กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตภัยเบาหวาน ความดัน ปีงบประมาณ 2566 เขตเทศบาลตำบลบางแก้ว
รหัสโครงการ 009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ
วันที่อนุมัติ 15 ธันวาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 11,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกฤติยา ชำมริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและโรคอ้านลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าาปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก ปัจจุบันพบว่าอัตราความชุกของโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านท่ามะเดื่อ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี รวมถึงผู้ป่วยเบาหวานความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี จากการจัดลำดับความชุก 10 อันดับโรคของผู้รับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อพบว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจัดอยู่ในอันดับที่ 1 และจำนวนสูงสุดในกลุ่มผู้ป่วยอายุ 60 ปี ขึ้น รองลงมาพบในกลุ่มอายุ 40-60 ปี และพบจำนวนน้อยในช่วงอายุ น้อยกว่า 40 ปี ถึงแม้ว่าโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่ทำให้สูญเสียชีวิตทันที แต่ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อน ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านความสามารถหรือมีความพิการหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิตมีความสำคัญในการควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยกิจกรรม 3อ. 3ส. จึงเป็นวิธีการที่สำคัญในการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงสามารถดูแลตนเองและควบคุมโรคได้ ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุด และพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 59 คน ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 66.10 และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 153 คน ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ จำนวน 56 คน คิดเป็นร้อยละ 36.60 จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ มีอัตรการควบคุมระดับน้ำตาลและระดับความดันโลหิตที่ผิดปกติสูง ซึ่งมาตรการในการดูแลรักษาผู้ป่วยจำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้ให้การรักษาและความ ร่วมมือของผู้ป่วยในการดูแลสุขภาพและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการปรับพฤติกรรม เปลี่ยนชีวิต พิชิตภัยเบาหวานความดันปีงบประมาณ 2566 เพื่อมุ่งเน้นให้ดูแลสุขภาพตนเองได้ถูกต้องและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจนเป็นสาเหตุการเสียชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประเมินกิจกรรมการมีส่วนร่วมของกลุ่มาเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 2.กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรู้เรื่องโรคและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกยและการบริโภคอาหารที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 3.กลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามและส่งต่อเพื่อรับการตรวจวินิจฉัยตามเกณฑ์มาตรฐานทุกราย 4.ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ร้อย 4.5 5.ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ร้อยละ 5.5 6.มีบุคคลต้นแบบและแกนนำที่มีศักยภาพในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยในการปรับเปลี่ยนสุขภาพให้เหมาะสม 7.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด/ระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ 8.ผู้ป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมโรคได้ ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน 9.ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงรายใหม่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2566 14:03 น.