กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน ปี 67
รหัสโครงการ 67-L8008-02-27
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมคนหัวใจเพชรตำบลพิมาน
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 พฤศจิกายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 39,740.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดุษณีย์ เครือแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2567 30 พ.ย. 2567 39,740.00
รวมงบประมาณ 39,740.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนชนาธิป
0.72
2 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนปานชูรำลึก
0.86
3 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนหลังโรงพัก
0.96
4 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนซอยปลาเค็ม
1.42
5 ร้อยละของประชาชนที่ดื่มสุราเป็นประจำในชุมชนศาลากันตง
1.52

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มสุราของประชากรในปี 2565 พบว่าในจำนวนประชากรอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป 54.8 ล้านคน เป็นผู้ดื่มสุราในรอบ 12 เดือนที่แล้วประมาณ 17.7 ล้านคน (ร้อยละ 32.3) โดยผู้ชายมีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่าหญิงประมาณ 4เท่า กลุ่มวัยทำงาน (25-59 ปี) มีอัตราการดื่มสุราฯ สูงกว่ากลุ่มอื่น (ร้อยละ 38.2) และมีข้อสังเกตว่ากลุ่มผู้สูงวัยที่ดื่มสุราสูงถึงร้อยละ 18เมื่อพิจารณาถึงความบ่อยครั้งของการดื่มสุราฯ พบว่าร้อยละ 57.6 เป็นผู้ที่ดื่มนานๆ ครั้ง ร้อยละ 42.4 เป็นผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอ เมื่อพิจารณาความถี่หรือความบ่อยครั้งในการดื่มของกลุ่มผู้ที่ดื่มสม่ำเสมอนั้น พบว่าเป็นผู้ที่ดื่ม 5 วันต่อสัปดาห์ขึ้นไปถึงร้อยละ 38.3 ซึ่งในกลุ่มนี้เป็นผู้ที่ดื่มทุกวันสูงถึงร้อยละ 26.3 สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล) จากข้อมูลสถานการณ์การในตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล) จำนวนครัวเรือนตำบลพิมาน(เทศบาลเมืองสตูล) 9,685 หลังประชากรตำบลพิมานทั้งหมด23,808 คนชาย 11,548คนหญิง 12,260 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดใน10ชุมชนประมาณ6,550 คนที่ดื่มประจำประมาณ 315 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 6,435 คน
ชุมชนชนาธิป จำนวน 238 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,372 คน ชาย 682 คนหญิง 690 คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ344 คนที่ดื่มประจำประมาณ 10คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 334 คน ชุมชนปานชูรําลึก จำนวน 633 ครัวเรือนประชากรทั้งหมด 2,317คน ชาย 1,076 คนหญิง 1,241 คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 578 คนทีดื่มประจำประมาณ 20 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 558 คน ชุมชนหลังโรงพัก จำนวน 380 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,559 คน ชาย 760 คนหญิง 799คนคนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 388 คนทีดื่มประจำประมาณ 15 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 373 คน ชุมชนซอยปลาเค็ม จำนวน 170 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 700คน ชาย 319 คนหญิง 381คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ 105 คนทีดื่มประจำประมาณ 10 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 165 คน ชุมชนบ้านศาลากันตง จำนวน 187 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 986 คน ชาย 464 คนหญิง 522 คน คนที่ดื่มเหล้าทั้งหมดในชุมชนประมาณ240 คนทีดื่มประจำประมาณ 15 คนดื่มเป็นครั้งคราวประมาณ 225คน
จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นในแต่ละประเด็นดังกล่าวจึงต้องมีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน โดยการเปิดพื้นที่ให้ความรู้เท่าทันเรื่องของเหล้า บุหรี่ ปัจจัยเสียงต่างๆโดยใช้ช่วงสำคัญของวันเข้าพรรษาเชิญชวน ลด ละเลิก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด บุหรี่ หรือสิ่งเสพติดต่างฯใช้วันสำคัญทางศาสนาเช่นวันพระใหญ่ เชิญชวนเข้าร่วมงดเหล้างดช่วงเข้าพรรษาหรือรณรงค์ให้ความรู้เหล้ากับบุหรี่มีโทษมากกว่าคุณ สร้างแกนนำแต่ละชุมชนสนับสนุนให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษา มีกิจกรรมหนุนเสริมตลอดโครงการมีดังนี้ 1.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานกับแกนนำเชิญชวนคนงดเหล้า 5ชุมชน รวม 30 คน
2.กิจกรรม ช่วย ชม เชียร์ 5 ชุมชน ผู้เข้าร่วม 30 คน
3.กิจกรรมเชิดชูเกียรติคนงดเหล้าครบ3เดือนและคืนข้อมูลให้กับหน่วยงานในพื้นที่จำนวน 70 คน
4. กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนโครงการ
5.กิจกรรมประชุมคณะทำงานชมรมคนหัวใจเพชรตำบลพิมาน งดเหล้างดบุหรี่15คน จำนวน 2 ครั้ง /ต้องมีแหล่งทุนขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมให้เกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงพร้อมทั้งได้รับการพัฒนาศักยภาพที่เหมาะ สมจะช่วยสนับสนุนให้เกิดกลไกลการกระจายโอกาสแก่กลุ่มทีเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาและงดบุหรี่และผู้ใหญ่ที่เข้าร่วมโครง เกิดเครือข่ายดำเนิน งานและแกนนำรายใหม่แต่ละพื้นที่รวมถึงการเชื่อมภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องชุมชน ซึ่งจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤ ติกรรมของผู้ทีเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษางดบุหรี่ในพื้นทีตำบลพิมานที่เอื้อต่อสุขภาวะต่อไป เพื่อให้เกิดความยังยื่นในการขับเคลื่อนงานสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับพื้นที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จำเป็นจะต้องมีแกนนำชุมชนแต่ละชุมชนละ 5 คนเพื่อเป็นแกนหลักได้รวมตัวทำกิจ กรรมงดหล้าเข้าพรรษาและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆเพื่อสังคมในชุมชนของตนเอง โดยมีผู้นำศาสนา(พระ)เป็นที่ปรึกษาหรือผู้นำชุมชนมีแกนนำเยาวชนแต่ละชุมชนที่เป็นผู้ดำเนินงาน เกิดชมรมหัวใจเพชรกิจกรรมทำกับกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีอายุ 15-70 ปี ทั้ง 5 ชุมชนของตำบลพิมานเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนงดเหล้า พัฒนาศักยภาพแกนชุมชนกับคนหัวใจเพชรเพื่อจัดตั้งชมรมคนหัวใจเพชรของตำบลพิมาน ฝึกอบรมการเก็บข้อมูลฝึกการเป็นผู้นำ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันความตระหนักความเข้าใจโทษภัยของปัจจัยเสี่ยงต่างๆให้กับผู้ที่เข้าร่วมงดเหล้างดของเทศบาลเมืองสตูลตำบลพิมานทั้ง เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองทั้ง 5ชุมชน
ทั้งนี้ด้วยต้นทุนด้านศักยภาพของทีมงานกลุ่มลดละเลิกเหล้าตำบลพิมาน มีประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการ และเครือข่ายการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมงดเหล้า เทศบาลเมืองสตูล /วัด/ อำเภอเมืองสตูล/สสอ.เมืองสตูล /คณะทำงานแกนนำชวนคนเลิกเหล้า เลิกบุหรี่เทศบาลเมืองสตูลตำบลพิมาน สามารถสนับสนุนและผลักดันให้โครงการสามารถดำเนินการตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการดื่มแอลกอฮอล์และสร้างชุมชนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  1. มีผู้สมัครเข้าร่วมงดเหล้าเข้าพรรษาจำนวน120 คน
  2. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมงดเหล้าครบพรรษา3เดือน จำนวน30คน
    3.มีวัดเข้าร่วมรณรงค์ ลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 1 วัด
    4.เกิดชุมชนต้นแบบงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2 ชุมชน
    5.มีผู้สามารถงดเหล้าได้อย่างน้อย ร้อยละ 10 ของกลุ่มเป้าหมาย
0.00 30.00
2 เพื่อสร้างแกนนำชุมชนชวนคนเลิกเหล้า 5 ชุมชน

เกิดแกนนำชุมชนชวนคนเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชุมชนละ5คน รวมเป็น 25 คน

0.00 25.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,740.00 0 0.00
1 มิ.ย. 67 - 30 พ.ย. 67 ประชุมคณะทำงานกลุ่มลดละเลิกเหล้า ต.พิมาน 0 3,300.00 -
1 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 เก็บข้อมูลและติดตามพฤติกรรมผู้งดเหล้าเข้าพรรษา ( 3 ครั้ง ) 0 1,040.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 1 0 9,300.00 -
1 ส.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 อบรมฟื้นฟูพลังตับเสริมพลังชีวิตและเวทีช่วยชมเชียร์งดเหล้า ครั้งที่ 2 0 9,300.00 -
1 - 30 พ.ย. 67 เวทีถอดบทเรียนโครงการส่งเสริมชุมชนลดละเลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตำบลพิมาน ปี67 0 6,850.00 -
5 พ.ย. 67 เวทีประชุมคืนข้อมูล ให้กับหน่วยงาน ชุมชน และ เชิดชูเกียรติผู้งดเหล้าครบพรรษา 0 9,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีผู้เข้าร่วมงดเหล้า งดบุหรี่จำนวน 120 คน งดเหล้าครบ 3 เดือนจำนวน 30 คน
  2. มีวัดเข้าร่วมงดเหล้า งดบุหรี่เข้าพรรษา 2 วัด ได้แก่ วัดสตูลสันตยาราม วัดชนาธิปเฉลิม
  3. เกิดพื้นที่รูปธรรมงดเหล้า อย่างน้อย 2 ชุมชน ในชุมชนเป้าหมาย
  4. เกิดแกนนำชุมชนชวนคนงดเหล้า ชุมชนละ 5 คน จำนวน 25 คน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2566 00:00 น.