กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรปลอดโรค โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L5275-(10)1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
วันที่อนุมัติ 28 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เมษายน 2566 - 29 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 37,975.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุกิจ เถาถวิล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 เม.ย. 2566 29 ก.ย. 2566 37,975.00
รวมงบประมาณ 37,975.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ในภาคเกษตรกรรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบผู้มีรายได้น้อย แต่ทำงานหนักและลักษณะการทำงานมีความเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2562 มีผู้มีงานทำทั้งสิ้น 47.4 ล้านคน เป็นกลุ่มแรงงานนอกระบบ 22.1 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 57.6 และที่เหลือเป็นแรงงานในระบบ 17.2 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ42.4ซึ่งแรงงานนอกระบบมากกว่าครึ่งหนึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรมโดยมีจำนวนถึง 14.5 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ46.9 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรมีการใช้สารเคมีทางเกษตรอย่างแพร่หลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มีความสวยงาม ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หากมีการใช้ในปริมาณมาก ใช้ไม่ถูกวิธี ผู้ใช้ขาดการป้องกันตนเองขณะใช้งาน อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรังตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้นความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ดังนั้นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นความเสี่ยงสำคัญในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนังที่ไม่สวมถุงมือและรองเท้าบูทป้องกันขณะทำงาน สารเคมีการสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ การรับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีสารเคมีปนเปื้อนพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ใช้ถังภาชนะบรรจุสารเคมีที่รั่วซึม ฉีดพ่นสวนทิศทางลมทำให้เสื้อผ้าเปียกชุ่มสารเคมีโดยไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าที่ซึมเปื้อนทันที เป็นต้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ รับผิดชอบ 3 หมู่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ หมู่ที่ 4 บ้านนายสีและหมู่ที่ 6 บ้านนาแสนมีประชากรรวมทั้งสิ้น 4,987 คน เป็นวัยทำงาน(15-59ปี)จำนวน 3,529 คน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม จำนวน 2,164 คน คิดเป็นร้อยละ 65.71 ของวัยแรงงานทั้งหมด(ฐานจ้อมูล JHCIS รพ.สต.บ้านหูแร่) จากการสำรวจการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรมในครัวเรือน มีครัวเรือนในเขตรับผิดชอบทั้งหมด 1,316 ครัวเรือน โดยมีการสำรวจครัวเรือนจำนวน 829 ครัวเรือน พบว่าเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีทางการเกษตร 568 ครัวเรือน โดยเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีเอง 178 ครัวเรือน(ฐานข้อมูลโปรแกรมออนไลน์) การตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบ โคลีนเอสเตอเลส(Cholinesterase reactive paper) เป็นเครื่องมือในการคัดกรองความเสี่ยงในเกษตรกรที่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บอเนต เพื่อคัดกรองว่าในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีของเกษตรกรนั้น เกษตรกรมีความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระดับใด แต่อาจยังไม่ส่งผลให้เกิดอาการแพ้พิษสารเคมีได้ ซึ่งจากการผลคัดกรองความเสี่ยงจะทำให้เกษตรกรเกิดความตระหนัก และนำไปสู่การแนะนำให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การทำเกษตรอินทรีย์ หรือมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและสามารถป้องกันตนเองขณะใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช รพ.สต.บ้านหูแร่ได้มีการตรวจคัดกรองความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซด์โคลีนเอสเตอร์เลส โดยมีผลการทดสอบดังนี้ ในปี 2561 จำนวน 156 คน พบว่าอยู่ในระดับปกติ 1 คน ระดับปลอดภัย 17 คน ระดับมีความเสี่ยง 57 คนและระดับไม่ปลอดภัย81 คน ในปี 2562 จำนวน 200 คน พบว่าอยู่ในระดับปกติ 9 คน ระดับปลอดภัย 22 คน ระดับความเสี่ยง 76 คนและระดับไม่ปลอดภัย 93 คน และในปี 2563 จำนวน 199 คนพบว่าอยู่ในระดับปกติ 8 คน ระดับปลอดภัย 29 คน ระดับความเสี่ยง 82 คน ระดับไม่ปลอดภัย80 คน จะเห็นได้ว่ามีอยู่ในระดับความเสี่ยงที่สูงมากจำเป็นจะต้องมีการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ ตระหนักถึงความจำเป็นในการจัดกิจกรรมเพื่อดูแลสุขภาพเกษตรกรในชุมชน ประกอบด้วย การสำรวจข้อมูลเบื้องต้น การสัมภาษณ์ด้วยแบบประเมินความเสี่ยง การเจาะเลือดตรวจคัดกรองเพื่อสีบค้นความผิดปกติในระยะเริ่มแรก เพื่อป้องกันและลดความสูญเสียจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และการจัดเวทีคืนข้อมูลให้แก่ชุมชน ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับอันตรายจาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช วิธีการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยตัวเอง การวินิจฉัยและการรักษาเบื้องต้น การส่งต่อเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง และการแนะนำการใช้สมุนไพรลดล้างพิษ การให้คำปรึกษาฯลฯ ดังนั้นเพื่อผลสำเร็จในการดำเนินงานดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ปีงบประมาณ 2566 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีทักษะประเมินและเฝ้าระวังสุขภาพตนเองอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในการเกษตร

กลุ่มเป้าหมายทุกคนมีความรู้และทักษะประเมิณ เฝ้าระวังสุขภาพตนเองอันเนื่องมาจากการใช้สารเคมีในกลุ่มเกษตรกรร้อยละ 90

0.00
2 2 เพื่อตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกรที่มีผลต่อสุขภาพ

กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างโดยกระดาษทดสอบเอนไซด์โคลีนเอสเตอร์เลส

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 37,975.00 0 0.00
24 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ 0 22,775.00 -
24 เม.ย. 66 - 29 ก.ย. 66 กิจกรรมตรวจหาระดับปริมาณสารเคมีตกค้างในเลือด 0 15,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกษตรกรและผู้บริโภคที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 เม.ย. 2566 09:30 น.