กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด


“ โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ ”

โรงเรียนบ้านคลองขุด

หัวหน้าโครงการ
นางประไพ อุบลพงษ์

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ

ที่อยู่ โรงเรียนบ้านคลองขุด จังหวัด

รหัสโครงการ L5300-66-3-7 เลขที่ข้อตกลง 35/2566

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน โรงเรียนบ้านคลองขุด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ " ดำเนินการในพื้นที่ โรงเรียนบ้านคลองขุด รหัสโครงการ L5300-66-3-7 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 39,950.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุไทยเป็นโรคเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไตวาย โรคดังกล่าวสามารถนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพและการเสียชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นภาวะที่บั่นทอนสุขภาพ สิ่งที่ผู้สูงอายุต้องการมากที่สุดในช่วงบั้นปลายชีวิต คือ ความสุข อันเกิดจากการมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 องค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่ การมีสุขภาพที่ดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม (ลัดดา, 2555: 14-15) โดยการมีสุขภาพที่ดีย่อมเกิดจากการที่บุคคลทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และส่งเสริมสุขภาพของตนเอง (Pender, 1996: 98) และนอกจากการที่ผู้สูงอายุดูแลสุขภาพของตนเองแล้ว ยังสามารถรับการดูแลจากบุคคลอื่นได้ด้วย หรือที่เรียกว่าการสนับสนุนทางสังคม โดยกิจกรรมที่กระทำต่อผู้สูงอายุเน้นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาวะสุขภาพส่งผลให้สุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุดีขึ้น (Cohen and Syme, 1985: 3-4) การสนับสนุนทางสังคมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ โดยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีตามวัย ชะลอความเสื่อมอันเป็นสิ่งบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ แนวทางการดูแลสุขภาพควรมุ่งไปที่การป้องกัน มากกว่าการรักษาโดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปีเหล่านี้จะทำให้เป็นวัยสูงอายุที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะการออกกำลังกายเป็นสิ่งจำเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้สูงอายุสามารถมีสุขภาพที่ดี ลดการพึ่งพิงผู้อื่น ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันไม่เจ็บป่วยง่าย ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้เช่นเดียวกับวัยอื่น แต่ควรคำนึงถึงความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายที่มีน้อยกว่า ผู้สูงอายุสามารถออกกำลังกายได้ 3 ประเภท คือ การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือด การออกกำลังกายที่มีแรงต้าน และการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นโดยการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของหัวใจและหลอดเลือดการออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เป็นการออกกำลังกายที่มีการทำงานร่วมกันของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ทำให้ความสามารถในการใช้ออกซิเจนของร่างกายเพิ่มมากขึ้น
ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด จึงจะนำกิจกรรมเข้าจังหวะพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายให้กับผู้สูงอายุในตำบลคลองขุด เพื่อพัฒนาสุขภาพกายและสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะขึ้นมา เพื่อประโยชน์ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุให้มีสุขภาพที่ดีจากการออกกำลังกาย มีร่างกายแข็งแรงจิตใจแจ่มใสเบิกบานได้พูดคุยกับเพื่อนวัยใกล้เคียงกัน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ
  3. เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น
  2. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย
  3. ประชุมสรุปโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงจากการออกกำลังกายโดยกิจกรรมเข้าจังหวะ ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความสามัคคีของคนในชุมชน ทำให้มีพื้นที่สร้างสรรค์ทางสังคม ในการพบปะ พูดคุย และทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน 2.ทำให้ผู้สูงอายุมีความตระหนักถึงคุณค่าของการจัดกิจกรรมเข้าจังหวะเพื่อออกกำลังกาย


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงปัญหาสุขภาพเบื้องต้นของตนเอง

 

0 0

2. อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

2.อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย   1. การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)   2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ   3. การอบอุ่นร่างกาย 25 ท่า   4. การออกกำลังกาย จังหวะบีกิน ๔ วัน จังหวะรุมบ้า ๔ วัน  จังหวะตะลุง ๔ วัน
  5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการลดระดับความหนักของท่าให้ช้าลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดความสามัคคี มีสุขภาพกายและจิตที่ดี

 

0 0

3. ประชุมสรุปโครงการ

วันที่ 1 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมสรุปโครงการและตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังเสร็จสิ้นโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมโครงการทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลังเข้าร่วมโครงการ

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและส่งเสริมอาชีพตำบลคลองขุด ได้จัดทำโครงการส่งเสริมโครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ โดยมีกิจกรรมดังนี้
1.อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย   1. การอบอุ่นร่างกาย (Warm Up)   2. การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ   3. การอบอุ่นร่างกาย 25 ท่า   4. การออกกำลังกาย จังหวะบีกิน ๔ วัน จังหวะรุมบ้า ๔ วัน จังหวะตะลุง ๔ วัน
  5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ โดยการลดระดับความหนักของท่าให้ช้าลง
โดยระยะเวลาในการฝึกอบรม จำนวน 14 วัน ดังนี้ วันที่ 9,10,11,12,13,14,16,17,18,21,22,23,26,27 สิงหาคม 2566 ณ โรงเรียนบ้านคลองขุด
เมื่ออบรมเสร็จแล้วครบตามกำหนดได้มีการจัดกิจกรรมออกกำลังกายโดยกิจกรรมเข้าจังหวะ สัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 3 วัน
จากการดำเนินโครงการมีปัญหาอุปสรรคดังนี้ ระยะเวลาในการดำเนินโครงการมีน้อยสำหรับการฝึกให้ผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุ การเรียนรู้เริ่มช้าลง ต้องมีการทบทวนก่อนทุกวันก่อนที่จะฝึกฝนท่าใหม่ได้ ทำให้ระยะเวลาที่มีไม่เพียงพอในการฝึกอบรมให้ครบทุกท่า

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : จำนวน สถานที่หรือพื้นที่สาธารณะที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น
50.00 60.00 0.00

 

2 เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุมีกลุ่มหรือสังกัดชมรม เพิ่มขึ้น
45.00 50.00

 

3 เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ
ตัวชี้วัด : ผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (150 นาทีต่อสัปดาห์) เพิ่มขึ้้น
42.00 45.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ (2) เพื่อเพิ่มการเข้าร่วมกลุ่ม/ชมรม ของผู้สูงอายุ (3) เพื่อเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุ ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมชี้แจงและตรวจสุขภาพเบื้องต้น (2) อบรมเชิงปฏิบัติการการออกกำลังกาย (3) ประชุมสรุปโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนาสุขภาพกายสุขภาพจิตด้วยกิจกรรมเข้าจังหวะ จังหวัด

รหัสโครงการ L5300-66-3-7

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางประไพ อุบลพงษ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด