กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน ”
ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี



หัวหน้าโครงการ
นางสกีน๊ะ วาเลาะ




ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน

ที่อยู่ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 66-L01-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2566 ถึง 31 สิงหาคม 2566

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พิเทน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลพิเทน อำเภอทุ่งยางแดง จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 66-L01-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2566 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 14,770.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พิเทน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมสูงอายุ โดยมีสัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุมากกว่า ร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ ตามคำนิยามขององค์การสหประชาชาติ จากสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบ ทั้งทางด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม  การเตรียมการเพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงอายุจึงเป็นประเด็น ที่สำคัญ เนื่องจากผู้สูงอายุเป็นกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพที่เรื้อรังซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การดูแลผู้สูงอายุมีเป้าหมายหลัก คือ “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ดูแลตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี” เป้าหมายรอง คือ “สุขเพียงพอ ชะลอชรา ชีวายืนยาว” ประเด็นที่ต้องการดำเนินการดูแล ได้แก่การเคลื่อนไหว โภชนาการ สิ่งแวดล้อม สุขภาพช่องปากสมองดีและ  มีความสุข กระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีระบบสุขภาพปฐมภูมิที่เข้มแข็งและเป็นรากฐานของระบบสาธารณสุขไทย มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแบบชีวิตวิถีใหม่ และต่อยอดการดำเนินงานด้วยนโยบาย “คนไทยทุกครอบครัวมีหมอประจำตัว 3 คน” ประสานการทำงานดูแลประชาชนที่บ้านและชุมชนแบบ “ใกล้ตัว ใกล้บ้าน ใกล้ใจ” เพิ่มความครอบคลุมให้ได้รับบริการต่อเนื่อง ลดการเดินทาง ลดความแออัดของโรงพยาบาลขนาดใหญ่ เน้นการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และส่งต่อรักษาในโรคซับซ้อนยุ่งยาก และได้กำหนดนโยบายให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพแข็งแรงตามวัย ขยายโอกาสดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า เนื่องจากประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมืออย่างจริงจังและต่อเนื่องในการเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุทุกคนตลอดจนบุคคลในครอบครัวและชุมชน เนื่องจากจำนวนและสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นเช่นนี้ เนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าขึ้น ทำให้อัตราตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของโรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อมถอยทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข ผู้สูงอายุจึงควรให้ความสนใจดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงมีคุณภาพชีวิตที่ดี ป้องกันการเกิดโรคต่างๆรวมทั้งฟื้นฟูสุขภาพเมื่อมีภาวะโรคและควบคุมให้ภาวะของโรคเหล่านั้นมีอาการคงที่ ไม่กำเริบรุนแรงหรือเสื่อมถอยมากกว่าเดิม จะทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า สามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต

        สถานการณ์ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทนพบว่าในปี พ.ศ.2564 มีจำนวนผู้สูงอายุ ร้อยละ 10.67 ปี พ.ศ.2565 จำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 10.52 และ ปี พ.ศ.2566 จำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 10.41 เทียบกับจำนวนประชากรทั้งหมดในแต่ละปี จะเห็นได้ว่าในพื้นที่ตำบลพิเทน มีสัดส่วนผู้สูงอายุเกินร้อยละ 10 ของประชากร จากการวิเคราะห์ผลการคัดกรองผู้สูงอายุที่คัดกรองโดยอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลพิเทนที่ผ่านมา พบว่ายังคัดกรองผู้สูงอายุไม่ถูกต้องตามแบบประเมิน ทำให้ไม่สามารถแยกประเภทของกลุ่มผู้สูงอายุได้ชัดเจน และยังไม่ได้มีการจัดทำแผนการดูแลผู้สูงอายุ ทำให้กลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพึง ไม่ได้รับการดูแลตามสิทธิที่ควรจะได้รับทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิเทน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการคัดกรองผู้สูงอายุจึงได้จัดทำโครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทนขึ้น เพื่อจะได้จัดประเภทกลุ่มผู้สูงอายุ ติดสังคม ติดบ้าน ติดเตียง ในโปรแกรม 3 หมอรู้จักคุณ และจัดระบบฐานข้อมูลให้การดูแลตามกลุ่มผู้สูงอายุต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ๑.เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานสามารถประเมินสุขภาพคัดกรองผู้สูงอายุได้ถูกต้อง 2.เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลให้การดูแลตามกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน 73
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    ๑.อสม.มีความรู้ ทักษะและการปฏิบัติงานประเมินสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 100 ๒.ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและได้รับการดูแลที่เหมาะสม ร้อยละ 95


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ๑.เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานสามารถประเมินสุขภาพคัดกรองผู้สูงอายุได้ถูกต้อง 2.เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลให้การดูแลตามกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 73
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน 73
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ๑.เพื่อให้อสม.มีความรู้และทักษะการปฏิบัติงานสามารถประเมินสุขภาพคัดกรองผู้สูงอายุได้ถูกต้อง        2.เพื่อจัดระบบฐานข้อมูลให้การดูแลตามกลุ่มผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการฟื้นฟูความรู้การดูแลผูสูงอายุในพื้นที่ตำบลพิเทน จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 66-L01-17

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสกีน๊ะ วาเลาะ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด