กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการสำหรับเด็กใน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรัศมี หะยีเจะนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลดอนรัก อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 65 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุระหว่าง 0-6 ปี การเจริญเติบโตของสมองเป็นไปอย่างรวดเร็วจนถึงอายุ 6 ปีการเจริญเติบโตของสมองจะเร็วมากถึง 80 เปอเซ็นต์ ของผู้ใหญ่ การเจริญเติบโตจะเห็นได้ชัดเจนทางร่างกายทั้งน้ำหนักและส่วนสูงโดยเฉพาะน้ำหนักเมื่อแรกเกิดหนักประมาณ 3 กิโลกรัมต่อมาจะเพิ่มเป็น 4 เท่าเมื่ออายุ 2 ปีส่วนความสูงแรกเกิดยาวประมาณ 50 เซนติเมตรและจะเพิ่มเป็น 100 เซนติเมตรเมื่ออายุครบ 4 ปี การเติบโตดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่างๆอย่างครบถ้วนที่มีคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอและพอเหมาะสม และภาวะทุพโภชนาการในเด็กอายุ 0-5 ปี ไม่เกินร้อยละ 7 ซึ่งพัฒนาการทางด้านร่างกายนี้อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา อารมณ์ จิตใจ และสังคมของเด็กตามมา จำเป็นต้องมีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัยในทุกด้านของชีวิต อาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน จึงเป็นการวางรากฐานของชีวิตที่ดีสำหรับเด็กในวัยนี้และระยะต่อไป การขาดสารอาหารในระยะนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสมองมากที่สุดเพราะทำให้เด็กมีสติปัญญาการเรียนรู้ด้อยลงร่างกายแคระแกรน ไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย มีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าเด็กวัยอื่น พ่อแม่จึงต้องให้ความสำคัญต่อการเลือกอาหารให้เด็กในวัยนี้อย่างถูกต้องและเพียงพอกับความต้องการตามวัยและที่สำคัญต้องมีความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของเด็กด้วย โภชนาการในเด็กเป็นสิ่งสำคัญ ควรมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการอาหารที่จัดให้ควรเป็นอาหารที่เหมาะสมกับวัย ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพียงพอกังความต้องการและตรงกับลักษณะนิสัยของเด็ก โดยเน้นอาหารหลัก 5 หมู่ อาหารเสริม เนื่องจากเด็กก่อนวัยเรียนมีความต้องการพลังงานและสารอาหารในปริมาณที่ค่อนข้างสูงจากการที่ร่างกายเด็กกำลังเจริญเติบโต หากได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย อาจทำให้เด็กเกิดปัญหาทางโภชนาการขึ้น ซึ่งปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อย ได้แก่ โรคขาดโปรตีนและพลังงาน โรคขาดสารอาหาร ไอโอดีน โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโรคขาดวิตามินเอ ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่ป้องกันได้โดยการให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและปลอดภัยต่อการบริโภค ตลอดจนมีปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายร่วมกับการให้โภชนาการศึกษาแก่พ่อแม่ และการเฝ้าระวังทางโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ทุก 3 เดือน แล้วนำน้ำหนัก ส่วนสูง ไปเทียบกับกราฟมาตรฐาน ซึ่งเป็นกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กไทย จะเห็นได้ว่าโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก เด็กจึงควรได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการอย่างถูกต้อง เพื่อให้มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมกับวัย สามารถเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพได้ในอนาคต ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรัก ร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลดอนรัก จึงได้คิดส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการของเด็กให้มีความสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตตามวัยและมีพัฒนาการครบทั้ง 4 ด้าน เพื่อจะได้มีสุขภาพอนามัยที่ดีและมีพัฒนาการสมวัย จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและพัฒนาการสำหรับเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลดอนรักขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารกลางวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโภชนาการในเด็กอย่างถูกต้อง

ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็กผู้ประกอบการอาหารกลางวัน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 65 คน เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมจัดอบรมครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองเด็ก และผู้ประกอบอาหารกลางวัน 0 15,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กและผู้ประกอบอาหารกลางวันมีความรู้เรื่องโภชนาการในเด็ก 2.เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีภาวะโภชนาการที่ดีปราศจากโรคขาดสารอาหาร 3.เด็กมีพัฒนาครบทั้ง 4 ด้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2566 00:00 น.