กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านหารร่วมใจ ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปี 2566
รหัสโครงการ 66-L5221-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 24 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 ธันวาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 77,220.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพนมมาศ สารชนะ, นางห่ำด๊ะ หมัดอะดั้ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข แบ่งรูปแบบการดำเนินงานออกเป็น ๕ ด้าน คือ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้ง ๕ ด้านนั้น สามารถทำให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรงได้ แต่การที่จะทำให้ได้ทั้ง ๕ ด้านนั้น เป็นเรื่องที่ยาก เพราะปัจจุบันบริบทของการเกิดโรคได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือในอดีตการสาธารณสุขไทยยังไม่ก้าวหน้าเท่าในปัจจุบัน ประชาชนมักเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่เกิดจากปฏิกิริยาของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสที่กระทำต่อร่างกาย เช่นไข้หวัดใหญ่ อุจจาระร่วงเป็นต้น แต่ปัจจุบันการแพทย์และการสาธารณสุขก้าวหน้าขึ้นรวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปโรคที่เกิดขึ้นกับประชาชน จึงกลายเป็นโรคการไม่ดูแลพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ อุบัติเหตุ ฯลฯ อีกทั้งยังมีโรคที่กลับมาเป็นปัญหาที่สำคัญอีก เช่น โรควัณโรค โรคเอดส์ โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ และโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคโควิด-19 เป็นต้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวทุกฝ่าย ต้องผนึกกำลังสร้างค่านิยมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนเน้นให้เข้ามามีบทบาทในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพของชุมชนได้เอง เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพที่มีอยู่ในชุมชนให้เข้มแข็งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งบริการสาธารณสุขต้องมีการจัดกิจกรรมที่สามารถพัฒนาและปฏิบัติการโดยเน้นเชิงรุก พัฒนารูปแบบที่เป็นนวัตกรรม ที่ใช้ความรู้นำมุ่งเน้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่านิยมของประชาชน เกิดการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ลดอัตราเสี่ยงกับการเกิดโรค ทำให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืน ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ้านหาร ซึ่งมีบทบาทในการส่งเสริม และพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขให้สามารถดูแล และมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพของประชาชนในชุมชน ด้วยเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ด้านสุขภาพให้บริการสาธารณสุขขั้นพื้นฐานและเชื่อมประสานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในชุมชนเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน จึงมีนโยบายที่จะพัฒนาระบบการเฝ้าระวัง การส่งเสริมสุขภาพ และดูแลผู้ป่วยด้วยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอสม.บ้านหาร ห่วงใยใส่ใจประชาชน ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม. ได้รับการพัฒนาทักษะการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการในชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง

 

2 ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการ ได้รับการเยี่ยมบ้านโดยอสม. เพื่อให้ความรู้ แนะนำการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

 

3 อสม.มีความรู้และทักษะในการปฐมพยาบาล และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) ได้อย่างถูกต้อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่ มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ครอบครัวและญาติของผู้ป่วยสามารถดูแลผู้ป่วยได้ถูกต้อง และได้รับกำลังใจเสริมพลังจากการดูแลของเครือข่ายในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2566 11:30 น.