กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพในประชาชนทั่วไป หมู่ที่ 1 บ้านคลองหวะหลัง ประจำปี 2566
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสตรีหมู่ที่1 บ้านคลองหวะหลัง
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดา เอียดวงศ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองทรายขาว
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
57.54

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากข้อมูลองค์การอมัยโลก ประมาณว่าการไม่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเป็นสาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ 22-23 โรคมะเร็งลำไส้ ร้อยละ 16-17 เบาหวาน ร้อยละ 15 หลอดเลือดสมอง ร้อยละ 12-13 โดยพบว่าการขาดกินกรรมทางกายส่งผลให้เกิดการเสียชีวิต 3.2 ล้านคนต่อปี ของทั้งโลก โดยคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อเรื้องรัง ถึงร้อยละ 71 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โดยการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต สำหรับกิจกรรมทางกายนั้น หมายถึง การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีการใช้พลังงานในร่างกาย โดยเฉพาะครอบคลุมกิจกรรมทางกายทั้ง 3 ลักษณะ คือ 1.)กิจกรรมจากการทำงาน (Activity at work) ได้แก่ การทำงานโดยปกติ ที่ต้องออกแรงกายอย่างหนักหรือปานกลาง 2.)กิจกรรมยามว่าง (travel to and from places) 3.)กิจกรรมยามว่าง (recreational activities) ได้แก่ การออกกำลังกาย เล่นกีฬา มีกิจกรรมยามว่าง กิจกรรมทั้ง 3 ลักษณะนี้ แต่ละลักษณะมีความหนักเบาของการใช้แรงกาย (intensity) ระยะเวลาที่มีกิจกรรมเป็นนาทีต่อวัน และความถี่ของการมีกิจกรรมเป็นวันต่อสัปดาห์ โดยในผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ต้องกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) ตามข้อแนะนำขององค์กรอนามัยโลก (WHO) หมู่ที่1 บ้านคลองหวะหลัง ตำบลคลองทรายขาว มีประชาชนทั่วไปที่ อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)จำนวน 320 คน ซึ่งบุคคลเหล่านี้มีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ เนื่องจากการประกอบอาชีพที่ต่างกันทำให้ไม่มีเวลาในการออกกำลังกายและพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การสูบบุหรี่ หารนอนดึก ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพในประชาชนทั่วไป หมู๋ที่ 1 คลองหวะหลัง ประจำปี 2566 ขึ้นมา เพื่อให้ประชาชนทั่วไป อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) และมีพัฒนาการทางด้านอารมณ์ สังคม และจิตใจ และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชน อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

ร้อยละ 90 ประชาชน อายุ 18-94 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

57.54 60.00
2 2.เพื่อให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง

ร้อยละ 90 ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง

90.00 0.00
3 3.เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ร้อยละ 90

0.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมการเต้นแอโรบิกเพื่อสุขภาพ 0 11,400.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การเล่นฟุตซอลเพื่อสุขภาพ 0 3,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชน อายุ 18-64 ปี มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์) 2.ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการมีสุขภาพที่แข็งแรง 3.ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2566 11:16 น.