กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเครือข่ายติดตามวัคซีนแบบยั่งยืนในเด็กอายุ 0-5 ปี
รหัสโครงการ 66-L4156-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายรีฎวน มะเซ็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 พ.ค. 2566 24 พ.ค. 2566 20,700.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 20,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการศึกษาระบาดวิทยาของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนโดยในปี 2563 พบผู้ป่วย 2,926 ราย เสียชีวิต 23 ราย และในปี 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิถุนายน 2564 พบผู้ป่วยแล้ว 1,908 ราย เสียชีวิต 12 ราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุน้อยกว่า 1 ปี รองลงมา กลุ่มอายุ 1-4 ปี อายุ 20-29 ปี อายุ 5-9 ปี และอายุ 30-39 ปี จากการสอบสวนโรคพบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 84 ไม่เคยได้รับวัคซีน หรือไม่แน่ใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคเป็นอย่างมาก “โรคหัดในประเทศไทยแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่ โดยในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบถ้วนตามเกณฑ์ในช่วงที่ผ่านมานั้นการระบาดของโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ยังพบการระบาดของโรคหัด และ โรคคอตีบ ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่รุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างมาก การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอที่ผ่านมานั้นรพ.สต.เกะรอ ได้มีการจัดบริการคลินิกเด็กดี 4 ครั้งต่อเดือน โดยกำหนดเป็นช่วงเช้าบริการฉีดวัคซีนที่มาตามนัดและช่วงบ่ายเชิงรุกในพื้นที่ยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ รพ.สต.เกะรอจึงจัดทำโครงการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเชิงรุกในเด็กอายุ 0-5 ปี เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรับบริการไม่ว่าจะเป็นการใช้สื่อสังคมออนไลน์ เฟสบุ้ค ไลน์ สามารถเพิ่มและติดตามความครอบคลุมการมารับวัคซีนขั้นพื้นฐานในเด็ก0-5 ปีให้บรรลุเป้าหมายตามนโยบายสาธารณสุขที่กำหนดได้และสามารถลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ในการติดตามการมารับวัคซีนได้ในการพัฒนาระบบนัดการติดตามวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ ทำให้กลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครอบคลุม ลดการป่วยด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ลดภาระการกำจัดโรค ลดภาระการดูแลผู้ป่วย ซึ่งประเทศชาติต้องสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องวัคซีนแก่ผู้ปกครอง

ผู้ปกครองเข้ารับการอบรมให้ความรู้เรื่องวัคซีน ร้อยละ 100

2 เพื่อให้เด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนตามนัด

เด็กอายุ 0-5 ปี มารับบริการฉีดวัคซีนตามนัดร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 09:50 น.