กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชน ปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าเหนาะ
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 8,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายธีรพจน์ พงศ์ดารา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพจิตเป็นการที่บุคคลรับรู้คุณค่าในตนเอง สามารถจัดการการควบคุมตนเองได้อย่างเหมาะสม ปราศจากความกังวลไม่สมเหตุสมผล และสามารถเผชิญปัญหาหรือความเครียดได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ในด้านสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ยอมรับและพึงพอใจในการใช้ชีวิตของตนเอง ลักษณะของผู้มีสุขภาพจิตดีจะต้องเป็นผู้ที่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆได้เป็นอย่างดีทั้งในสถานการณ์ที่ปกติและไม่ปกติและสามารถควบคุมอารมณ์ตนเองได้ ส่วนบุคคลที่มีสุขภาพจิตที่ผิดปกติ มักแสดงออกถึงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง มีผลต่อสมรรถภาพในการทำงาน รวมถึงความผิดปกติของความผิดปกติของความคิด และอารมณ์ จนถึงระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ซึ่งปัจจุบันที่มีผลต่อสุขภาพจิตของบุคคลสามารถแบ่งเป็นปัจจัยภายใน เช่น ลักษณะนิสัย บุคลิกภาพ การจัดการปัญหา เป็นต้น ส่วนปัจจัยภายนอกและสภาพแวดล้อม เช่น ปัญหาสัมพันธภาพในครอบครัว เศรษฐกิจ ภาระหนี้สิน ปัญหาการเมือง การไม่มีที่อยู่อาศัยปัญหาอาชญากรรมและสารเสพติด เป็นต้น โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้บ่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้พิการ เป็นต้น เนื่องจากข้อจำกัดในการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้นกว่าบุคคลทั่วไป การส่งเสริมสุขภาพจิตสำหรับกลุ่มเสี่ยงเป็นส่วนสำคัญที่จะป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพจิตให้ลดน้อยลงได้ ในปัจจุบันปัญหาสุขภาพจิตและการเจ็บป่วยทางจิตกลายเป็นอีกปัญหาที่สำคัญของประเทศ ส่วนหนึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างจากเดิม ทำให้บุคคลมีวิถีชีวิตที่ต้องเร่งรับ แก่งแย่งแข่งขัน ทำให้บุคคลเกิดความเครียดได้ง่ายและเจ็บป่วยทางจิต สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวช 5 อันดับแรกที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรคจิตเภท โรควิตกกังวล โรคจิตเวชเวชเนื่องมาจากสารเสพติด และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ตามลำดับ จำเป็นต้องรักษาาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่องบประมาณของประเทศในการบำบัดรักษาและการดูแลที่ต่อเนื่อง ทั้งนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 ได้เน้นให้ประชาชนได้รับบริการทางสุขภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกัน การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ อย่างได้มาตรฐาน เสมอภาคและเท่าเทียมกัน การป้องกันหรือลดโอกาสในการเกิดปัญหาสุขภาพจิตหรือการเจ็บป่วยทางจิตจึงเป็นสิ่งที่บุคลากรทางการสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมป้องกันเพื่อลดความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น โดยในพื้นที่ความรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าเหนาะก็มีผู้ป่วยมีอาการที่เป็นโรคซึมเศร้า จำนวน 12 คน โรคจิตเภท จำนวน 7 คน โรควิตกกังวล จำนวน 10 คน โรคจิตเวชเนื่องจากสารเสพติด จำนวน 15 คน และโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว จำนวน 5 คน และมีแนวโน้มที่จะมีประชาชนป่วยเพิ่ทสูงขึ้น ดังนั้นจึงได้พิจารณาจัดโครงการบูรณาการส่งเสริมสุขภาพจิตในชุมชนขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการส่งเสริมสุขภาพจิต และบูรณาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพจิตให้แก่ทุกช่วงวัย ทำให้ทุกช่วงวัยมีสุขภาพจิตที่ดีสามารภใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพจิต

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องสุขภาพจิตร้อยละ 80

80.00 82.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินภาวะความเครียดของตนเองได้

ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินความเครียดของตนเองได้ ร้อยละ 80

80.00 83.00
3 เพื่อลดผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

ร้อยละของผู้ใหญ่ อายุ 26-60 ปี ที่มีความเครียดระดับปานกลางถึงมาก

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,900.00 0 0.00
1 - 31 พ.ค. 66 1.สำรวจกลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าเหนาะ 0 0.00 -
1 - 30 มิ.ย. 66 2.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ 0 0.00 -
1 - 31 ก.ค. 66 3.ประสานกลุ่มเป้าหมายการเข้าร่วมโครงการ 0 0.00 -
1 - 31 ก.ค. 66 4.แจ้งประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 0 0.00 -
1 ก.ค. 66 - 31 ส.ค. 66 5.กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต 0 8,900.00 -
1 ส.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 6.กิจกรรมประเมินความเครียดด้วยตนเอง 0 0.00 -
1 - 30 ก.ย. 66 7.สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -
  1. สำรวจกลุ่มเป้าหมายในหมู่บ้านเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่าเหนาะ 2.เขียนโครงเสนอต่อผู้บริหารเพื่อขออนุมัติโครงการเข้าบรรจุในแผนและขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองทรายขาว 3.ประชุมชี้แจงโครงการอสม.แกนนำโรคสุขภาพจิต 4.อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิต (ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุ และอสม. 5.กิจกรรมประเมินสุขภาพจิตของตนเอง
    6.สรุปและประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยด้วยโรคสุขภาพจิตในชุมชนลดลง 2.ประชาชนสามารถรับมือกับปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้และสามารถใช้ชีวิตในชุมชนได้อย่างมีความสุข

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 11:12 น.