กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสายใยจากแม่สู่ลูก
รหัสโครงการ 66-L2532-1-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เงินบำรุงสถานีอนามัยกะลูบี
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 18,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ รพ.สต.กะลูบี
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.มาโมง
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.กะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
การตั้งครรภ์เป็นระยะพัฒนาการที่สำคัญของครอบครัว โดยเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรก ซึ่งการตั้งครรภ์ทำให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในด้านกายวิภาค ชีวเคมี และสรีรวิทยา การเปลี่ยนแปลงนี้ดำเนินไปตลอดการตั้งครรภ์และร่างกายจะมีการปรับตัวอย่างมากมายกับ การเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนสัมพันธ์กับปัจจัยต่างๆ เช่น สภาพแวดล้อม เพื่อเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และเตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด นอกจากนี้หญิงตั้งครรภ์ ยังต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางจิตสังคม เช่น บทบาทหน้าที่ ภาพลักษณ์ สัมพันธภาพกับครอบครัว เป็นต้นซึ่งเป้าหมายสูงสุดของงานอนามัยแม่และเด็กที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัย โดยมีกลวิธีที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้แก่ การให้บริการตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และขณะตั้งครรภ์ การดูแลขณะเจ็บครรภ์คลอด การประเมินภาวะเสี่ยงของมารดาขณะตั้งครรภ์จะสามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทั้งที่จะเกิดแก่มารดาและทารกได้
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีรับผิดชอบ ๔ หมู่บ้านคือ หมู่ที่ ๑ บ้านกะลูบี หมู่ที่ ๒ บ้านยาเด๊ะ หมู่ที่ ๕ บ้านไอจือเราะหมู่ที่ ๗ บ้านไอปูลง จากการวิเคราะห์ข้อมูลการอนามัยของแม่และเด็ก ๓ ปีย้อนหลังพบว่าการอนามัยแม่และเด็กอยู่ในเกณฑ์ต่ำจากข้อมูลสถิติย้อนหลัง ๔ ปี ในปี ๒๕๖๒ ฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๗ ปี ๒๕๖๓ ฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๘๑ และปี ๒๕๖๔ ฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๗๙.๓๙ ปี ๒๕๖๕ ฝากครรภ์ก่อน๑๒ สัปดาห์ ร้อยละ ๙๓.๐๒ทั้งนี้เนื่องจากมารดามีพฤติกรรมอย่างเดิมๆ ประกอบกับแม่ขาดความรู้ความเข้าใจและประสบกับปัญหาในเรื่องต่าง ๆ เช่น การคลอดก่อนกำหนด วิธีการคลอด น้ำหนักทารกแรกเกิด และการตายของมารดาและทารกปริกำเนิด ปัญหาการตั้งครรภ์เหล่านี้เป็นผลมาจากการตั้งครรภ์ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม ภาวะเสี่ยงต่างๆและ การดูแลสุขภาพตนเองขณะตั้งครรภ์ ทั้งในเรื่องการรับบริการฝากครรภ์ที่ครบตามเกณฑ์ ด้านโภชนาการ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค การออกกำลังกาย และ การพักผ่อนเพื่อผ่อนคลาย รวมไปถึงการดูแลสุขภาพจิตใจและการปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจึงจำเป็นต้องเร่งรัดการพัฒนากลยุทธ์การอนามัยแม่และเด็กเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคและลดอัตราป่วยของแม่และลูก ในการดำเนินการเมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand) เป้าหมายการพัฒนาสุขภาพของสตรีมีครรภ์ซึ่งมีเป้าหมายร้อยละ ๙๐ หญิงมีครรภ์ได้รับบริการดูแลก่อนคลอดและคลอดตามเกณฑ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีจึงจัดทำโครงการส่งเสริมอนามัยสายใยจากแม่สู่ลูกเพื่อจะก่อให้เกิดคุณภาพการบริการที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์ดำเนินชีวิตได้เหมาะสมกับภาวะสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตและดูแลตนเองให้ดำเนินไปได้ภายใต้ความผันแปรของช่วงพัฒนาการเพื่อคุณภาพชีวิตของมารดาและทารกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 มี.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 โครงการส่งเสริมสายใยจากแม่สู่ลูก 0 18,500.00 -
รวม 0 18,500.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ ๑.หญิงมีครรภ์ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบีได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ๒.ลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัยและหญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ ๓.อาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ช่วยกันค้นหา ติดตามและกระตุ้นให้หญิงตั้งครรภ์มารับบริการ ฝากครรภ์ ๔.คู่สมรสตระหนักถึงการฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์และมาฝากครรภ์ทันที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 เม.ย. 2566 11:09 น.