กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ


“ โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม. ”

ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายพัทธนัย จอเอียด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม.

ที่อยู่ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 66-L5264-1-05 เลขที่ข้อตกลง 05/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม. จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม.



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม. " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลทำนบ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 66-L5264-1-05 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 85,950.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทำนบ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมียุงลายเป็นพาหะ และนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวัน จึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้น ได้ทั้งชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและศาสนสถาน ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ ๕ – ๑๔ ปีแต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วย ไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ซึ่งในการควบคุมโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องประสานความร่วมมือกับทุกหน่วยงาน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการควบคุมโรค เหตุรำคาญ และภัยสุขภาพ ตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๖๗ (๓) บัญญัติให้ องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ประกอบกับพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ มาตรา ๑๖ (๖) และ (๓๙) บัญญัติให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริม การฝึก และประกอบอาชีพ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล หลักการควบคุมโรคไข้เลือดออก แบ่งเป็น ๒ ระยะ คือ การป้องกันโรคล่วงหน้า และการควบคุมเมื่อมีการระบาดมาตรการป้องกันโรคล่วงหน้า เป็นกิจกรรมดำเนินงาน เตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้น ก่อนที่จะถึงฤดูกาลระบาด โดยลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและยุงตัวเต็มวัยให้เหลือจำนวนน้อยที่สุด ถือว่า เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ การป้องกันโรคล่วงหน้ามีกิจกรรม ดังนี้(๑.) ให้ความรู้กับประชาชน ในเรื่องปัจจัยที่ก่อให้เกิดการป่วย โดยการจัดการบ้านเรือนของตนไม่ให้มีแหล่ง เพาะพันธุ์ยุง และวิธีการปฏิบัติเมื่อสงสัยว่าจะป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อาจจะทำได้หลายช่องทางด้วยกัน คือทางสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เสียงตามสาย และหอกระจ่ายข่าวทางโรงเรียน โดยให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ไปถ่ายทอด และ ไปปฏิบัติที่บ้านแจกเอกสาร เช่น แผ่นพับ คู่มือ(๒.) ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการในท้องที่ ให้เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก (๓.) ขอความร่วมมือจากผู้นำท้องถิ่น/พระ ในการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือประชาชน (๔.) การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (๔.๑) วิธีทางกายภาพ ได้แก่ ปิดภาชนะเก็บน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงวางไข่,เปลี่ยนน้ำในภาชนะ ทุกๆ ๗ วัน เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย , จัดการสิ่งแวดล้อม เช่น กำจัดแหล่งขยะที่มีภาชนะน้ำขังได้(๔.๒) วิธีทางชีวภาพ ได้แก่ การปล่อยปลากินลูกน้ำ ( ๔.๓ ) วิธีทางเคมี ได้แก่ ใส่ทรายทีมีฟอส , การพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย เป็นวิธีควบคุมยุงลายที่ได้ผลดี แต่ให้ผลเพียงระยะสั้น (เพียง ๓ – ๕ วัน) และอาจทำให้เกิดการดื้อยา จำเป็นต้องมี การควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายร่วมด้วยเสมอ สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี ๒๕๖๖ ( มกราคม.- กุมภาพันธ์. ) ในเขตพื้นที่อำเภอสิงหนครเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในเดือนมกราคม ย้อนหลัง ๕ ปี พบว่ามีอัตราป่วยเกินค่ามัธยฐาน ๓เท่ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตำบลที่มีอัตราป่วยสูงสุดคือต.ทำนบอัตราป่วยเท่ากับ ๙๒.๖๑ ( ๔ ราย ) รองลงมาต.ชะแล้ เท่ากับ ๗๐.๐๐ ( ๒ ราย ) , ต.ชิงโค เท่ากับ ๔๓.๘๐ ( ๒ ราย ) , ต.สทิงหม้อ เท่ากับ ๔๐.๐๑ ( ๕ ราย ) , ต.หัวเขา เท่ากับ ๓๖.๘๕ ( ๓ ราย ) , ต.รำแดง เท่ากับ ๑๙.๕๔ ( ๑ ราย ) , ต.ม่วงงาม เท่ากับ ๑๖.๙๖ ( ๒ ราย ) . ต.วัดขนุน เท่ากับ ๑๑.๘๔ ( ๑ ราย )ต.บางเขียดต.ป่าขาด และ ต.ปากรอ ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออก การควบคุมโรคไข้เลือดออกต้องดำเนินการทั้งทางด้านกายภาพเคมี และชีวภาพร่วมกัน โดยการกำจัดลูกน้ำและตัวแก่ในเวลาใกล้เคียงกันจึงเป็นวิธีการที่เหมาะสมในการป้องกัน ควบคุมโรคไข้เลือดออก จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าตำบลทำนบ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกในเด็กเล็ก นักเรียน และประชาชน ในพื้นที่ของตำบลทำนบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว หมู่ที่ ๓ ตำบลทำนบ จึงได้จัดทำโครงการ “ ป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม.” ขึ้น เพื่อประสานความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เป็นการเตรียมรับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกและให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนในชุมชนวัดโรงเรียนตลอดจนทุกภาคส่วน สร้างความตระหนัก และรับมือกับการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
  3. เพื่อจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดทำโครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกในตำบลทำนบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖
  2. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม อบรมให้ความรู้
  4. กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย รณรงค์ ควบคุม ป้องกันโรคล่วงหน้า
  5. กิจกรรม ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในช่วงระบาดของโรค หรือกรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่
  6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
๒. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำโครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกในตำบลทำนบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เขียนโครงการ เสนองบประมาณ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้นำโครงการและงบประมาณเสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ

 

0 0

2. ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

วันที่ 1 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กุล่มเป้าหมายเข้าใจในการให้เหตุผลและความจำเป็นในการจัดหาเครื่องพ่นหมอกควันและวัสดุอุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในครั้งนี้

 

0 0

3. กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม อบรมให้ความรู้

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม อบรมให้ความรู้  งบประมาณ ๑. อาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน ๕๐ คนๆละ ๒๕ บาท เป็นเงิน ๑,๒๕๐ บาท ๒. ป้ายโครงการขนาด ๒ x ๓ ม. จำนวน ๑ แผ่นๆละ ๑,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มผู้นำชุมชนและ อสม. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกและสามารถแนะนำแนวทางในการป้องกันให้ประชาชนได้ปฏิบัติในการป้องกันโรคไข้เลือดนี้ได้ดียิ่งขึ้น และลดปริมาณการเจ็บป่วยโรคไข้เลือดออกได้มากยิ่งขึ้นไป

 

0 0

4. กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย รณรงค์ ควบคุม ป้องกันโรคล่วงหน้า

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย รณรงค์ ควบคุม ป้องกันโรคล่วงหน้า งบประมาณ ๑ ในชุมชน / หมู่บ้าน ( ดำเนินการทุกวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ ๑ ของทุกเดือน  ) - ค่าทรายอะเบท จำนวน ๕  ถังๆละ ๔,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒๐,๐๐๐  บาท -ไวนิลป้ายรณรงค์ให้ความรู้ การป้องกัน เรื่องโรคไข้เลือดออก ขนาด ๑.๕ x ๒.๕ ม. จำนวน  ๗  แผ่นๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน ๔,๒๐๐  บาท -สติกเกอร์ความรู้ การป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด ๑๗ x ๒๓ ซม. จำนวน ๗๐๐ แผ่นๆ ๑๘ บาท เป็นเงิน ๑๒,๖๐๐  บาท


๒.ในโรงเรียน / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ( ดำเนินการก่อนเปิดภาคเรียน : โดยใช้เครื่องพ่นหมอกควันแบบสะพายไหล่ หรือเครื่องพ่นละอองฝอย ULV สะพายไหล่ ร่วมกับเครื่องพ่นหมอกควันขนาดเล็ก )
-เครื่องพ่นหมอกควันขนาดเล็ก MS 5000 จำนวน ๑  เครื่องๆละ  ๙,๕๐๐  บาท เป็นเงิน ๙,๕๐๐  บาท -น้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงขนาด 1 ลิตร จำนวน ๒ ขวดๆละ ๒,๕๐๐ บาท เป็นเงิน  ๕,๐๐๐  บาท -แก๊สเชื้อเพลิงกระป๋อง ขนาด ๓๗๕ มล. จำนวน ๘ กระป๋องๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๒๐๐  บาท -ค่าน้ำมันเบนซิน  จำนวน ๒๐ ลิตรๆละ ๔๐ บาท ( ราคาตามท้องตลาด ) เป็นเงิน    ๘๐๐  บาท - ค่าน้ำมันดีเซล    จำนวน ๔๐ ลิตรๆละ ๓๖ บาท ( ราคาตามท้องตลาด ) เป็นเงิน  ๑,๔๔๐  บาท - ค่าจ้างพ่นหมอกควัน จำนวน ๒ คนๆละ ๓๐๐ บาท / ครั้ง  จำนวน  ๔  ครั้ง เป็นเงิน  ๒,๔๐๐  บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ลดปริมาณแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำและลดปริมาณยุงลายในชุมชน/ หมู่บ้าน/โรงเรียน / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

 

0 0

5. กิจกรรม ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในช่วงระบาดของโรค หรือกรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่

วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่ ดำเนินกิจกรรม อย่างน้อย ๒ ครั้ง ห่างกัน ๗ วัน และกรณีมีการระบาด หรือมีผู้ป่วย second generation ( Generation 2 ) ดำเนินกิจกรรมทุกสัปดาห์อย่างน้อย ๑ เดือน  ดำเนินการในชุมชน และในโรงเรียน โดยใช้กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย ร่วมกับการ ใช้เครื่องพ่นหมอกควัน กำจัดตัวแก่ยุงลาย ในชุมชน และในโรงเรียน ที่ระบาด
๑. ค่าทรายอะเบท จำนวน ๒  ถังๆละ ๔,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๘,๐๐๐  บาท ๒. น้ำยาพ่นหมอกควันกำจัดยุงขนาด 1 ลิตร จำนวน ๒ ขวดๆละ ๒,๕๐๐ บาท  เป็นเงิน ๕,๐๐๐  บาท ๓. ค่าน้ำมันเบนซิน    จำนวน ๓๐ ลิตรๆ ละ ๔๐ บาท
    ( ราคาตามท้องตลาด ) เป็นเงิน  ๑,๒๐๐  บาท ๔. ค่าน้ำมันดีเซล    จำนวน ๖๐ ลิตรๆละ ๓๖ บาท
    ( ราคาตามท้องตลาด ) เป็นเงิน  ๒,๑๖๐  บาท ๕. แก๊สเชื้อเพลิงกระป๋องขนาด ๓๗๕ มล.จำนวน ๑๒ กระป๋องๆละ ๑๕๐ บาท เป็นเงิน  ๑,๘๐๐  บาท ๖. ค่าจ้างพ่นหมอกควัน     จำนวน ๒ คนๆละ ๓๐๐ บาท/ ครั้ง เป็นเงิน  ๘,๔๐๐  บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพื่อช่วยลดแหล่งเพาะพันธุ์ของลูกน้ำยุงลายและลดประมาณคนป่วยโรคไข้เลือดออกให้น้อยลง

 

0 0

6. สรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลการดำเนินโครงการ - จัดทำรูปเล่มสรุปโครงการรายงานผลต่อประธานกองทุนฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

รายงานผลต่อประธานกองทุนฯ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : อัตราป่วยของโรคไข้เลือดออกลดลง
70.00 75.00 23.15

 

2 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๐ CI เท่ากับ ๐
70.00 90.00 90.00

 

3 เพื่อจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : เครื่องพ่นหมอกควันและวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
1.00 1.00 1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (2) เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลาย (3) เพื่อจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดทำโครงการควบคุม เฝ้าระวัง ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกในตำบลทำนบ ปีงบประมาณ ๒๕๖๖ (2) ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นจัดหาเครื่องพ่นหมอกควัน และวัสดุ อุปกรณ์ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก (3) กิจกรรมประชุมเตรียมความพร้อม อบรมให้ความรู้ (4) กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสำรวจลูกน้ำ ยุงลาย รณรงค์ ควบคุม ป้องกันโรคล่วงหน้า (5) กิจกรรม ควบคุมโรคไข้เลือดออก ในช่วงระบาดของโรค หรือกรณีมีผู้ป่วยในพื้นที่ (6) สรุปผลการดำเนินโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันและควบคุม โรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและ อสม. จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 66-L5264-1-05

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายพัทธนัย จอเอียด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพร้าว ตำบลทำนบ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด