กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ


“ เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566 ”

ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางสาวยุไหว หล๊ะละโต๊ะ

ชื่อโครงการ เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566

ที่อยู่ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3333-02-11 เลขที่ข้อตกลง 10/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566 จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566



บทคัดย่อ

โครงการ " เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลเกาะนางคำ อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 66-L3333-02-11 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 พฤษภาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 13,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะนางคำ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาโรคซึมเศร้า นับเป็นโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ป่วย เพราะเมื่อเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้หมดกำลังใจ ท้อแท้ในชีวิต สามารถเป็นได้ตั้งแต่เด็กและจนถึงวัยผู้ใหญ่ เพราะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานลดลงอย่างชัดเจน ปัญหาภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญของประเทศ และเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตที่สำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อตัววัยรุ่น ครอบครัวและสังคม จากสถานการณ์โรคซึมเศร้าในประเทศไทย ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในวัยรุ่น ทำให้ความซึมเศร้าและความเครียดเกิดขึ้นได้ทุกแห่ง ทุกเวลา ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายทำให้การเตรียมพร้อมที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีความเครียดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป จะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ซึ่งในกลุ่มเยาวชนมีความเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม ครอบครัวและเศรษฐกิจ ทำให้วัยรุ่นเป็นวัยที่พบโรคความผิดปกติทางอารมณ์ได้บ่อย โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ส่งผลให้มีความเครียด วิตกกังวล ทำให้เกิดความท้อแท้สิ้นหวังเบื่อหน่าย ความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเองลดลง มีภาวะซึมเศร้า ปัจจัยทางจิตและปัจจัยทางบุคลิกภาพส่งผลต่อประสิทธิภาพในการคิดการตัดสินใจ และการนำมาซึ่งพฤติกรรมเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของวัยรุ่นในประเทศไทย ดังนั้นทางตำบลเกาะนางคำ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการป้องกันและค้นหาผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าจึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่เข็มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า
  2. เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าและกำลังใจในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
  3. ส่งเสริมกิจกรรมการกระตุ้นตื่นตัวและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน
  2. แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมบำบัดสร้างแรงตื่นตัว
  3. ติดตามและประเมินผลหลังจบโครงการหลัง 3 เดือน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและกลุ่มเสี่ยงในกลุ่มเด็กเยาวชน
  2. เยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันโรคเครียดมีกำลังใจและซึมเศร้าได้รู้คุณค่าของตัวเองคิดในแง่บวกมากขึ้น
  3. เด็กเยาวชนมีความรู้สึกตื่นตัวในทุกๆวัน ระบายความในใจ กล้าที่จะเปิดเผยมากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาวะโรคซึมเศร้าได้น้อยลงรู้ทันภัยของโรคซึมเศร้ามากขึ้น

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการเยาวชนรุ่นใหม่เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ประจำปีงบประมาณ 2566 จัดทำขึ้นเพื่อเสริมสร้างและป้องกันวัยรุ่นและเยาวชนจากภัยโรคซึมเศร้าที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนสูงขึ้น เนื่องด้วยความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ความกดดันจากการเรียนหนังสือที่มีการแข่งขันสูง สังคมในปัจจุบัน สถาบันครอบครัวที่มีปัญหาความรุนแรงและการอย่าร้างที่เกิดขึ้น ทางสภาเด็กและเยาวชนจึงได้เล็งเห็นถึงปัญหาในด้านนี้จึงได้จัดโครงการขึ้นมาโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชนในตำบลเกาะนางคำ ในการดำเนินโครงการ ประกอบไปด้วยการอบรมในหัวข้อที่สอดคล้องกับแนวทางการป้องกันโรคซึมเศร้า โดยมีเป้าหมายดังนี้ คือ 1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้าและความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าว
2. เด็กและเยาวชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหลีกเลี่ยงจากการเกิดภาวะโรคเครียดและรู้จักสร้างกำลังใจและให้คุณค่าแก่สังคม 3. เด็กและเยาวชนมีความรู้สึกตื่นตัวในทุก ๆ วัน กล้าระบายความในใจ และแสดงออกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ภาวะโรคซึมเศร้าลดน้อยลง ภายหลังจากการเข้าร่วมการอบรมทำให้ผู้เข้าร่วมอบรม ได้รับความรู้และความเข้าใจในเรื่องของโรคซึมเศร้ามากขึ้นข้อคิดจากวิทยากรที่ให้ความรู้ ความสนุกสนานในการเข้าร่วมกิจกรรม กล้าแสดงออกสามารถแสดงความคิดเห็นความคิดสร้างสรรค์ การเข้าร่วมกับผู้อื่นได้ รู้จักเพื่อนๆต่างโรงเรียน มองโลกในแง่ดี เห็นคุณค่าในตัวเองมากขึ้น และผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน เผยแพร่ให้กับผู้อื่นเพื่อเป็นการช่วยเหลือคนอื่นให้ห่างจากโรคซึมเศร้าไปด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของตนเองต่อไปในอนาคต      ผลจากการดำเนินโครงการเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้จากการอบรมการป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ซึ่งสามารถเข้าใจถึงสาเหตุ อาการโรคซึมเศร้าและวิธีป้องกัน ผ่านกระบวนการกลุ่มโดยแต่ละกลุ่มโดยช่วยกันระดมความคิดเพื่อตอบหัวข้อที่ได้รับจากวิทยากร ดังนี้ กลุ่มที่ 1 สาเหตุของโรคซึมเศร้า 1. ความผิดปกติของสารเคมีในสมอง 2. เพื่อนแกล้งอาจเป็นเหตุทำให้เกิดความกดดัน 3. สภาพแวดล้อมที่มีความกดดัน 4. ลักษณะนิสัยการมองโลกในแง่ร้าย 5. จากพันธุกรรม กลุ่มที่ 2 อาการของโรคซึมเศร้า 1. เครียด คิดมาก 2. คิดสั้น 3. ทำร้ายร่างกายตัวเอง 4. เก็บตัวอยู่คนเดียว 5. เบื่อหน่าย นอนไม่ร้าน 6. สมาธิลดลง 7. น้ำหนักลดลงหรือ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 8. ร่างกายอ่อนแอ และเหนื่อยง่าย
กลุ่มที่ 3 วิธีการป้องกัน 1. ไม่อยู่ลำพังคนเดียว 2. พยายามคิดเรื่องและมองโลกในแง่ดี
3. ควบคุมอารมณ์จากความเครียด 4. หากิจกรรมที่ทำให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยว 5. ปรึกษาคนรอบข้างที่เข้าใจ ความรู้สึกเรา 6. หาความสุขให้กับตัวเองมากขึ้น นอกจากกระบวนการระดมความคิดข้างต้นแล้ว ยังมีกิจกรรมระบายความรู้สึกที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นหรือความเสี่ยง ของการเกิดโรคซึมเศร้า โดยได้จำแนกสาเหตุออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ บ้าน โรงเรียน และเพื่อน ดังนี้ บ้าน เด็กและเยาวชนบางส่วนได้รับความกดดันจากพ่อ-แม่ รู้สึกว่าพ่อแม่ไม่รัก ลำเอียงและไม่รับฟังความคิดเห็น ทั้งโดนทำร้ายร่างกายและจิตใจ ครอบครัวไม่อบอุ่นเนื่องจากพ่อ-แม่อย่าร้าง และบางครอบครัวมีฐานะยากจน ทำให้พ่อ-แม่ ไม่สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆของตนเองได้ โรงเรียน เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่จะเครียดเรื่องการเรียนและการสอบ เช่น เรียนไม่ทันเพื่อนหรือสอบไม่ผ่านในบางวิชา การไม่รู้จักตัวเองว่าตัวเองไม่ถนัดด้านไหนจึงทำให้ไม่รู้ว่าจะต้องไปเรียนต่อที่ไหน ส่วนอีกอย่างที่สำคัญ คือ การถูกคุณครูดุด่าจำทำให้เด็กขาดความมั่นใจ และไม่อยากไปโรงเรียน เพื่อน เด็กและเยาวชนบางคนโดนเพื่อนๆ ดุด่า กลั่นแกล้ง รังแก ทั้งทางวาจาและร่างกายส่งผลกระทบต่อความรู้สึกจนอาจเกิดเป็นแผลภายในใจจนยากที่จะเยียวยา จากการแสดงออกทางความคิดทั้งหมด ทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับดูแลเอาใจใส่เด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิด โดยวิธีการดังนี้ 1. ให้ความสนใจและพูดคุยกับวัยรุ่นบ่อยๆ สังเกตพฤติกรรม สอบถามสารทุกข์สุกดิบ ความรู้สึก เพื่อประเมิน/ช่วยแก้ปัญหาในเบื้องต้น 2. ใช้เหตุผลให้เหมาะสมกับวัย ไม่ใช้อารมณ์ มีท่าทีที่เป็นมิตรและอบอุ่น เปิดโอกาสให้เล่าปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่กดดัน ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย 3. คุณครูช่วยสังเกตพฤติกรรม เนื่องจากเด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่โรงเรียน และพูดคุยกับคุณครู เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล/ปัญหาที่พบที่พบที่บ้านและโรงเรียนเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาอย่างไกล้ชิด 4. การทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก/วัยรุ่น เนื่องจากการออกกำลังกายช่วยหลั่งฮอร์โมนความสุข ทั้งนี้ลองหากิจกรรมใหม่ๆ บรรยากาศใหม่ๆ เพื่อพักผ่อน นอกเหนือจากการเรียนเพื่อให้เด็ก/วัยรุ่นไม่หมกหมุ่น เก็บตัวอยู่คนเดียว 5. หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพาไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อประเมินอาการ/ความรุนแรง การปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในกรณีมีอาการซึมเศร้ารุนแรง ซึ่งเมื่อได้รับการบำบัดรักษาอย่างถูกต้อง เด็ก/วัยรุ่นก็สามารถจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในอาการเบื้องต้นได้ ร้อยละ 80
0.00

 

2 เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าและกำลังใจในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ มีความตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตตนเอง และสามารถให้กำลังใจตนเองในดำเนินชีวิตได้ ร้อยละ 80
0.00

 

3 ส่งเสริมกิจกรรมการกระตุ้นตื่นตัวและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าร่วมโครงการฯ สามารถสร้างแรงกระตุ้นตื่นตัวในการทำเรียนและทำกิจกรรมต่างๆ ร้อยละ 70 และสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกันในสังคมร้อยละ 100
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันภาวะซึมเศร้า (2) เพื่อเพิ่มความรู้สึกคุณค่าและกำลังใจในตนเองและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข (3) ส่งเสริมกิจกรรมการกระตุ้นตื่นตัวและเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นมากขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ความเครียดและปัญหาการซึมเศร้าในปัจจุบัน (2) แบ่งกลุ่มทำกิจกรรมบำบัดสร้างแรงตื่นตัว (3) ติดตามและประเมินผลหลังจบโครงการหลัง 3 เดือน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


เยาวชนรุ่นใหม่ เข้มแข็งจากภายใน ป้องกันภัยจากโรคซึมเศร้า ปี 2566 จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 66-L3333-02-11

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวยุไหว หล๊ะละโต๊ะ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด