กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง ตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา

ตำบลทุ่งตำเสา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันยุงเป็นพาหะนำโรคอันดับต้นๆ เนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคร้ายต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้ซิกา ไข้ชิกุนคุนยา เป็นต้น โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ในปี 2566 (1 ม.ค.- 1 ก.พ.) พบผู้ป่วย 2,683 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 4.05 ประชากรแสนคนเสียชีวิต 1 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด 3 อันดับ คือ 5-14 ปี (11.63%) 15-24 ปี (7.32%)0-4 ปี (5.23%) ตามลำดับ พื้นที่ที่พบอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคกลาง 996 ราย (5.87%) กรุงเทพฯ 649 ราย (11.68%) ภาคใต้ 625 ราย (6.59%) ภาคเหนือ 296 ราย (2.40%) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117 ราย (0.54%) จำนวนผู้ป่วยในช่วงนี้ มากกว่าปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันถึง 5 เท่า โดยสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดสงขลาตั้งแต่วันที่ 1 – 30 มกราคม 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 137 ราย และสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาพบผู้ป่วยไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือน 1 มกราคม – 15 มีนาคม2566 มีจำนวน 5 ราย และคาดการณ์ว่าปีนี้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดมากขึ้นตามวงรอบของปีที่จะระบาด
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิตค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ดังนั้นการดำเนินมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค จึงควรดำเนินการครอบคลุมทุกพื้นที่ ประกอบด้วย มาตรการควบคุมโรคและการจัดการแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในสถานที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ บริเวณบ้านเรือนในชุมชน โรงเรียน วัด มัสยิด รวมถึงการเตรียมความพร้อมทรัพยากรในการควบคุมโรค เพื่อให้ประชาชนตื่นตัวในการป้องกันโรคโดยเฉพาะในช่วงก่อนเข้าฤดูฝนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด
เทศบาลเมืองทุ่งตำเสา จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรคไข้เลือดออกซึ่งจะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมีแนวโน้มสูงขึ้น จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงตำบลทุ่งตำเสา เพื่อแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับ ไปสู่การแก้ปัญหาเชิงรุกโดยการมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเองโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเฝ้าระวังการป้องกัน ควบคุม การเกิดโรคที่มียุงเป็นพาหะในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
  1. ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกได้รับการพ่นสารเคมีกำจัดยุงเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคที่ติดต่อโดยยุง
  2. มีสื่อประชาสัมพันธ์ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา ครอบคลุมทั้ง 10 หมู่บ้าน
  3. ประชาชนและนักเรียน มีความรู้ความเข้าใจเรื่องการป้องกันโรค ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 60
  4. นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการป้องกันโรคอย่างน้อย 1 เรื่อง
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 24/04/2023

กำหนดเสร็จ 29/09/2023

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมให้ความรู้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้แก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

บูรณาการร่วมกับกิจกรรมการลงพื้นที่ของเทศบาลเมืองทุ่งตำเสา เช่น กิจกรรมเทศบาลพบ   ปะประชาชน การให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ครัวเรือน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อกิจกรรม
จัดเตรียมสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ 1.2 x 2.4 เมตร      - ผลิตสื่อแผ่นพับให้ความรู้ จำนวน 1 เรื่อง      - ค่าจ้างเหมายิงโครงป้ายไวนิล

  • ค่าจ้างทำป้ายไวนิลให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก ติดตั้งในชุมชน/หมู่บ้าน ขนาด 1.2 x 2.4 เมตร 432.-บาท x 10 ผืนเป็นเงิน 4,320.-บาท

  • ค่าจ้างทำสื่อแผ่นพับขนาด เอ4 1,000 ใบ x 8 บาท เป็นเงิน 8,000.- บาท -ค่าจ้างเหมายิงโครง 10 ชิ้น x 100 บาท   เป็นเงิน  1,000.-บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13320.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดซื้อวัสดุ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค  เช่น ทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย,โลชั่นทาผิวไล่ยุง,สเปรย์พ่นกำจัดยุงชนิดกระป๋อง,และสารเคมีฉีดพ่นกำจัดยุง เป็นต้น - ค่าจัดซื้อทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย 14 ถัง   (500  ซอง/ถัง) x 3,000.-    เป็นเงิน 42,000.-บาท
- ค่าจัดซื้อโลชั่นทาผิวไล่ยุง 600 ซอง x 7 บาท 4,200.-บาท
- ค่าซื้อสเปรย์พ่นกำจัดยุงชนิดกระป๋อง 65 กระป๋อง x 70.- บาท เป็นเงิน 4,550.-บาท - น้ำยาฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุง 10 ขวด x 2,000 บาท เป็นเงิน 20,000.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถจัดชื้อวัสดุ เพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมโรค

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
70750.00

กิจกรรมที่ 4 จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่  (Big Cleaning)       - ทำสติกเกอร์โฟมแบบป้ายถือพร้อมด้าม       - น้ำดื่ม
      - ถุงดำ       - ถุงมือ       - ป้ายไวนิล 2.4 x 1.2 เมตร
- ค่าจ้างทำสติกเกอร์โฟมแบบป้ายถือพร้อมด้าม ขนาด 40 x 70 ซม. 150.- บาท   x 4  ชิ้น เป็นเงิน 600.- บาท
- ค่าน้ำดื่ม 5 บาท x 40 ขวด  x 10 ครั้ง  เป็นเงิน 2,000.- บาท -ค่าจัดซื้อถุงดำ 15 แพค x 95.- บาท เป็นเงิน 1,425.- บาท
-ค่าถุงมือ 9 กล่อง x 200 บาท   เป็นเงิน 1,800.- บาท
-ป้ายไวนิล 2.4 x 1.2 เมตร 432.- บาท x 1   ผืน เป็นเงิน 432.- บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 29 กันยายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุงร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่  (Big Cleaning)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6257.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมอบรมสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ครูอนามัยของแต่ละโรงเรียน นักเรียน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ครูอนามัยของแต่ละโรงเรียน นักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมสารวัตรปราบลูกน้ำยุงลาย ครูอนามัยของแต่ละโรงเรียน นักเรียน ชั้น ป.4 โรงเรียนละ 5 คน จำนวน 9 โรงเรียน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 2 โรงเรียน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 โรงเรียน รวมทั้งหมด 70 คน
- ค่าวิทยากร 600บาท x 3 ชม. เป็นเงิน 1,800.- บาท - ค่าอาหารว่าง 80 คน x 25 บาท เป็นเงิน 2,000.-บาท - ค่าปลอกแขน 60 คน x 70.-บาท เป็นเงิน 4,200.-บาท
- ป้ายไวนิล 2.4 x 1.2 เมตร ตารางเมตรละ  150.- บาท 432.-บาท x 13 ผืน (ติดตั้งในโรงเรียน)  เป็นเงิน 5,616.- บาท - ค่าปากกา 70 คน x ด้ามละ 10 บาท เป็นเงิน 700.- บาท
- ค่าสมุดจดบันทึก 70 คน x 20 บาท เป็นเงิน1,400.-บาท
- ป้ายเกียรติบัตร 10 โรงเรียน
  - ค่าทำป้ายเกียรติบัตรพร้อมกรอบ
3 ใบ x 200 บาท เป็นเงิน 600.-บาท 7 ใบ x 20 บาท เป็นเงิน 140.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้และวิธีการปราบลูกน้ำยุงลาย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16466.00

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมอบรมนวัตกรรมธรรมชาติ/ภูมิปัญญา พื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมนวัตกรรมธรรมชาติ/ภูมิปัญญา พื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมอบรมนวัตกรรมธรรมชาติ/ภูมิปัญญา  พื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออก
     - รุ่นที่ 1 อสม.แต่ละหมู่บ้านหมู่บ้านละ 4 คน      - รุ่นที่ 2 ประชาชนในพื้นที่ตำบลทุ่งตำเสาที่สนใจ   จำนวน 40 คน
-ค่าวิทยากร 600 บาท x 3 ชม. x 2 ครั้ง  เป็นเงิน 3,600.-บาท
- ค่าอุปกรณ์ในการทำ ทั้ง 2 รุ่น
-ตะไคร้หอม (แห้ง) 275 กรัม x 150.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 300.-บาท - ผิวมะกรูด (แห้ง) 275 กรัม x 150.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 300.-บาท - ชะลูด 110 กรัม x 100.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 200.-บาท - จันทร์ขาว 110 กรัม x 100.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 200.-บาท - กำยาน 90 กรัม x 120.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 240.-บาท - จันทร์เหนียว 17 กรัม x 100.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 200.-บาท - ค่าอาหารว่าง 50 x 25.-บาท x 2 ครั้ง เป็นเงิน 2,500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
24 เมษายน 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2566
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมได้รับความรู้และนวัตกรรมชาติ/ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7540.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 114,333.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง
2. ประชาชนได้รับความรู้ เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อโดยยุง
3. เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในรัศมี 100 เมตรได้


>