กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ”
ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางปฐมพร โพธิ์ถาวร ตำแหน่ง อาจารย์




ชื่อโครงการ โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์

ที่อยู่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ L7250-1-10 เลขที่ข้อตกลง 29/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ L7250-1-10 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 เมษายน 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 75,520.00 บาท จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพ เทศบาลนครสงขลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันเด็กเข้าสู่วัยหนุ่มสาวเร็วขึ้นประกอบกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยทำให้เด็กวัยเรียนสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเรื่องเพศได้ง่ายและรวดเร็วด้วยตนเองรวมทั้งการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับเพศอย่างเสรีในปัจจุบันในรูปแบบต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต เว็บแคม (Webcam) วีดิโอคอล (Video Call) โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ นิตยสารต่าง ๆ รวมทั้งทัศนคติทางเพศของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมคือยอมรับการอยู่ร่วมกัน ก่อนแต่งงาน (Ounjit, 2011) ทำให้วัยรุ่นที่อยู่ในวัยเรียนรับรู้จนคุ้นเคยเกิดความรู้สึกว่าการแสดงออกทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ (Sittipiyasakul, Nuwong, Lucksitanon & Uamasan, 2013) การอยู่ร่วมกันก่อนสมรสและการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างเรียน ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะโลหิตจาง (McKinney, James, Murray, Nelson & Ashwill, 2015).ซึ่งภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพ ที่พบได้บ่อยในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น จากการให้บริการของแผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสงขลา พบประเด็นปัญหาที่สำคัญ คือ สตรีตั้งครรภ์ส่วนหนึ่งมีภาวะโลหิตจาง เนื่องจากเป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งไม่แสดงอาการใดๆ มาก่อน ตรวจพบได้จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอด ส่งต่อไปยังลูกหลานในรุ่นต่อๆ ไปได้ การตั้งครรภ์แต่ละครั้งของสตรีที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมีย  มีโอกาสคลอดทารกที่มีภาวะสุขภาพปกติร้อยละ 25 เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียร้อยละ 50 และเป็นโรคธาลัสซีเมีย  ร้อยละ 25 (มณีภรณ์ โสมานุสรณ์, 2562) ขณะตั้งครรภ์ ทารกในครรภ์มีโอกาสเจริญเติบโตช้า พิการ หลังจากคลอด ทารกอาจมีอาการซีดมาก ติดเชื้อง่าย ต้องได้รับการรักษาโดยการเปลี่ยนถ่ายเลือดบ่อยๆ ถ้าหากแต่งงานกับชายที่เป็นพาหะธาลัสซีเมีย อาจเป็นคู่เสี่ยงที่ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความพิการอย่างรุนแรงและเสียชีวิตในครรภ์ได้ ความเสี่ยงนี้มีโอกาสพบได้สูงมากขึ้นในคู่สมรสที่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ยินยอมรับการตรวจภาวะธาลัสซีเมีย ซึ่ง การตรวจคัดกรองการเป็นพาหะธาลัสซีเมียนี้ ที่ถูกต้องควรทำก่อนการสมรส เพื่อการวางแผนการตั้งครรภ์ที่ดี แต่เนื่องจากวิถีชีวิตของประชาชนในประเทศไทยไม่นิยมตรวจเลือดก่อนสมรส และการตกลงแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ในบางคู่อาจเกิดขึ้นก่อนการคัดกรองภาวะของโรคธาลัสซีเมีย จึงทำให้พบปัญหา มีผู้เป็นพาหะธาลัสซีเมีย ประมาณ 20-22 ล้านคน เป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 600,000 คน (สมบูรณ์ บุณยเกียรติ, 2557)
จังหวัดสงขลามีสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับหลายแห่ง เฉพาะในเขตอำเภอเมืองสงขลาที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของเทศบาลนครสงขลามีทั้งสายสามัญและสายอาชีพ นักเรียนที่มาเรียนในสถาบันการศึกษาส่วนหนึ่งต้องมาเช่าหอพักอยู่ หรือมาอยู่กับญาติ ประชากรนักเรียนเหล่านี้เป็นเจริญพันธุ์ที่สามารถตั้งครรภ์ได้ และมีโอกาสเกิดการตั้งครรภ์ในวัยเรียน จำนวนนักเรียนของแต่ละสถาบันมีมากน้อยแตกต่างกัน นักเรียนวัยเจริญพันธุ์เหล่านี้ส่วนหนึ่งกำลังศึกษาในระดับมัธยมปลาย หรือระดับ ปวช. ในแต่ละปีมีจำนวนนักเรียนประมาณ 6,000-7,000 คน โดยมีจำนวนนักเรียนสายสามัญในแต่ละโรงเรียนดังนี้ โรงเรียนมหาวชิราวุธ มีนักเรียนมัธยมปลายรวม 1,827 คน โรงเรียนวรนารีเฉลิม 1,655 คน โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) จำนวน 429 คน โรงเรียนแจ้งวิทยา 452 คน โรงเรียนวชิรานุกูล 147 คน และจำนวนนักเรียนวิทยาลัยการอาชีพ มีดังนี้ วิทยาลัยอาชีวะศึกษา 1452 คน วิทยาลัยเทคนิคสงขลา (วิทยาลัยสารพัดช่าง) 735 คน วิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีเทคนิค 53 คน ซึ่งหากนักเรียนเหล่านี้เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียก็จะมีโอกาสให้กำเนิดทารกที่เป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์ และภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ตระหนักถึงโอกาสที่จะเกิดปัญหาสุขภาพกับสตรีตั้งครรภ์ในวัยเจริญพันธุ์ที่เป็นสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เพราะเป็นวัยที่ยังไม่พร้อมต่อการตั้งครรภ์ อาจมีการปกปิด ไม่ฝากครรภ์ ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการตรวจเลือดคัดกรองปัญหาสุขภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ จึงจัดโครงการเพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ขึ้น เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมปลายโรงเรียนมหาวชิราวุธ โรงเรียนวรนารีเฉลิม โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) โรงเรียนแจ้งวิทยา โรงเรียนวชิรานุกูล และนักเรียนระดับชั้น ปวช. วิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาลัยเทคนิคสงขลา (วิทยาลัยสารพัดช่าง) วิทยาลัยเทคโนโลยีวชิราโปลีเทคนิค รวมทั้งหมด 500 คน  ที่มีอายุช่วงวัยเจริญพันธุ์ในเขตเทศบาลนครสงขลาขึ้น เพื่อให้เยาวชนเหล่านี้มีความรอบรู้เรื่องสุขภาพ สามารถดูแลตนเองได้เมื่อเข้าสู่พัฒนกิจของการตั้งครรภ์

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
  2. 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย
  3. 3. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมละลายพฤติกรรม เปิดใจเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ แนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ในวัยเรียน
  2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม
  3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและคณะทำงาน
  4. ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม
  5. ค่าอาหารกลางวันวิทยากรและคณะทำงาน
  6. ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย
  7. ค่าวัสดุ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ
  2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียมากกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1 สามารถดำเนินการตามวันและเวลาที่ระบุไว้ในโครงการ มีนักเรียนจากสถาบันการศึกษาที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมกิจกรรมทุกสถาบัน รวมทั้งวิทยากรและคณะทำงาน รวมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 405 คน คิดเป็น ร้อยละ 80.52 โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด ดังตาราง 1
ตาราง 1 จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ สถาบันการศึกษา จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ แจ้งยืนยันยอด (คน) แจ้งชื่อเข้าร่วม (คน) เข้าร่วมจริง (คน) ร้อยละ ที่เข้าจริง โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา 50 45 (นร.43, ครู 2 ) 34 (นร.32, ครู 2 ) 75.56 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) 50 52 (นร.50, ครู 2 ) 37 (นร.35, ครู 2 ) 71.15 โรงเรียนวชิรานุกูล 50 84 (นร.83, ครู 1 ) 75 (นร.75 ) 89.29 โรงเรียนวรนารีเฉลิม 50 50 (นร.47, ครู 3 ) 39 (นร.36, ครู 3 ) 78.00 โรงเรียนแจ้งวิทยา 100 106 (นร 100, ครู 6 ) 106 (นร 100, ครู 6 ) 100.00 วิทยาลัยอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา 150 139 (นร.132, ครู 7 ) 87 (นร. 80, ครู 7 ) 62.59 วิทยาลัยเทคนิคสงขลา 50 15 (นร.14, ครู 1 ) 15 (นร.14, ครู 1 ) 100.00 วิทยากรและคณะทำงาน 12 12 12 100.00 รวม 512 503 405 80.52 1.2 หลังเสร็จสิ้นกิจกรรมในโครงการ มีนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 372 คน ตอบแบบสอบถาม ได้ครบถ้วนทุกข้อ จำนวน 291 คน คิดเป็นร้อยละ 78.23 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียอยู่ในระดับดีขึ้นไป จำนวน 273 คน คิดเป็นร้อยละ 93.82 มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้โดยภาพรวมและรายข้อหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านโอกาสการเป็น โรคธาลัสซีเมีย ด้านความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมีย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจเลือด และด้านอุปสรรคใน การตรวจเลือดประเมินธาลัสซีเมียหลังเข้าร่วมโครงการสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติในการคัด กรองเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย หลังเข้าร่วมโครงการระดับดีขึ้นไป จำนวน 234 คน คิดเป็นร้อยละ 80.41 ดัง ตาราง 2-5 ตาราง 2 ร้อยละของระดับความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียหลังเข้าร่วมโครงการ ระดับความรู้ จำนวน (N=291) ร้อยละ ดีเยี่ยม 241 82.82 ดีมาก 19 6.53 ดี 13 4.47 ค่อนข้างดี 4 1.37 พอใช้ 9 3.09 อ่อน 2 0.69 อ่อนมาก 2 0.69 มีความรู้ไม่เพียงพอ 1 0.34 รวม 291 100.00 3 ตาราง 3 ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเป็นรายข้อ ข้อความ คะแนนความรู้ ก่อนอบรม หลังอบรม x̅ S.D. การแปลผล x̅ S.D. การแปลผล 1.โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคที่ถ่ายทอด.... 0.72 0.28 ดี 0.96 0.19 ดีเยี่ยม 2.โรคธาลัสซีเมีย สามารถถ่ายทอด... 0.60 0.40 ค่อนข้างดี 0.90 0.30 ดีเยี่ยม 3. บุคคลที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย.... 0.56 0.43 อ่อน 0.94 0.24 ดีเยี่ยม 4. โรคธาลัสซีเมียพบได้ทั้งเพศชาย..... 0.62 0.39 พอใช้ 0.94 0.24 ดีเยี่ยม 5. หญิงที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ... 0.58 0.42 อ่อน 0.93 0.26 ดีเยี่ยม 6. หญิงที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ... 0.57 0.42 อ่อน 0.94 0.24 ดีเยี่ยม 7. การวินิจฉัยโรคธาลัศซีเมียในชาย….. 0.57 0.42 อ่อน 0.92 0.27 ดีเยี่ยม 8. โรคในกลุ่มธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น... 0.69 0.31 ค่อนข้างดี 0.94 0.24 ดีเยี่ยม 9. โรคอัลฟ่าธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 3 ... 0.64 0.36 พอใช้ 0.65 0.48 ค่อนข้างดี 10. ชาย-หญิงที่เป็นโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียชนิดไม่รุนแรง.. 0.36 0.50 ไม่เพียงพอ 0.79 0.41 ดีมาก 11. โรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ทำให้ทารก....... 0.50 0.46 อ่อนมาก 0.90 0.30 ดีเยี่ยม 12. ทารกที่เป็นโรคอัลฟ่าธาลัสซีเมียชนิด...... 0.63 0.38 พอใช้ 0.93 0.26 ดีเยี่ยม 13. หญิงตั้งครรภ์ที่มีทารกในครรภ์เป็น Hb Bart’s....... 0.64 0.37 พอใช้ 0.88 0.31 ดีเยี่ยม 14. โรคเบต้าธาลัสซีเมีย แบ่งเป็น 3 ชนิด คือ........ 0.61 0.39 พอใช้ 0.64 0.25 พอใช้ 15. โรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง ไม่ทำให้ทารก... 0.38 0.49 ไม่เพียงพอ 0.71 0.24 ดี 16. ทารกที่เป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง มีภาวะซีด. 0.50 0.46 อ่อนมาก 0.88 0.26 ดีเยี่ยม 17. บุคคลที่เป็นโรคเบต้าธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง....... 0.39 0.49 ไม่เพียงพอ 0.83 0.24 ดีเยี่ยม 18. หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจเลือดคัดกรองพบทารกในครรภ์... 0.63 0.37 พอใช้ 0.91 0.28 ดีเยี่ยม 19. ชาย-หญิง คู่สมรสที่มีโอกาสเสี่ยงมีบุตรเป็น..... 0.60 0.40 พอใช้ 0.89 0.25 ดีเยี่ยม 20. ชาย-หญิง คู่สมรสที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ..... 0.57 0.42 อ่อน 0.92 0.47 ดีเยี่ยม 21. ชาย-หญิง ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียควรรับประทาน....... 0.63 0.38 พอใช้ 0.78 0.41 ดีมาก 22. ชาย-หญิง ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ควรรับประทาน.... 0.64 0.37 พอใช้ 0.80 0.30 ดีเยี่ยม 23. ชาย-หญิง ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ควรรับประทาน..… 0.61 0.39 พอใช้ 0.96 0.26 ดีเยี่ยม 24. ชาย-หญิง ที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ควรงดชา กาแฟ . 0.57 0.42 อ่อน 0.88 0.33 ดีเยี่ยม 25. หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย 0.64 0.36 พอใช้ 0.92 0.48 ดีเยี่ยม รวม 0.58 0.15 อ่อน 0.87 0.10 ดีเยี่ยม หมายเหตุ การแปลผลดัดแปลงจากเกณฑ์การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี สงขลา (งานทะเบียน วัดและประเมินผล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา, 2566) 0.80-10.00 มีความรู้ดีเยี่ยม 0.60-0.64 มีความรู้พอใช้ 0.75-0.79 มีความรู้ดีมาก 0.55-0.59 มีความรู้อ่อน 0.70-0.74 มีความรู้ดี 0.50-0.54 มีความรู้อ่อนมาก 0.65-0.69 มีความรู้ค่อนข้างดี น้อยกว่า 0.50 มีความรู้ไม่เพียงพอ 4 ตาราง 4 ร้อยละของระดับเจตคติการคัดกรองเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมียหลังเข้าร่วมโครงการ ตาราง 5 ค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติการคัดกรองเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมียหลังเข้าร่วมโครงการ โดยภาพรวม รายด้านและรายข้อ ข้อ ที่ ข้อความ ระดับความคิดเห็น ก่อนอบรม หลังอบรม x̅ S.D. ระดับ x̅ S.D. ระดับ 1 ด้านโอกาสการเป็นโรคธาลัสซีเมีย ฉันมีหน้าตาปกติ ไม่จำเป็น ………………. 2.52 0.99 ปานกลาง 2.65 1.08 ปานกลาง 2 ฉันมีสุขภาพปกติ ไม่เป็น...................... 2.44 1.03 ปานกลาง 2.59 1.08 ปานกลาง 3 ฉันไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดประเมินโรค....... 2.42 1.00 ปานกลาง 2.56 1.03 ปานกลาง 4 คู่รักชาย-หญิง ควรตรวจเลือดประเมินโรค... 3.32 0.91 มาก 3.37 0.85 มาก 5 หญิงตั้งครรภ์ ควรตรวจเลือดประเมินโรค..... 3.35 0.83 มาก 3.39 0.84 มาก 6 หญิงตั้งครรภ์ ควรตรวจเลือดประเมิน...... 3.21 0.85 มาก 3.37 0.84 มาก รวม 2.87 0.49 ปานกลาง 2.99 0.56 ปานกลาง 7 ด้านความรุนแรงของโรคธาลัสซีเมีย ชาย-หญิงที่มีภาวะสุขภาพปกติ………………. 3.24 0.83 มาก 3.40 0.82 มาก 8 คู่สมรสที่ตรวจเลือดประเมินพบว่า………… 3.08 0.89 มาก 3.38 0.81 มาก 9 หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจเลือดประเมิน…………. 3.09 0.84 มาก 3.36 0.81 มาก 10 คู่สมรสที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย ……….. 2.85 0.91 ปานกลาง 3.22 0.88 มาก รวม 3.07 0.68 มาก 3.34 0.69 มาก 11 ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการตรวจเลือด ประเมินโรคธาลัสซีเมีย…………. 3.25 0.82 มาก 3.42 3.42 มาก 12 การตรวจเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย ....... 2.99 0.85 ปานกลาง 2.95 2.95 ปานกลาง 13 การตรวจเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย......... 3.10 0.82 มาก 3.3 3.30 มาก 14 การตรวจเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย.......... 3.15 0.81 มาก 2.55 3.28 มาก รวม 3.12 .69 มาก 3.24 .71 มาก 15 ด้านอุปสรรคในการตรวจเลือดประเมินธาลัสซีเมีย การตรวจเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย......... 2.38 0.85 ปานกลาง 2.45 1.02 ปานกลาง 16 ขั้นตอนการตรวจเลือดประเมินโรค ........... 2.44 0.87 ปานกลาง 2.47 1.1 ปานกลาง 17 การตรวจเลือดประเมินโรคธาลัสซีเมีย......... 2.46 0.92 ปานกลาง 2.60 1.04 ปานกลาง 18 ผลการตรวจเลือดโรคธาลัสซีเมีย.............. 2.12 0.84 ปานกลาง 2.11 0.89 ปานกลาง รวม 2.35 .71 ปานกลาง 2.59 .89 ปานกลาง รวมทั้งหมด 2.85 .35 ปานกลาง 3.02 .42 มาก หมายเหตุ การแปลผลดัดแปลงจากเกณฑ์การแบ่งทัศนคติต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปีของ จุฬาภรณ ปรัสรา (2557) 3.00-4.00 เห็นด้วยระดับมาก 2.00-2.99 เห็นด้วยระดับปานกลาง 1.00-1.99 เห็นด้วยระดับน้อย ระดับความเห็นด้วย จำนวน (N=291) ร้อยละ มาก 234 80.41 ปานกลาง 55 18.90 น้อย 2 0.69 รวม 291 100.00 5 1.3 จากการทำกิจกรรมกลุ่ม พบว่านักเรียนที่มีเจตคติต่อการคัดกรองเลือดประเมินธาลัสซีเมียอยู่ในระดับเห็นด้วย น้อยเกิดจากประสบการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจที่นักเรียนได้รับจากการบริจาคเลือด หรือจากการเจาะเลือดที่ผ่านมา ที่นักเรียนมี อาการปวดบริเวณที่เจาะเลือดและผิวหนังมีลักษณะเขียวช้ำ จึงทำให้ไม่อยากเจาะเลือด นอกจากนี้นักเรียนและครูผู้ดูแล นักเรียนสนใจซักถามรายละเอียดเกี่ยวกับอาการของโรคธาลัสซีเมีย การดูแลรักษา การยุติการตั้งครรภ์ การปฏิบัติตัว ของผู้ที่เป็นพาหะหรือโรคธาลัสซีเมีย การดูแลทารกหรือเด็กที่เกิดจากพ่อ-แม่ที่เป็นโรค/พาหะธาลัสซีเมีย รวมทั้งยังมี การซักถามเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การดูแลและการป้องกันอีกด้วย 1.4 จากการสุ่มติดตามนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน หลังเข้าร่วมโครงการประมาณ 2 สัปดาห์ผ่านทาง อีเมล์ที่นักเรียนแจ้งไว้ พบว่ามีนักเรียนจำนวน 31 คน คิดเป็นร้อยละ 10.65 ได้นำความรู้ที่ได้ไปพูดคุยกับสมาชิกใน ครอบครัว หรือเพื่อนนักเรียน โดยบอกเกี่ยวกับโอกาสการเป็นโรคหรือพาหะของโรคในคนที่มีลักษณะภายนอกเป็น ปกติเหมือนคนทั่วไป 1.5 นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก ดัง แสดงในตาราง 6 มีนักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากจำนวน 271 คน คิดเป็นร้อยละ 93.13 ระดับปานกลาง 20 คน
คิดเป็นร้อยละ 6.87
ตาราง 6 ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในการเข้าร่วมโครงการโดยภาพรวม และรายข้อ รายการประเมิน ระดับความคิดเห็น M SD แปลผล 1. การประชาสัมพันธ์โครงการฯ 4.42 0.67 มาก 2. ความเหมาะสมของสถานที่ 4.58 0.59 มาก 3. ความเหมาะสมของระยะเวลา 4.38 0.76 มาก 4. การจัดลำดับขั้นตอนของกิจกรรม 4.46 0.68 มาก 5. เอกสารประกอบการอบรม 4.48 0.65 มาก 6. โสตทัศนูปกรณ์ 4.42 0.66 มาก 7. เจ้าหน้าที่สนับสนุน อำนวยความสะดวก 4.54 0.65 มาก 8. อาหารและเครื่องดื่ม 4.53 0.66 มาก 9. ท่านได้รับความรู้ แนวคิด ทักษะและประสบการณ์ใหม่ ๆ จากโครงการ 4.59 0.64 มาก 10. ท่านมีเจตคติที่ดีต่อโรคธาลัสซีเมียและการเจาะเลือดคัดกรองประเมินโรคธาลัสซีเมีย 4.55 0.65 มาก 11. ท่านสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการ/ กิจกรรมนี้ไปใช้ในอนาคตเมื่อเกิดการตั้งครรภ์หรือ บอกต่อผู้อื่นได้ 4.59 0.62 มาก 12. สิ่งที่ท่านได้รับจากโครงการ/ กิจกรรมครั้งนี้ตรงตามความคาดหวังของท่าน 4.45 0.66 มาก 13. โครงการเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของท่าน 4.53 0.63 มาก 14. ประโยชน์ที่ท่านได้รับจากโครงการ/ กิจกรรม 4.56 0.62 มาก 15. ความพึงพอใจของท่านต่อภาพรวมของโครงการ 4.53 0.65 มาก รวม 4.51 0.67 มาก หมายเหตุ การแปลผลค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจใช้เกณฑ์ค่าพิสัย 3 ระดับ 3.68 – 5.00 พึงพอใจมาก 2.34 - 3.67 พึงพอใจปานกลาง 1.00 – 2.33 พึงพอใจน้อย 6 1.6 ความคิดเห็นอื่น ๆ
นักเรียนกลุ่มเป้าหมายแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้เป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้ - ได้ความรู้เกินจากความคาดหมายมาก ได้ความรู้อัดแน่น วิทยากรพูดเพราะ พูดเข้าใจง่าย ได้ความรู้ในเรื่องที่ไม่ เคยรู้มาก่อนเยอะมาก - วิทยากรอธิบายได้ดีมาก มีภาพผู้ป่วยประกอบทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น - ได้ความรู้เยอะมากๆ สามารถนำความรู้ไปบอกเพื่อนๆ ได้เลย - อาจารย์ให้คำปรึกษาดีมากๆ จ้า - อาจารย์ให้ความรู้ดีมาก ได้ความรู้ได้วิธีรักษาตัวเอง - ขอบคุณสำหรับกิจกรรมให้ความรู้ดีๆนี้คะ - อยากให้รุ่นต่อไปได้มาอบรมกิจกรรมดีๆแบบนี้อีก - อยากให้มีการลองเจาะเลือดสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจ - สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากวิทยากรกลุ่มในเรื่องสุขภาพอื่นๆ ที่เราสนใจได้ - อาจารย์น่ารักทำไห้เข้าใจมากขึ้นไปอีก - คุณครูน่ารักมากค่ะ - ดีทุกอย่างค่ะ - สนุกมากฮ้าาฟ - อาหารอร่อยมากค่ะ - อาจารย์ให้คำปรึกษาดีมากๆจ้า - อยากให้จัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ โรคติดต่อเพศสัมพันธ์และการป้องกันตัวเอง โรคเบาหวาน เพราะปัจจุบันมีการกินหวานกันมาก การผสมของไข่กับอสุจิที่จะทำให้เกิดการตั้งครรภ์ โรคผิวเผือก โรคมะเร็งเพราะ เป็นโรคที่เป็นกันเยอะมาก เป็นกันง่ายๆ ในปัจจุบันแต่เรายังมีความรู้น้อยมาก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูก

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียอยู่ในระดับดีขึ้นไป
80.00 93.47

 

2 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย
ตัวชี้วัด : 2.ร้อยละ 80 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย
80.00 80.41

 

3 3. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป
ตัวชี้วัด : 3.ร้อยละ 10 ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป
10.00 10.65

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 500 405
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 500 405
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมีย (2) 2. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีเจตคติที่ดีในการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย (3) 3. เพื่อให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายนำความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียไปเผยแพร่แก่บุคคลอื่นต่อไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมละลายพฤติกรรม เปิดใจเพื่อประเมินความรู้ ความเข้าใจ ในการตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพก่อนการตั้งครรภ์ แนวโน้มที่จะตั้งครรภ์ในวัยเรียน (2) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรม (3) ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มวิทยากรและคณะทำงาน (4) ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าอบรม (5) ค่าอาหารกลางวันวิทยากรและคณะทำงาน (6) ค่าเอกสารประกอบการบรรยาย (7) ค่าวัสดุ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ เพิ่มพูนความรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียเพื่อการตั้งครรภ์คุณภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ L7250-1-10

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางปฐมพร โพธิ์ถาวร ตำแหน่ง อาจารย์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด