กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ชีวิตสดใส
รหัสโครงการ 66l304
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านเจาะบือแม
วันที่อนุมัติ 7 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 สิงหาคม 2566 - 11 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 11 กันยายน 2566
งบประมาณ 6,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางมูรีดา ดือราแม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลจะกว๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.498,101.536place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 37 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กปฐมวัย เป็นวัยเริ่มต้นของชีวิต ช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปี เป็น” โอกาสทอง” ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวที่คุ้มค่ามากที่สุด การส่งเสริมให้เด็กมีการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการด้านต่างๆ อย่างเต็มศักยภาพ ถ้าเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี ส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตดี มีร่างกายแข็งแรง สติปัญญาดี มีความสามารถในการเรียนรู้ สร้างระบบภูมิต้านทานโรคและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง ปัจจัยที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของเด็กในชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนต้องร่วมใจ ให้ความสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมภาวะโภชนาการ ทั้งในส่วนของครอบครัว ร้านอาหาร ตลาด ที่มีการผลิตและสนับสนุนอาหารดี สุขภาพดี ชีวิตเป็นสุข เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กบ้านเจาะบือแม ยังไม่พบปัญหาการเจริญเติบโต เพียงแต่ให้ความรู้กับผู้ปกครองในเรื่องการเจริญเติบโต ศูนย์พัฒนาเด็กบ้านเจาะบือแม จึงได้จัดโครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ชีวิตสดใส เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต และให้มีพัฒนาการสมวัย ภายใต้การมีส่วนร่วมของครอบครัว และชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างความตระหนักของผู้ปกครองเด็ก ผู้ดูแลเด็ก และผู้ประกอบอาหาร ในการจัดอาหารสุขภาพแก่เด็กที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ และโภชนาการเกิน 2. ให้ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ดูแลเด็ก มีการเฝ้าระวังปัญหาโภชนาการเด็กในศูนย์ฯ 3. เด็กในศูนย์ฯ มีสุขภาพดี ภายใต้ความร่วมมือของชุมชน
  1. เด็กในศูนย์ฯ มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ ลดลง
  2. ลดปัญหาเด็กมีโภชนาการเกิน
  3. ผู้ปกครองเด็ก ผู้ดูแล และผู้ประกอบอาหารมีความรู้เรื่องโภชนาการและจัดอาหารที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเด็ก
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

8.1 เด็กได้รับการคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการตามช่วงอายุ     8.2 เด็กมีพฤติกรรมการรับประทานผัก     8.3 ครู ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการบริโภคอาหารปลอดภัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ก.ค. 2566 11:23 น.