กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการหนูน้อยตำบลเกะรอฟันสวยเริ่มที่ซี่แรก
รหัสโครงการ 66-L4156-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ
วันที่อนุมัติ 22 มีนาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวรัสภา แบลือแบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกะรอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.535,101.576place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 พ.ค. 2566 24 พ.ค. 2566 20,950.00
รวมงบประมาณ 20,950.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 110 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก จะทำให้เด็กมีสุขภาพดี การป้องกันโรคฟันผุในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แม่ตั้งครรภ์ เพราะฟันน้ำนมของเด็กเริ่มสร้างและมีการสะสมแร่ธาตุเกือบสมบูรณ์ขณะอยู่ในครรภ์ประกอบกับปัจจุบันมีหลักฐานที่สนับสนุนว่าการเป็นโรคปริทันต์มีผลต่อการเกิดภาวการณ์คลอดก่อนกำหนดและเด็กน้ำหนักแรกเกิดน้อยแม่ที่มีฟันผุจะมีเชื้อจุลินทรีย์ในปากจำนวนมาก ซึ่งเชื้อนี้สามารถถ่ายทอดสู่ลูกได้ทางน้ำลายและจากข้อมูลทางระบาดวิทยาของประเทศไทยพบว่าช่วงอายุ 0-3 ปี เป็นช่วงที่อัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมของเด็กเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นช่วงวัยสำคัญที่สุดในการป้องกันฟันผุ เพราะวัยนี้ถ้าช่องปากไม่สะอาดจะเอื้อต่อการเกิดคราบจุลินทรีย์ ทำให้เกิดฟันผุอย่างรวดเร็วส่งผลให้เด็กมีฟันผุทั้งปากแต่ถ้าช่วงวัยนี้ช่องปากสะอาด มีแนวโน้มว่าเด็กจะฟันผุน้อย หรือปราศจากฟันผุการส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กปฐมวัยที่สำคัญในช่วงนี้ ได้แก่ การควบคุมอาหารหวานและการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ วันละ ๒ ครั้ง ควบคู่ไปกับการป้องกันโรคฟันผุโดยเน้นการตรวจคัดกรองเด็กที่มีความเสี่ยงต่อฟันผุ เพื่อทาฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูง เช่น ฟลูออไรด์วานิช     ผลจากการตรวจสุขภาพช่องปากของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ พบว่าผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้ ขาดความตระหนักในการเอาใจใส่ในการดูแลสุขภาพช่องปากของบุตร ทำให้ฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกะรอ จึงเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปากในคลินิกเด็กดี เพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว จึงจัดทำโครงการ ส่งเสริมสุขภาพช่องปากในเด็กอายุ 0-3 ปี ซึ่งเป็นการปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเด็กที่ยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็ก 0-3 ปี ได้รับการตรวจฟันและทาฟลูออไรด์วานิชป้องกันโรคฟันผุ

ร้อยละ 100 เด็ก 0-3 ปีได้รับการตรวจฟัน และเคลือบฟันด้วยสารฟูออไรด์วานิช

100.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก0-3 ปีมีทักษะแปรงฟันให้ลูกที่สะอาดและถูกวิธี

ร้อยละ 100 ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปีมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มขึ้น

100.00
3 เพื่อให้ความรู้เรื่องทันตสุขภาพแก่ผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี

ร้อยละ 100 ของผู้ปกครองเด็ก 0-3 ปี ที่เข้าร่วมอบรมสามารถตรวจสุขภาพช่องปาก ได้

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก อายุ 0-3 ปี(8 มิ.ย. 2566-9 มิ.ย. 2566) 20,950.00                        
รวม 20,950.00
1 อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก อายุ 0-3 ปี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 20,950.00 1 20,950.00
8 มิ.ย. 66 อบรมให้ความรู้ทันตสุขศึกษาแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก อายุ 0-3 ปี 110 20,950.00 20,950.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครอง 0-3 ปี มีความรู้เกี่ยวเรื่องทันตสุขภาพเพิ่มขึ้น
  2. ผู้ปกครองสามารถแปรงฟันให้ลูกสะอาดและถูกวิธี
  3. เด็ก 0-3 ปี มีโรคฟันผุลดลง
  4. ผู้ปกครองมีเห็นความสำคัญ และตระหนักเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
  5. ผู้ปกครอง 0-3 ปี สามารถตรวจฟันได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 10:00 น.