กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รหัสโครงการ 66-L5169-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน
วันที่อนุมัติ 6 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 14 กรกฎาคม 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 90,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายแหลม แก้วอาภรณ์ ประธานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลทุ่งลาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 14 ก.ค. 2566 30 ก.ย. 2566 90,000.00
รวมงบประมาณ 90,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากปัจจัยการลดลงของอัตราเกิดและอายุขัยเฉลี่ยของประชากรที่ยืนยาวขึ้น ขณะเดียวกันผู้สูงอายุก็มีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุในปัจจุบันสูงกว่าของประชากรโดยรวม ขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุวัยปลายก็สูงกว่าอัตราการเพิ่มของกลุ่มผู้สูงอายุวัยต้นมีผลให้จำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุของไทย เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุวัยปลายปัญหาการเพิ่มของจำนวนผู้สูงอายุคาดว่าจะทวีความรุนแรงขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้าแม้จะมีอายุเกิน60ปีขึ้นไปร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติแต่สภาพจิตใจยังคงเป็นปกติเหมือนเดิม มีความรู้สึกและมีความสามารถทำหน้าที่การงานได้อย่างปกติและตระหนักดีว่ายังไม่แก่จนทำอะไรไม่ได้หรือยอมรับความบกพร่องของร่างกายและปัญหาสุขภาพ การเกิดโรคและการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจจนไม่สามารถช่วยตนเองได้ ต้องพึ่งพิงครอบครัว ญาติ ชุมชนและสังคมผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุจึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกายเกิดภาวะพึ่งพาไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อยหรือมีอาการสมองเสื่อม ทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแลเกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุดสิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุขศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานเทศบาลตำบลตำบลทุ่งลานอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาพบว่าในปีพ.ศ. 2559มีผู้สูงอายุจำนวน996คน , ในปีพ.ศ. 2560มีผู้สูงอายุจำนวน1,034คน, ในปีพ.ศ. 2561มีผู้สูงอายุจำนวน1,067คนและปัจจุบันในปีพ.ศ. 2562มีผู้สูงอายุจำนวน1,116คนจากจำนวนประชากรทั้งหมดจำนวน7,186คน(ชาย3,488คน / หญิง3,698คน) คิดเป็น15.55เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งลานตำบลทุ่งลานได้เข้าสู่สังคมสูงวัยผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นผู้สูงอายุ 1,343คน(17.83 %)ผู้สูงอายุพึ่งพิง20คน(ร้อยละ 1.48) อีกทั้งสถานการณ์ปัจจุบันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID – 19)หลายประเทศทั่วโลกต่างมีความตระหนักมุ่งเน้นในเรื่องของการดูแลรักษา พัฒนาสุขภาพและพลานามัย ที่ดีของประชาชนให้เกิดความสมบูรณ์แข็งแรง ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อป้องกันมิให้ประชาชนติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019(COVID – 19) ซึ่งจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชาติซึ่งเมื่อคนในชาติมีคุณภาพก็จะเป็นผู้ที่พัฒนาประเทศชาติให้มีความเข้มแข็งเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนโดยดำเนินการควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวอันเป็นพื้นฐานที่สำคัญของสังคมจัดให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยอย่างเหมาะสม รวมถึงการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตเสริมสร้างให้คนไทยมีสุขภาวะที่ดีครอบคลุมทั้งด้านกายใจสติปัญญาและสังคมส่งเสริมและพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีจิตใจเข้มแข็ง ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพและความสามารถสูงขึ้น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ที่จะดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะของโรค และควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต ประกอบกับรัฐบาลได้มีนโยบายในเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีและการใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุขสร้างสรรค์และไม่ก่อภาระต่อสังคมในอนาคตโดยจัดเตรียมระบบการดูแลในบ้าน สถานพักฟื้นและโรงพยาบาล ที่เป็นความร่วมมือของภาครัฐภาคเอกชนชุมชนและครอบครัวรวมทั้งพัฒนาระบบการเงินการคลังสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ ในการนี้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานเทศบาลตำบลตำบลทุ่งลานอำเภอคลองหอยโข่งจังหวัดสงขลาจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลทุ่งลานประจำปี พ.ศ. 2566ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ ทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกาย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี

ร้อยละ 80  ของกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

50.00 60.00
2 2 เพื่อให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย สร้างความมีคุณค่าในตนเอง และมีสุขภาพจิตที่ดี

ผู้สูงอายุในตำบลทุ่งลาน เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัย  สร้างความมีคุณค่าในตนเอง  และมีสุขภาพจิตที่ดี  จำนวน  60  คน

50.00 60.00
3 3 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”

ผู้สูงอายุในตำบลทุ่งลาน  เข้าร่วมกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม  ไม่ลืม  ไม่เศร้า  กินข้าวอร่อย”  จำนวน  60  คน

50.00 60.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 90,000.00 0 0.00
14 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 การตรวจสุขภาพและจดสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ 0 0.00 -
14 ก.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 อบรมให้ความรู้เรื่องสุขภาพและการออกกำลังกาย 60 90,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการดูแลตามความเหมาะสมมีความรู้มีทักษะในการดูแลสุขภาพร่างกายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี
  2. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยและมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับการพัฒนาด้านจิตใจสุขภาพสังคม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2566 00:00 น.