กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ใส่ใจโภชนาการ (ประเภทที่ 3)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซอย 7
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,440.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโสภณ แสงประดับ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.953,100.03place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โภชนาการเป็นเรื่องของการกิน "อาหาร" ที่ร่างกายเรานำ "สารอาหาร" จากอาหารไปใช้ประโยชน์ และดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ เด็กในวัยก่อนเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยรากฐานของพัฒนาการ การเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นวัยที่มีความสำคัญที่สุดในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้องได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมการพัฒนารอบด้าน อาหารและโภชนาการที่ดี จึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กวัยนี้ ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัยจากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกิน  การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุที่สำคัญจากการไม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่า    ทางโภชนาการที่ครบถ้วน ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร นอกจากนั้นยังเกิดจากพฤติกรรมการกินของเด็กที่มีผลต่อการกำหนดนิสัย และบุคลิกภาพของเด็กในอนาคต ดังนั้น ผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ จึงต้องมีความรู้  ความเข้าใจเรื่อง การดูแลพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างเหมาะสม มีความรู้เรื่องเทคนิคการประกอบอาหารให้น่ารับประทาน ผู้ประกอบการอาหาร และผู้ปกครองควรได้เรียนรู้เกี่ยวกับการประกอบอาหาร เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก ให้เด็กได้รับประทานอาหารที่ดีมีคุณค่าทางทางโภชนาการ และได้รับปริมาณอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ ทำให้มีโภชนาการดี นำไปสู่การมีสุขภาพดีมีพัฒนาการสมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซอย ๗ จึงจัดทำโครงการหนูน้อยพัฒนาการสมวัย ใส่ใจโภชนาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖ เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซอย ๗ ได้นำความรู้ไปใช้ในการจัดอาหารประจำวันสำหรับเด็กให้มีความเหมาะสมและถูกหลักโภชนาการ ทำให้เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก บ้านซอย ๗ ได้มีน้ำหนักส่วนสูงตามเกณฑ์ และมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการที่ดีและมีเทคนิคในการประกอบอาหารให้กับเด็กได้เหมาะสม ข้อที่ 2. เพื่อให้ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร สามารถจัดเมนูอาหารแก่เด็กเล็กได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมตามวัย ข้อที่ ๓. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครอง และชุมชนในการดูแลภาวะทุพโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซอย ๗
  1. ผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบอาหารมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและสามารถประกอบอาหารให้กับเด็กได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  2. ผู้ปกครอง ครู ผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหาร สามารถจัดเมนูอาหารแก่เด็กถูกต้องตามหลักโภชนาการ
  3. ครู ผู้ปกครอง และชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแลภาวะโภชนาการของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านซอย 7 ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามวัย
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 เม.ย. 2566 13:57 น.