กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนชุมชนบ้านกลาง
รหัสโครงการ L7886/66/2/12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง ชุมชนบ้านกลาง
วันที่อนุมัติ 23 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 สิงหาคม 2566 - 5 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,450.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวปัทมา หลังจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 10,450.00
รวมงบประมาณ 10,450.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนดนโยบายการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศตามนโยบายรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26)  ณ เมืองกลาสโกลว์สหราชอาณาจักร ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ว่าที่ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเต็มที่ทุกวิถีทางเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี พ.ศ.2608 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้ให้จังหวัดขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 และได้ขับเคลื่อนการจัดการขยะต้นทางโดยการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้ครบทุกครัวเรือน โดยได้ขึ้นทะเบียนโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเทศไทย ตามโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยมีระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2569 นั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนบ้านกลาง จัดทำโครงการครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน เพื่อเป็นการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ช่วยลดปริมาณขยะที่จะไปถึง    ณ สถานที่กำจัด อีกทั้งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะ กรณีที่ไม่มีการคัดแยกขยะ ขยะเปียกได้รับการจัดการด้วยการเทกอง/หลุมฝังกลบ ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กรณีมีการคัดแยกขยะ ขยะเปียกได้รับการจัดการด้วยถังขยะเปียก จะไม่เกิดการปล่อยก๊าซมีเทน แต่คงมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลง สามารถลดโลกร้อนจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้  โดยขยะอินทรีย์เมื่อเศษอาหารย่อยสลายเป็นปุ๋ย เมื่อครบเวลาสามารถตักปุ๋ยออกจากถัง นำไปใช้ประโยชน์ ใส่บำรุงต้นไม้หรือแปลงผักได้ โครงการครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือนเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการคัดแยกต้นทาง สามารถนำไปใช้ประโยชน์และนำไปกำจัดตามหลักสุขาภิบาล เพื่อคุณภาพชีวิตที่ของประชาชนได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน

-ชุมชนมีความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยละ 90

40.00 1.00
2 เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักการแก้ไขปัญหาขยะ และส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือนจากต้นทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน

ประชาชนที่เข้ารับการอบรม ตระหนักการแก้ไขปัญหาขยะ ร้อยละ 90

40.00 1.00
3 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่น ๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ประชาชนมีความรู้ในการจัดการและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยในครัวเรือนอย่างน้อยร้อยละ 90

40.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,450.00 2 10,450.00
1 - 31 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้เรืองการจัดการขยะอินทรีย์ในครัวเรือน 0 8,050.00 8,050.00
1 - 31 พ.ค. 66 การจัดทำขยะอินทรีย์ให้ครัวเรือนต้นแบบในชุมชน 0 2,400.00 2,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย และรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในครัวเรือน .2 ส่งเสริมให้ประชาชน ตระหนักการแก้ไขปัญหาขยะ และส่งเสริมการคัดแยกขยะครัวเรือนจากต้นทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน 3 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ลดการปนเปื้อนขยะเปียกกับของเหลือใช้อื่น ๆ สร้างรายได้เพิ่มจากการคัดแยกขยะ ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยการใช้ปุ๋ยหมักที่เกิดจากถังขยะเปียก เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ ชุมชน ตลอดจนลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก .4 ลดค่าเก็บขนขยะ และค่ากำจัดขยะมูลฝอย .5 มีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะอินทรีย์ภายในครัวเรือน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 มี.ค. 2566 00:00 น.