเร่งรัดการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียโดยเฉพาะในระดับอำเภออย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดกลยุทธ เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน สร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินการลดแหล่งเพาะพันธู์ยุงลายและทำลายตัวเต็มวัย เพื่อตัดวงจรชีวิตพาหะนำโรคให้ลดลงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโรคไข้มาราเลียในระดับอำเภอได้ ดังนั้น ทีมอาสาสมัครสาธารณสุข โดย กลุ่มพิชิตโรคตำบลถ้ำทะลุ ได้เห็นความสำคัญของการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคติดต่อในชุมชนทรวมทั้งมีระบบควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดอัตราการเกิดโรคติดต่อในชุมชนและเสริมสร้างคามเข้มแข็งในการดำเนินงานควบคุมโรคโดยภาคประชากร จึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคติดต่อในชุมชน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในชุมชน ๒. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้มาลาเรียในชุมชน ๓. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานควบคุมโรคภาคประชาชน

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐ ต่อ แสนประชากร ๒. อัตราปวยด้วยโรคไข้มาลาเรียไม่เกิน ๓๐๐ ต่อแสนประชากร ๓. ร้อยละ ๑๐๐ ของหลังคาเรือนได้รับการพ่นหมอกควัน/สารเคมีกำจัดยุง (๑ครั้ง/๔เดือน)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดจ้างทีมพ่นหมอกควันและพ่นสารเคมีกำจัดยุง ๒. ควบคุมแหล่งเพราะพันธ์ยุง ๓. ชุบมุ้งและแจกมุ้ง ๔. เจาะเลือดตรวจคัดกรองค้นหาเชื้อเร็ว ๕. แจกยาทากันยุงบ้านที่มีผู้ป่วย/แจกทรายอเบท ๖. พัฒนาทีมควบคุมโรคระดับตำบล ( SRRT) ทบทวนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชากรในพื้นที่ตำบลถ้ำทะลุ มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกและมาลาเรียและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานควบคุมโดยภาคประชาชน ร่วมทั้งชุมชนมีระบบควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้โรคติดต่อในชุมชนลดลงได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 พ.ย. 2560 10:02 น.