กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ
รหัสโครงการ L5300-66-3-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 39,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประไพ อุบลพงษ์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ โรงเรียนบ้านคลองขุด
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์)
42.00
2 ร้อยละของผู้สูงอายุที่มีกลุ่มหรือสังกัดชมรม
45.00
3 ร้อยละสถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ
50.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุไทยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย โรคดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนสุขภาพ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต คือ ความสุข อันเกิดจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม (ลัดดา, 2555: 14-15) โดยการมีสุขภาพที่ดีย่อมเกิดจากการที่บุคคลทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมสุขภาพของตนเอง (Pender, 1996: 98) และนอกจากการที่ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว ยังสามารถรับการดูแลจากบุคคลอื่นได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการสนับสนุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่กระทำต่อผู้สูงอายุเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น (Cohen and Syme, 1985: 3-4) การสนับสนุนทางสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามวัย ชะลอความเสื่อมอันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แนวทางการดูแลสุขภาพควรมุ่งไปที่การป้องกัน มากกว่าการรักษาโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปีเหล่านี้จะทำให้เป็นวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถมีสุขภาพที่ดี ลดการพึ่งพิงผู้อื่น ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกับวัยอื่น แต่ควรคำนึงถึงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายที่มีน้อยกว่า ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ 3 ประเภท คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายที่มีแรงต้าน และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นโดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการออกกำลังกายที่มีการทำงานร่วมกันของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด จึงจะนำกิจกรรมเข้าจังหวะพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุในตำบลคลองขุด เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะขึ้นมา เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกาย มีร่างกายแข็งแรงจิตใจแจ่มใสเบิกบานได้พูดคุยกับเพื่อนวัยใกล้เคียงกัน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ

จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น

50.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น

45.00 50.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น

42.00 45.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,950.00 3 39,950.00
1 - 31 ก.ค. 66 ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น 0 1,500.00 1,500.00
1 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย 0 36,950.00 36,950.00
1 - 30 ก.ย. 66 ประชุมสรุปโครงการ 0 1,500.00 1,500.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงจากการออกกำลังกายโดยกิจกรรมเข้าจังหวะ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2.ทำให้ผู้สูงอายุมีความตระหนักถึงคุณค่าของการจัดกิจกรรมเข้าจังหวะเพื่อออกกำลังกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2566 13:20 น.