กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเต้นบาสโลปเพื่อสุขภาพ ประจำปี 2566
รหัสโครงการ 66-L8428-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนรักษ์สุขภาพบ้านนาท่าม
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 26,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกชามาศ เฉ่งไล่
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบในหลายด้าน ถือเป็นภัยเงียบระดับชาติและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข กลุ่มโรคดังกล่าวนี้มีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัย ข้อมูลองค์การอนามัยโลกระบุประชากรทั่วโลกเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร้อยละ 63 และที่สำคัญเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนาถึงร้อยละ 80 ขณะที่คนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรคนี้สูงกว่าอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของประชากรทั้งโลกถึงร้อยละ 10 และสูงกว่าทุกประเทศในโลก การดำเนินการงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อในปัจจุบัน ได้มีหลากหลายแนวคิดการดำเนินการ เช่น แนวทางการปฏิบัติงานตามองค์การอนามัยโลก แนวทางการปฏิบัติงานของกระทรวงสาธารณสุขตามคู่มือการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพใช้หลัก 3อ.2ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากการสำรวจชุประชาชน หมู่ที่ 1 3 6 และ 7 ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่สนใจการการออกกำลังกายและจากการคัดกรองการบริโภคหวาน มัน เค็ม ในครัวเรือนด้วยวาจา พบว่า ในแต่ละครัวเรือนเน้นการปรุงอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพแก่ประชาชนและการออกกำลังกาย ดังนั้นชมรมรักษ์สุขภาพบ้านนาท่าม ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษาหรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการปรับปรุงส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการเต้นบาสโลปเพื่อสุขภาพร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามใต้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทางสุขภาพในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารและนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง ร้อยละ 80
80.00 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยลดหวาน มัน เค็ม ของประชาชน
  1. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ได้ ร้อยละ 60
80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,750.00 0 0.00
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 1. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพ (ป้องกันโรค) 1.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน-ความดัน 1.2 ให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม 1.3 ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องการออกกำลังกาย ดัชนีมวลกาย (BMI) รอบเอว ความดัน ชีพจร 0 6,650.00 -
1 เม.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 2. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพการออกกำลังกาย 2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายเต้นการเต้นบาสโลป 2.2 แบบประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรม 2.3 สาธิตการออกกำลังกายเต้นบาสโลป 2.4 กิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการเต้นบาสโลปเพื่อสุขภาพ ต่อเนื่องสั 0 20,100.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร สามารถนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้และสามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้
  2. ประชาชนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดหวาน มัน เค็ม ซึ่งเป็นการป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้
  3. ประชาชนมีการออกกำลังกาย ทำให้มีกิจกรรมร่วมกันด้านสุขภาพในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 00:00 น.