กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง ตำบลทุ่งตำเสา
รหัสโครงการ 66-L5275-(10)1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 24 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 114,333.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาลัชฎาวรรณ สุวรรณะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันยุงเป็นพาหะนำโรคอันดับต้นๆ เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้ซิกา ไข้ชิกุนคุนยา เป็นต้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ในปี 2566 (1 ม.ค.- 1 ก.พ.) พบผู้ป่วย 2,683 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.05 ประชากรแสนคนเสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี (11.63%) 15-24 ปี (7.32%)0-4 ปี (5.23%) ตามลำดับ พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง 996 ราย (5.87%) กรุงเทพฯ 649 ราย (11.68%) ภาคใต้ 625 ราย (6.59%) ภาคเหนือ 296 ราย (2.40%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117 ราย (0.54%) จำนวนผู้ป่วยในช่วงนี้ มากกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันถึง 5 เท่า โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 137 ราย และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือน 1 มกราคม – 15 มีนาคม2566 มีจำนวน 5 ราย และคาดการณ์ว่าปีนี้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิตค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ดังนั้นการดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค จึงควรดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ ประกอบด้วย มาตรการควบคุมโรคและการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในสถานที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ บริเวณบ้านเรือนในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิด รวมถึงการเตรียมความพร้อมทรัพยากรในการควบคุมโรค เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันโรคโดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าฤดูฝนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออกซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงตำบลทุ่งตำเสา เพื่อแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับ ไปสู่การแก้ปัญหาเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการป้องกัน ควบคุม การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้รับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่ติดต่อโดยยุง
  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ครอบคลุมทั้ง 10 หมู่บ้าน
  3. ประชาชนและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรค ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 60
  4. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการป้องกันโรคอย่างน้อย 1 เรื่อง
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 114,333.00 0 0.00
3 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา 0 0.00 -
24 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา 0 13,320.00 -
24 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา 0 70,750.00 -
24 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง 0 6,257.00 -
24 เม.ย. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรมนวัตกรรมธรรมชาติ/ภูมิปัญญา พื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 7,540.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรมสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ครูอนามัยของแต่ละโรงเรียน นักเรียน 0 16,466.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง
  2. ประชาชนได้รับความรู้ เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง
  3. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตรได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2566 09:08 น.