กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
รหัสโครงการ 66-L8428-03-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
วันที่อนุมัติ 7 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2566
งบประมาณ 16,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายจวน ประภา
พี่เลี้ยงโครงการ กองทุน สปสช.อบต.นาท่ามใต้
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาท่ามใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 11 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากคำนิยามว่าสังคมสูงวัย คือ สังคมที่มีสัดส่วนของผู้สูงอายุหรือประชากรที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ได้เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ประเทศไทยก็กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ คาดว่าสังคมไทยกำลังจะเข้าสังคมผู้สูงอายุในปี 2568 โดยมีประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 10 หรือมากกว่า 7 ล้านคน สัดส่วนของจำนวนผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรดังกล่าว ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง หรือภาระโดยรวมที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อัตราส่วนภาระพึ่งพิงของประชากรวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น อาจจะนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากมีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย ปัญหาด้านสุขภาพที่พบได้บ่อยๆในผู้สูงอายุ เช่น โรคเรื้อรัง สมองเสื่อม การหกล้ม เป็นต้น ผู้สูงอายุเป็นวัยที่พึ่งพาตนเองได้น้อยลง มีภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยลง มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรและระบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมขั้นพื้นฐานสำหรับผู้สูงอายุ การสร้างหลักประกันและให้ความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึงและตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง เน้นการเสริมสร้างศักยภาพ และพัฒนาเครือข่ายระบบสุขภาพภาคประชาชนในการป้องกัน การฟื้นฟู สมรรถภาพและคุ้มครองด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ถือเป็นบุคคลจิตอาสาให้ความช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน โดยอสม.จะช่วยดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนให้มีสุขภาพแข็งแรง และคุณภาพชีวิตที่ดี ให้การดูแลที่ถูกต้อง การเฝ้าระวังสุขภาพผู้สูงอายุ ส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมตามสถานะ ความช่วยเหลือและต้องดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง อสม.เพื่อส่งต่อผู้สูงอายุหรือให้ความช่วยเหลือให้เหมาะสมตามอาการ การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว เป็นการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังมีสุขภาพดี ไม่เจ็บป่วยและยืดระยะเวลาของการมีสุขภาพดีให้ยาวนานที่สุด อาจแบ่งผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 กลุ่ม ตามกลุ่มศักยภาพความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน โดยใช้แบบประเมินดัชนีบาร์เทล เอดีแอล ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ติดสังคม พึ่งพาตนเองได้ กลุ่มที่ 2 ติดบ้าน ช่วยเหลือตนเองได้บ้าง บางส่วนต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันบ้าง กลุ่มที่ 3 ติดเตียง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วย ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ต้องการความช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวันและการดูแลฟื้นฟู สุขภาพต่อเนื่อง ชมรมผู้สูงอายุตำบลนาท่ามใต้ตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการดูแลผู้สูงอายุ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาตำบลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นภาระต่อครอบครัวและสังคมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
  1. จิตอาสาได้ให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียง และผู้มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 100
80.00 80.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม
  1. จิตอาสาช่วยดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
80.00 80.00
3 ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ
  1. ติดตามส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 95
80.00 80.00
4 ข้อที่ 4. เพื่อส่งเสริมชมรมผู้สูงอายุให้ผ่านเกณฑ์คุณภาพ
  1. ติดตามการส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละ 95
80.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 30 ก.ย. 66 3. การดำเนินงานประชุมใหญ่และจัดกิจกรรมในชมรมผู้สูงอายุ 3.1 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ 3.2 ตรวจสุขภาพคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ 3.3 ดำเนินตามกิจกรรมชมรม 3.4 กิจกรรมเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ เพื่อนช่วยเพื่อนและกิจกรรมจิตอาสาในชุมชนดูแลสิ่งแวดล้อม 0 3,600.00 -
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 1. ประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบตำบลและคณะทำงานชมรมผู้สูงอายุ 0 1,250.00 -
1 พ.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 2. อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 2.1 อบรมฟื้นฟูความรู้แกนนำ อสม. ในการส่งเสริมและคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 2.2 ตรวจสุขภาพคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ ร้อยละ 95 2.3 ส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพตามระบบส่งต่อ ร้อยละ 100 2.4 ติดตามการดูแ 0 11,150.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้ตรวจสุขภาพและมีความรู้ เจตคติ ทักษะและการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการดูแลตนเองได้ถูกต้อง
  2. ชุมชนโดย อสม.และผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้สามารถดูแลผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงและผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงได้
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการส่งต่อเนื่องพบเจ้าหน้าที่และแพทย์ได้ทันท่วงที
  4. มีเครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวแบบมีส่วนร่วม
  5. ชมรมผู้สูงอายุผ่านเกณฑ์คุณภาพได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2566 00:00 น.