กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันการตกน้ำ จมน้ำในเด็กนักเรียน ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L2534-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวมโรงพยาบาลสุคิริน
วันที่อนุมัติ 10 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2566 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 36,375.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมัสลาน สีอ่อน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 70 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของกลุ่มเด็กวัยเรียนเเละเยาวชนที่ว่ายน้ำไม่เป็น
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กนักเรียนในวัยเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับอันตรายหรืออันตรายถึงชีวิตจากพฤติกรรมการเล่นน้ำที่ไม่ปลอดภัยของกลุ่มนักเรียนระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาตอนต้น ส่วนเด็กชั้นอนุบาลจะมีความเสี่ยงของการตกน้ำ จมน้ำได้ง่ายกว่าเด็กกลุ่มอื่นๆ หากโรงเรียนมีแหล่งน้ำเสี่ยงควรได้รับการแก้ไขทันที จากตัวเลขสถิติการเสียชีวิตที่ไม่น้อย ทำให้ "การจมน้ำ" จึงถูกองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเป็นหนึ่งในภัยเร่งด่วนต่อสุขภาพของสาธารณชน โดยในทางปฏิบัติ WHO และประเทศสมาชิกทั่วโลก ต่างพยายามสร้างความตระหนักและส่งเสริมการดำเนินงานขับเคลื่อนที่สอดประสานกันเพื่อป้องกันภัยจากการจมน้ำร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ในปีหนึ่ง ๆ ทั่วโลก ต้องสูญเสียชีวิตผู้คนไปกว่า 3 แสนคน จากอุบัติเหตุจมน้ำ โดยกว่าร้อยละ 90 ในจำนวนนี้เป็นประชากรในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง ซึ่งครึ่งหนึ่งนั้นยังเป็นเด็กและเยาวชนอนาคตของชาติ โดยเฉพาะเด็กเล็กในวัย 1-4 ปี ถือเป็นวัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ขณะที่ในประเทศไทย "การจมน้ำ" เป็นสาเหตุการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเป็นอันดับ 1 ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่กระทบต่อคุณภาพ ดังนั้นความรู้ในการป้องกันตนเอง การช่วยฟื้นคืนชีพ รวมทั้งทักษะในการช่วยชีวิต โดยใช้หลักการตะโกน โยน ยื่น พฤติกรรมการป้องกันตนเองจากพื้นที่เสี่ยงต่อการตกน้ำจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ เด็กมีชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฟันได้ งานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาเพื่อลดการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่อำเภอสุคิริน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้เด็กนักเรียนและเยาวชน ทักษะและการปฏิบัติในหลักการ ตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR) 2.เพื่อให้เด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลสามารถใช้หลักการ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ได้ 3.เพื่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียนและเยาชนสามารถว่ายน้ำเป็นจนเอาชีวิตรอดจากการประสบเหตุทางน้ำ 4.เพื่อสอนและฝึกหัดให้เด็กนักเรียนและเยาวชนรู้จักและสามารถช่วยชีวิตผู้ประสบเหตุทางน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีมาตรฐานสากล
  1. ประเมินความรู้ ทัศนะคติ การปฏิบัติ ต่อการป้องกันตกน้ำจมน้ำ หลังจากให้ความรู้
  2. ประเมินการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือคนตกน้ำจมน้ำและช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)หลังจากให้ความรู้
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 36,375.00 0 0.00
??/??/???? ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากการตกน้ำจมน้ำ อย่าใกล้ อย่าเก็บ อย่าก้ม ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 0 4,875.00 -
??/??/???? ให้ความรู้เรื่องการป้องกันเด็กจมน้ำ ในเด็กนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 0 31,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการปฏิบัติตัวโดยใช้หลักการ ตะโกน โยน ยื่น และการช่วยฟื้นคืนชีพ(CPR)
2.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตเมื่อเกิดเหตุการณ์ตกน้ำจมน้ำ เช่น ห่วงยาง ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ และวิธีการปฏิบัติตัวเมื่อพบเหตุการณ์ตกน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2566 00:00 น.