กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม


“ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566 ”

ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ

ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566

ที่อยู่ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3356-1-02 เลขที่ข้อตกลง 15/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 66-L3356-1-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 13,050.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 60 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

กรมควบคุมโรค เชิญชวนประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อลดจำนวนกลุ่มเสี่ยงไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย และไม่เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงที่เกิดจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต หากไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงจะกลายเป็นกลุ่มป่วย จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปี 2566 จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2 แสนคน และผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี 2565 จำนวน 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 1.5 แสนคน ในส่วนของการคัดกรองผู้ป่วยรายใหม่ ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม จากการคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในปี 2566 เป้าหมายประชากร 35 ปีขึ้นไป คัดกรองโรคเบาหวาน จำนวน 2,101 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,866 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน จำนวน 382 คน คิดเป็นร้อยละ 20.47 และเป้าหมายประชากรคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,681 คน ได้รับการคัดกรองทั้งหมด 1,436 คน พบกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 302 คน คิดเป็นร้อยละ 21.03 ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม มุ่งหวังเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ลดอัตราป่วยและลดภาวะแทรกซ้อน จึงต้องมีความร่วมมือกันจากทุกเครือข่ายในการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลของการดำเนินงาน จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดอัตราการป่วย อัตราตายและภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  2. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดอบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 1 ผ่านกลุ่ม Line
  3. ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 2 ผ่านกลุ่ม Line
  4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  5. ประชุมสรุปประเมินผล

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
2.กลุ่มเสี่ยงสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น
3.กลุ่มเสี่ยงมีผลการตรวจระดับน้ำตาลและค่าความดันโลหิตลดลง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดอบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

วันที่ 9 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง - กลุ่มเสี่ยงรับรู้และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมได้รับรู้สถานะสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต - ให้กลุ่มเสี่ยงทำแบบสอบถามจำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง - อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตาม 3อ 2ส - การให้ความรู้เรื่องการเจาะเลือดปลายนิ้ว การวัดความดันโลหิต การอ่านค่าและแปรผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.กลุ่มเป้าหมายให้ความร่ับรู้และให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการ 2.กติการ่วมกันการทำตามกติกา (ส่งเสริมการออกกำลังกาย ,ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดหวานมันเค็ม ,ส่งเสริมการกินผักเพิ่มขึ้น) 3.มีความรู้ในการใช้เครื่องมือและสามารถรายงานผลได้ 4.มีแผนการติดตามพฤติกรรมสุขภาพ 5.มีช่องทางการรายงานผลผ่านกลุ่ม Line

 

0 0

2. ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 1 ผ่านกลุ่ม Line

วันที่ 23 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวิธีการออกกำลังกาย โดยจะให้บันทึกเป็นรายสัปดาห์ โดยจะติดตามสัปดาห์ที่ 3 ผ่านกลุ่ม Line

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดตามพฤติกรรมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ผลลัพธ์

 

0 0

3. ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 2 ผ่านกลุ่ม Line

วันที่ 5 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากแบบบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ น้ำหนัก ส่วนสูง BMI รอบเอว ค่าระดับความดันโลหิต ค่าระดับน้ำตาลในเลือด และวิธีการออกกำลังกาย โดยจะให้บันทึกเป็นรายสัปดาห์ โดยจะติดตามสัปดาห์ที่ 3 ผ่านกลุ่ม Line

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดตามพฤติกรรมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่ผลลัพธ์

 

0 0

4. ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

วันที่ 12 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

วัดค่าระดับความดันโลหิตและตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการบันทึกสมุดบันทึกพฤติกรรมสุขภาพ เรื่อง การปฏิบัติการออกกำลังกาย ปรับเปลี่ยนการลดหวานมันเค็ม กลุ่มเสี่ยงทำแบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ สรุปผลและคืนข้อมูลให้กับกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับรู้ถึงภาวะสุขภาพ หลังเข้าร่วมโครงการ ได้บุคคลต้นแบบในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 12 คน ค่าระดับน้ำตาลในเลือดและค่าระดับความดันโลหิตลดลง กลุ่มเสี่ยงเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง

 

0 0

5. ประชุมสรุปประเมินผล

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมบุคคลต้นแบบ 12 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 8 คน รวมเป็น 20 คน ร่วมประชุมเพื่อติดตามประเมินผลผลิต ผลลัพธ์พร้อมความสำเร็จจากบุคคลต้นแบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ลดลงร้อยละ 20 บุคคลต้นแบบ (คืนข้อมูลบุคคลต้นแบบแก่ชุมชน)

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง (กลุ่มเป้าหมาย 382 คน คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงสูง 30 คน ลดลงจากความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 6 คน)
20.47 20.00

 

2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลง (กลุ่มเป้าหมาย 302 คน คัดเลือกกลุ่มเสี่ยงสูง 30 คน ลดลงจากความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 6 คน)
21.03 20.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (2) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดอบรมเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (2) ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 1 ผ่านกลุ่ม Line (3) ประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติตามแผน ครั้งที่ 2 ผ่านกลุ่ม Line (4) ติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง (5) ประชุมสรุปประเมินผล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง รพ.สต.บ้านนาท่อม ประจำปี 2566 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3356-1-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายศักดิ์ชาย โรจชะยะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด